สินเชื่อสำหรับ MSMEs ที่ผลิตสินค้ามูลค่าเพิ่ม

ตามการระบุของหน่วยงานพัฒนา MSME ในระดับภูมิภาคของเมียนมา ธุรกิจ MSME ทั้งหมด 8 ประเภท ซึ่งรวมถึง บริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่ตั้งอยู่ในภูมิภาค รัฐ และเขตสภาเนปิดอว์ จะได้รับเงินกู้ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 20 (ค) ของกฎหมายการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รัฐบาลได้จัดสรรเงินกู้ผ่านกองทุนพัฒนา MSME ทำให้ธุรกิจ MSME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยจำนวนเงินกู้สูงสุดสำหรับธุรกิจถูกกำหนดไว้ที่ 10 ล้านจ๊าด สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก, 50 ล้านจ๊าด สำหรับธุรกิจขนาดย่อม และ 100 ล้านจ๊าด สำหรับธุรกิจขนาดกลาง อย่างไรก็ดี Myanma Economic Bank จะเริ่มให้กู้ยืมเพื่อความสะดวกของผู้ขอสินเชื่อ โดยมีการเตรียมการให้ธนาคารเอกชนอื่นๆ เข้าร่วมในกระบวนการให้กู้ยืม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/loans-to-be-provided-for-msmes-manufacturing-value-added-products/#article-title

MIFER จัดตั้งศูนย์สตาร์ทอัพเพื่อเชื่อมเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน

ดร. กัน ซอ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ (MIFER) กล่าวในการประชุมที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ว่า จะจัดตั้งศูนย์สตาร์ทอัพเพื่อเชื่อมเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน ซึ่งจะเร่งรัดกิจกรรมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) เพื่อยกระดับภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และ MSMEs การจัดการเรื่องความพอเพียงสำหรับน้ำมันบริโภค และเพิ่มการส่งออก อย่างไรก็ดี ตามสถิติของอุตสาหกรรมเอกชนมี 24 กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนที่กระทรวง ในจำนวนนี้ประกอบด้วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 10,205 อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดกลาง 12,457 อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 24,457 อุตสาหกรรม รวมเป็น 47,119 อุตสาหกรรม นอกจากนี้ รัฐมนตรีสหภาพฯ ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างโอกาสในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนและกระตุ้นการลงทุน รวมทั้งเรียนรู้รูปแบบที่ชัดเจนในการที่ธุรกิจต่างประเทศระดมทุนเพื่อดึงดูด FDIs เพื่อวัดผลผลิตรวมสำหรับการส่งเสริมการส่งออก และเพื่อให้การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนในประเทศเพื่อสนับสนุนผลผลิตของธุรกิจการเกษตรในภูมิภาคและรัฐที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/gyobyu-water-supply-pipeline-to-be-laid-along-myanmar-korea-friendship-bridge-dala-for-consumption-in-dala-township/

ADB ตกลงสนับสนุนผู้ประกอบการ MSMEs กัมพูชา

ธนาคารการค้าต่างประเทศแห่งกัมพูชา (FTB) เข้าร่วมโครงการการเงินการค้าและห่วงโซ่อุปทาน (TSCFP) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เพื่อส่งเสริมทางด้านการเงิน การค้า สำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) ในกัมพูชา โดยเป็นการลงนามระหว่าง Dith Sochal ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FTB และ JyotsanaVarma ผู้อำนวยการ ADB ประจำกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งคาดว่าจะเติมเต็มช่องว่างให้กับผู้ประกอบการ MSEMs ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านธนาคารพันธมิตร ด้าน MSMEs คิดเป็นกว่าประมาณร้อยละ 99 ขององค์กรทั้งหมดในกัมพูชา ขณะที่ TSCFP ได้ให้สินเชื่อและค้ำประกันแก่ธนาคารพันธมิตรมากกว่า 200 แห่งในหลายประเทศ เพื่อสนับสนุนการค้า ส่งเสริมการนำเข้าและส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501435837/cambodia-adb-agree-to-support-micro-small-and-medium-sized-enterprises/

ADB, CP Bank ปล่อยเงินกู้ 10 ล้านดอลลาร์ หนุน MSMEs กัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ลงนามในสัญญาเงินกู้กับ Cambodia Post Bank (CP Bank) มูลค่า 10 ล้านดอลลาร์ เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) ในกัมพูชา และเสริมสร้างการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 โดยในกัมพูชา MSMEs คิดเป็นร้อยละ 99.8 ขององค์กรธุรกิจและนิติบุคคลทั้งหมด ซึ่งสร้างการจ้างงานให้กับคนท้องถิ่นมากกว่าร้อยละ 72 ตามข้อมูลของ ADB โดยธุรกิจกลุ่ม MSMEs ถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในขณะที่ปัจจุบันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ MSMEs ของกัมพูชานั้นมีอยู่อย่างจำกัด โดยมีเพียงประมาณร้อยละ 20 ของวิสาหกิจทั้งหมด ที่สามารถเข้าถึงเงินทุนหรือการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501235452/adb-cp-bank-in-10-million-loan-pact-for-aiding-msmes/

“เดนมาร์ก” มอบเงินช่วยเหลือ MSMEs ของเมียนมา เป็นจำนวนกว่า 2 พันล้านจัต

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 กองทุน the Responsible Business Fund (RBF) เป็นกองทุนที่สนับสนุนโดยเดนมาร์กเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ของเมียนมา ได้เปิดเผยข้อมูลว่า เดนมาร์กให้คำมั่นว่าจะมอบเงินจำนวน 2 พันล้านจัต เป็นครั้งที่ 6 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของเมียนมา (MSMEs)  ในการดำเนินในโครงการพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนในการใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดย 5 ปี ที่ผ่านมา เดนมาร์กได้มอบเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือเมียนมาไปแล้วกว่า 19,576 พันล้านจัต ให้กับ MSMEs จำนวน 609 ราย ทั่วประเทศเพื่อสนับสนุน MSMEs ในการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจและปรับเพฤติกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/denmark-to-contribute-k2-billion-for-myanmar-smes/#article-title

MSMEs กัมพูชา กว่า 93% ประสบกับปัญหากำไรลดลง จากผลกระทบโควิด-19

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) กัมพูชากว่าร้อยละ 93 ประสบกับปัญหากำไรลดลงในช่วงปี 2020-2021 จากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 รายงานโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) จากการสำรวจผู้ประกอบการ MSMEs จำนวน 500 ราย โดยพบว่ากว่าร้อยละ 16 ของผู้ตอบแบบสอบถาม รายงานว่าผลกำไรลดลงกว่าร้อยละ 76-100 ในขณะที่ร้อยละ 27 กำไรลดลงร้อยละ 51-75 ซึ่งในบรรดา MSMEs ที่ได้รับผลกระทบรัฐบาลได้เข้าเยียวยาช่วยเหลือแล้วร้อยละ 73 ของจำนวน MSMEs ในช่วงระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2021 ในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาคาดว่าจะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.7 ถึง 2.3 ในปีนี้ อันเนื่องมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาดำเนินได้ใหม่อีกครั้ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501146312/93-msmes-suffered-profit-decline-due-to-covid-19-impact/

ADB อนุมัติเงินกู้ 40 ล้านดอลลาร์ ช่วย SME กัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 40 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยให้ กลุ่มไมโคร วิสาหกิจขนาดกลางและวิสาหกิจขนาดย่อม (MSMEs) ของกัมพูชา เข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น โดยเงินจำนวนดังกล่าวจะสนับสนุนภายใต้ความพยายามของรัฐบาล ในการปฏิรูปเพื่อเพิ่มเสถียรภาพทางการเงินและการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของภาคการเงินในประเทศ ซึ่งในการนี้ถือเป็นระยะที่ 3 ของโครงการพัฒนาระบบการเงิน ที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้าตั้งแต่ปี 2016-2019 โดย ADB ระบุว่าการเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการทางด้านการเงินสำหรับคนยากจนในกัมพูชามีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากมีความรู้ทางด้านการเงินต่ำ สะท้อนจากประชากรกลุ่มผู้ใหญ่ในประเทศที่มีบัญชีธนาคารอยู่เพียงร้อยละ 22 ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ MSMEs ก็ประสบกับปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเช่นกัน ซึ่ง ADB กล่าวเพิ่มเติมว่าความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางการเงินของกัมพูชาเพิ่มขึ้นในระยะที่ผ่านมา เนื่องจากการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50954353/adb-approves-40-million-to-help-small-companies-get-loans/

ภาคการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำในกัมพูชา เร่งปรับตัวใช้พลังงานสะอาด

บริษัท EnergyLab ของกัมพูชา กำลังร่วมมือกับบริษัทในประเทศอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำพลังงานสีเขียวมาปรับใช้กับภาคการเพาะเลี้ยงพืชและสัตว์น้ำในกัมพูชา โดย ATEC Biodigesters, Sevea Consulting, CHAMROEUN Microfinance Plc และ People in Need Cambodia กำลังสนับสนุนให้ภาคธุรกิจเข้าร่วมโปรแกรมที่ถูกเรียกว่า SWITCH to Solar ซึ่งโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนอุปกรณ์เพื่อปรับปรุงคุณภาพและปริมาณผลผลิต ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานสะอาดและยั่งยืน โดยทางด้านโครงการวางแผนที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการ MSME ด้านการประมงและเกษตรภายในประเทศสูงถึง 9,000 ราย ภายในสิ้นปี 2024 ร่วมกับซัพพลายเออร์ทางด้านเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในท้องถิ่น 20 ราย ตัวกลางทางการเงิน 15 ราย และสร้างช่องทางการตลาดกว่า 70 ช่องทาง ในการช่วยเหลือ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50926340/aquaculture-sector-helped-to-use-sustainable-clean-energy/

สปป.ลาวเปิดตัวโครงการบรรเทาทุกข์ MSME มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์พร้อมเงินกู้ยืมจากธนาคารโลก

เมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์สปป.ลาว ประกาศกู้เงินจำนวน 40 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ในการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เวียงแสม ศรีธิราช ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของธนาคารโลกประจำสปป.ลาวกล่าวว่า“ ความคิดริเริ่มนี้จะเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวอย่างมาก”เงินเหล่านี้จะปล่อยกู้ให้กับองค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 100 คนผ่านวงเงินสินเชื่อที่ขยายโดยธนาคารต่างๆรวมถึงการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับ MSME

ที่มา : https://www.microcapital.org/microcapital-brief-laos-launches-40m-msme-pandemic-relief-project-with-world-bank-loan-proceeds/

สินเชื่อสำหรับธุรกิจขนาดเล็กช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจใน สปป .ลาว

กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ได้เปิดตัวโครงการสนับสนุนทางการเงินฉุกเฉินมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกเพื่อช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากการระบาดของโควิด -19  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าประกาศโครงการสนับสนุนและฟื้นฟูการเข้าถึงการเงินในภาวะฉุกเฉินทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSME) ทำให้ธนาคารและสถาบันการเงินในพื้นที่สามารถให้เงินกู้แก่ธุรกิจขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการปิดพรมแดน และลดการซื้อขายในปีที่ผ่านมา โดยธนาคาร 3 แห่ง ได้แก่ Laos-China, Maruhan, และ Sacom ได้รับเลือกให้เข้าร่วมในโครงการเพื่อให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทขนาดเล็กที่ขอสินเชื่อผ่านวงเงินเครดิต โครงการนี้ให้การสนับสนุนทางเทคนิคจากธนาคารแห่งสปป.ลาว เป็นผู้บริหารระบบค้ำประกันสินเชื่อและความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ คาดว่าจะมีสถาบันการเงินเข้าร่วมโครงการมากขึ้นเมื่อการเจรจาเงื่อนไขการปล่อยสินเชื่อเสร็จสมบูรณ์ ความคิดริเริ่มนี้จะเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาว  ด้วยการทำให้บริษัทขนาดเล็กเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้นรัฐบาลและธนาคารกำลังขจัดหนึ่งในสามอุปสรรคสำคัญสำหรับธุรกิจในสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Credit_38.php