ฝรั่งเศส เยอรมนี สนับสนุนโภชนาการและการศึกษาสำหรับนักเรียนของ สปป.ลาว

สถานทูตฝรั่งเศสและเยอรมนีในประเทศลาวได้เยี่ยมชมโครงการอาหารและโภชนาการของโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอาหารและโภชนาการโลกแห่งสหประชาชาติ (WFP) ในแขวงเซกองและสาละวัน โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและเยอรมนี โดยให้การช่วยเหลือแก่สตรีและเด็กผู้หญิงสามารถเข้าถึงโภชนาการและการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่พวกเขายังคงเผชิญกับผลกระทบจากความไม่มั่นคงทางอาหารและทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ในปี 2566 ฝรั่งเศสสนับสนุนโครงการความช่วยเหลือด้านอาหารกว่า 139 โครงการทั่วโลก มูลค่ารวมกว่า 170 ล้านยูโร

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_68_France_y24.php

‘เวียดนาม-เยอรมนี’ หารือส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม การค้าและพลังงาน

นายฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดีของเยอรมนี พร้อมคณะผู้แทนธุรกิจ เดินทางเยือนเวียดนามในครั้งนี้ เพื่อผลักดันความร่วมมือระหว่างเวียดนามและเยอรมนีในด้านต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรม การค้าและพลังงาน รวมถึงได้มีการหารือเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) และผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้จะช่วยส่งเสริมการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดเยอรมนี และกำหนดกฎเกณฑ์ที่จะเอื้ออำนวยให้กับเวียดนามในการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่จากเยอรมนี ทำให้เวียดนามสามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1639692/viet-nam-germany-boost-cooperation-in-industry-trade-energy.html

‘ผลสำรวจ’ ชี้บริษัทเยอรมนีมองเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางธุรกิจ

หอการค้าเยอรมันในต่างประเทศ (AHK) ประจำประเทศเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือน ต.ค. บริษัทเยอรมนีได้ก้าวไปอีกขั้นในการทำธุรกิจในตลาดเวียดนาม ด้วยจำนวนโครงการ ทั้งสิ้น 26 โครงการ มูลค่าราว 221.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งของบริษัท ในขณะที่ยังแสดงให้เห็นถึงความน่าสนใจของภาคธุรกิจเยอรมนีที่มีความต้องการขยายการดำเนินธุรกิจในเอเชีย

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่าบริษัทเยอรมนีส่วนใหญ่ 42% ให้ความสำคัญต่อตลาดเวียดนามในเรื่องของการผลิตที่หลากหลายและกิจกรรมการผลิตอุตสาหกรรม รวมถึงกลยุทธ์การกระจายสินค้า รองลงมา 41% มุ่งเน้นไปที่การขายและการตลาด อย่างไรก็ดียังได้ประเมินถึงความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งจากการสำรวจชี้ให้เห็นว่าธุรกิจเยอรมนีมองว่าอุปสงค์โลกมีทิศทางที่ชะลอตัว และมีความกังวลถึงความเสี่ยงของการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจในเวียดนามยังคงประสบปัญหาบางอย่าง ได้แก่ ต้นทุนพลังงานและทรัพยากรการเงิน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1637075/german-firms-consider-viet-nam-potential-destination-survey.html

ผลสำรวจชี้ ‘ธุรกิจเยอรมนี’ เล็งขยายการลงทุนในเวียดนาม

คณะผู้แทนอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของเยอรมันในเมียนมา (AHK) เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเยอรมนี พบว่าธุรกิจเยอรมนีส่วนใหญ่ 91% กำลังวางแผนที่จะขยายการลงทุนในเวียดนาม ในขณะที่ 40% มีแผนที่จะจ้างพนักงานมากขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะมีความท้าทายหลายประการ อาทิเช่น ภาวะเงินเฟ้อ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกและอิทธิผลทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทาน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจเวียดนามมีศักยภาพที่จะฟื้นตัวจากการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลาง รวมไปถึงได้รับแรงหนุนมาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) และนโยบาย “China Plus One” ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานการผลิตไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการไหลเข้าของเงินลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/most-of-surveyed-german-firms-plan-expansion-in-vietnam/265966.vnp

ปี 2022 กัมพูชาส่งออกไปยังเยอรมนีมูลค่าแตะ 1 พันล้านดอลลาร์

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเยอรมนีมูลค่ารวมกว่า 1,083 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวกว่าร้อยละ 23 ในปีที่แล้ว ตามรายงานล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ในขณะเดียวกัน การนำเข้าของกัมพูชาจากเยอรมนีก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันประมาณร้อยละ 3 หรือคิดเป็นมูลค่า 163 ล้านดอลลาร์ในปี 2022 ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชา ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า สินค้าเดินทาง สินค้าเกษตร ชิ้นส่วนไฟฟ้า และจักรยาน ขณะที่สินค้านำเข้าหลักจากเยอรมนี ได้แก่ ยานพาหนะ วัสดุก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501232469/cambodias-exports-to-germany-worth-over-1-billion-in-2022/

เยอรมนีมอบเงินสนับสนุนเพื่อพัฒนาประเทศให้กับ สปป.ลาว

นาย Jochen Flasbarth รัฐมนตรีต่างประเทศของเยอรมนี ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ Vientiane Times ณ สถานเอกอัครราชทูตเยอรมันในเวียงจันทน์  เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กันยายน 2565 ที่ผ่านมาว่า ความร่วมมือทวิภาคีรอบใหม่ระหว่าง 2 ประเทศ เยอรมนีพร้อมสนับสนุนสปป.ลาว โดยการมอบเงิน 38 ล้านยูโร เพื่อสนับสนุนทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศ เช่น การจัดการป่าไม้และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ชนบท ช่วยให้ชุมชนในชนบทเข้าถึงการศึกษา และบริการด้านสุขภาพ ซึ่งสปป.ลาวและเยอรมนีเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2501 และมีความร่วมมือทวิภาคีกันในปี 2506 ปัจจุบัน เยอรมนีได้ให้เงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไปมากกว่า 560 ล้านยูโร ส่วนมูลค่าการค้าระหว่าง 2 ประเทศ จนถึงปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 159 ล้านในยูโร และยังได้มอบทุนการศึกษาให้ชาวสปป.ลาว ประมาณ 3,000 คน เพื่อไปศึกษาและฝึกอบรมในเยอรมนีอีกด้วย

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten191_Germany_y22.php

เยอรมนีสนับสนุนเงินมูลค่า 13 ล้านยูโรสำหรับสองโครงการในสปป.ลาว

เยอรมนีจะมอบเงิน 13 ล้านยูโรสำหรับระยะที่สามของโครงการพัฒนาชนบท (RDP) และโครงการจัดการที่ดินสำหรับลาว (LMPL) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลในการเชื่อมต่อถนนและเร่งการจำแนกที่ดินทั่วประเทศผ่านระบบที่เป็นหนึ่งเดียวภายในปี 2568 KfW ในนามของรัฐบาลเยอรมัน กำลังสนับสนุนลาวในการส่งเสริมการพัฒนาชนบท โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในชนบทและการปกป้องสิ่งแวดล้อม โครงการจะดำเนินการโดยกรมทางหลวงในสังกัดกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) มุ่งเป้าไปที่การซ่อมแซมและปรับปรุงถนนในชนบท สะพานที่เกี่ยวข้อง และโครงสร้างพื้นฐานในชนบทอื่นๆ ในหัวพัน โครงการ LMPL ใหม่จะดำเนินการในสี่จังหวัด ได้แก่ เชียงขวาง หัวพัน อุดมไซ และไซยะบุรี ในปี 2565 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2568 ซึ่งจะมีการดำเนินหลายโครงการ ได้แก่ การสร้างขีดความสามารถการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดหาอุปกรณ์สำหรับที่ทำการราชการในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ นอกจากนี้รัฐบาลจะพยายามสนับสนุนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อช่วยรับประกันความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน และอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรในการลงทุนในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น ปัจจุบันลาวกำลังขยายโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะเครือข่ายถนน เพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อจากหมู่บ้านในชนบทและห่างไกลไปยังเมืองต่างๆ และเพื่อสร้างการเข้าถึงบริการสาธารณะและโอกาสทางการค้าที่ดีขึ้นสำหรับการสร้างรายได้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten122_Germany_y22.php

เยอรมนีลงทุนใหม่มาบตาพุด ผุด 2 โปรเจ็กต์ขึ้นฮับอาเซียน

“โคเวสโตร” ทุนเยอรมันยักษ์ปิโตรเคมีกางแผนลงทุน “มาบตาพุด”เพื่อให้ขยายการลงทุนมาที่ประเทศไทย โครงการนี้จะมีการลงทุนไม่น้อยกว่าโครงการอีลาสโตเมอร์ก่อนหน้านี้เลย อีกโปรเจ็กต์หนึ่งเป็นโครงการลงทุนในระยะยาว 5 ปี ระหว่างปี 2025-2030 คือ การขยายกำลังการผลิตของโรงงานโพลิคาร์บอเนตที่มาบตาพุด ซึ่งโครงการนี้หากจะมาลงทุนจริง ๆ จะมีขนาดมากกว่า 100 ล้านยูโร หรือกว่า 3,600-3,700 ล้านบาท  ชู strategic location “ไทยฮับอาเซียน” ของโคเวสโตร จากที่มีฐานการผลิตของโคเวสโตรที่กระจายอยู่ใน 50 ประเทศทั่วโลก มีพนักงานรวม 18,000 คน ก็จะมีศูนย์การผลิตที่มีขนาดใหญ่ติดอันดับโลกอยู่ 8 ประเทศ ซึ่งไทยก็เป็นหนึ่งใน 8 นั้น

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-918295

เยอรมันสนับสนุนทุนด้านการเกษตรแบบยั่งยืน

เยอรมนีมอบเงินมากกว่า 2 หมื่นล้านกีบ (1.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการพัฒนาวิถีชีวิตและความยั่งยืนสี่ปีในจังหวัดเชียงขวางและเวียงจันทน์ เงินช่วยเหลือนี้จัดทำโดยกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธรัฐ (BMZ) โดยความร่วมมือกับ Adventist Development and Relief Agency (ADRA) ประเทศเยอรมนี โครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งโครงการริเริ่มด้านการเกษตรและการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และการเกษตรที่เป็นมิตรกับสภาพอากาศโดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันของพลเมืองในท้องถิ่นผ่านการฝึกอบรมผู้ตรวจการ GAP การรับรอง การสมัคร และการมีส่วนร่วมในนโยบาย

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_German39.php

MRC และ GIZ ลงนามข้อตกลงส่งเสริมความร่วมมือด้านน้ำข้ามพรมแดน

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) และหน่วยงานพัฒนา GIZ ของเยอรมนีได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อดำเนินการระยะที่สองของโครงการความร่วมมือทางน้ำข้ามพรมแดนในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง โครงการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสามารถของคณะกรรมาธิการในการเฝ้าติดตามและจัดการกับความท้าทายในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งรวมถึงภัยคุกคามที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำท่วมและภัยแล้ง ดร.อนุลักษณ์ กิตติคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กล่าวในพิธีลงนามว่า “การสนับสนุนจากเยอรมนีจะปูทางให้เราได้พัฒนาความสามารถของเราต่อไปในการติดตามสถานะของแม่น้ำโขง รวบรวมข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจอย่างมีข้อมูลที่ดีขึ้น และปกป้องอนาคตของสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่พึ่งพาลุ่มน้ำในเชิงรุก”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_MRC14.php