มูลค่าลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาสูงถึง 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐใน 12 ธุรกิจ

จากข้อมูลของคณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศสูงกว่า 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐใน 12 สาขาธุรกิจ แต่ยังต้องการประมาณ 1700 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 ถึงวันที่ 5 ก.ย. 62 MIC อนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศ 252 ธุรกิจด้วยมูลค่าการลงทุน 2,550.773 ล้านเหรียญสหรัฐ การเพิ่มขึ้นปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 3,876.352 ล้านดอลลาร์ ในปี 61-62 คาดว่าการลงทุนจะไหลเข้าประเทศ 5,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 4,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐอีกประมาณ 25 วันเท่านั้นจึงจะสิ้นสุดรอบปีบัญชี ยังจำเป็นต้องใช้เงิน 1,700 ล้านดอลลาร์ถึงจะบรรลุเป้าหมาย MIC ได้ร่วมมือกับ JICA ได้จัดทำแผนการส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศในปี 56 และได้เริ่มดำเนินการในปี 57 ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-volume-reaches-more-than-us-4100-million-in-12-business-fields-in-myanmar

ผู้ส่งออกข้าวโพดเมียนมาร้องให้เพิ่มปริมาณการส่งออกกับไทย

ข้อตกลงพิเศษสำหรับเมียนมาในการส่งออกข้าวโพดไปยังไทยได้สิ้นสุดลงเมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการลงนามครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วหลังจากที่จีนได้กำหนดข้อจำกัดการนำเข้าข้าวโพด และเพื่อเป็นการหาตลาดใหม่สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จึงเจรจาข้อตกลงกับไทย สำหรับปีงบประมาณปัจจุบันประเทศสร้างรายได้ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวโพดโดยมีผู้ซื้ออันดับ 1 คือไทย ซึ่งปริมาณส่งออกเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 130,000 ตัน และต้องเร่งผลักดันการค้าชายแดนหลังจากหยุดชะงักลงเพราะการปะทะกันระหว่างกลุ่มติดอาวุธและกองทัพเมียนมา ในอนาคตเมียนมาจะพิจารณาการส่งออกสินค้าเกษตรมากขึ้น เช่น ข้าวและถั่วผ่านชายแดนไทยรวมถึงภูมิภาคอื่น ๆ เช่น มาเลเซียผ่านไทย ปัจจุบันเมียนมาส่งออกสินค้าไปยังสปป.ลาวและเวียดนามผ่านไทย ในขณะนี้การส่งออกไปยังไทยที่ชายแดนเมียวดี นั้นต่ำกว่าการนำเข้าจากไทยอย่างมาก ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 61 ถึงวันที่ 16 ส.ค. 62 การส่งออกยังไทยมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 181 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าจากไทยมีมูลค่ารวม 648 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้นจึงควรมีการระดับการส่งออกไปยังไทย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/traders-call-higher-trade-volumes-thailand-deal-ends.html

เวียดนามจัดการประชุมส่งเสริมทางการค้ากับตลาดในแอฟริกาตะวันออก

จากการประชุมของหน่วยงานกระทรวงต่างประเทศเวียดนาม และคณะเอกอัครราชทูตแอฟริกาตะวันออก ณ นครฮานอย โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ คือ ส่งเสริมทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งประเทศในทวีปแอฟริกาถือเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชาชนกว่า 1.6 พันล้านคน และมีความพร้อมในด้านเงินทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ที่มีศักยภาพทั้งด้านการค้าและการลงทุน ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงเน้นการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกว่า 70 ประเทศในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออก หากประเมินสถิติทางการค้าของทั้ง 2 ภูมิภาค พบว่า ในปี 2561 มีมูลค่าการค้าขยายตัวมากกว่า 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากตัวเลขดังกล่าว มีการเติบโตกว่าร้อยละ 300 เมื่อเทียบกับปี 2551 นอกจากนี้ การประชุมในครั้งนี้ จะมุ่งเน้นในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรของภาครัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินการเปิดโมเดลใหม่ทางด้านเกษตรกรรม และโทรคมนาคม เป็นต้น และอีกปัจจัยหนึ่งที่เวียดนามต้องการทำธุรกิจในภูมิภาคแอฟริกา เนื่องมาจากสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของเวียดนามกับตลาดดั้งเดิม กำลังเข้าใกล้ช่วงอิ่มตัว ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงต้องหาโอกาสในการค้ากับตลาดใหม่ เช่น กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/conference-held-to-tap-potential-market-of-middle-eastafrica/160127.vnp

เวียดนามและสาธารณรัฐเช็ก มียอดการค้าเพิ่มขึ้น 5.6% ในช่วงครึ่งแรกของปี 62

จากรายงานสถิติของสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการค้าระหว่างประเทศเวียดนามและสาธารณรัฐเช็ก อยู่ที่ 591.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสาธารณรัฐเช็กมีการนำเข้ากว่า 557.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.96 ในขณะที่ มูลค่าการส่งออกไปยังเวียดนามอยู่ที่ 33.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 30.33 ซึ่งภายในปี 2562 คาดว่าการค้าระหว่างสองประเทศ มีมูลค่าสูงถึง 1.182 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และคาดว่าสาธารณรัฐเช็กจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.93 ในขณะที่ ในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปีนี้ สินค้าสำคัญที่สหภาพยุโรปนำเข้าจากเวียดนาม ได้แก่ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า รองเท้า เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทางด้านเกษตรกรรม-ป่าไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ จากข้อมูลสำนักงานสถิติศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมีการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น ได้แก่ เยอรมัน (3.43%), ฮังการี (7.94%), เดนมาร์ก (4.74%), เอสโตเนีย (16.17%) และเนเธอร์แลนด์ (8.97%) เป็นต้น

ที่มา :  https://en.vietnamplus.vn/vietnamczech-republic-trade-up-56-percent-in-first-half/160131.vnp

อาเซียน-จีน หารือเปิดตลาดสินค้า-ลงทุนเพิ่มเติม ไทยเสนอจีนหนุนเชื่อมเส้นทางคุนหมิง-เชียงราย เพิ่มโอกาสการค้า

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-จีน และอาเซียน-ฮ่องกง โดยระบุว่าจากการหารือระหว่างอาเซียนกับจีนนั้น เนื่องจากมีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ตั้งแต่ปี 2548 มูลค่าการค้าระหว่างอาเซียน-จีน อยู่ที่ระดับดับ 4.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าจีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของอาเซียน โดยจะยกระดับความร่วมมือในอีก 3 เรื่องสำคัญ คือ 1.การเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม 2.การปรับปรุงกฎระเบียบเรื่องถิ่นกำเนิดสินค้าให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อรองรับกับการค้ายุคใหม่ และ 3.การเตรียมเปิดเสรีการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งทางจีนมีกองทุนสำหรับช่วยสนับสนุนการดำเนินการของอาเซียนด้วย และที่ผ่านมาสนับสนุนเงินกองทุนแก่อาเซียน 300 ล้านหยวน โดยจะเพิ่มอีก 50 ล้านหยวน ในโครงการต่างๆ เช่น โครงการแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการท่องเที่ยวในอาเซียน โครงการฝึกอบรมผู้ประกอบการรวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกฎระเบียบถิ่นกำเนิดสินค้า เป็นต้น ทางการไทยได้เสนอใช้เงินจากกองทุนของจีนใน 3 โครงการสำคัญ คือ 1.โครงการเส้นทาง R3A ซึ่งเชื่อมเส้นทางระหว่างคุณหมิงกับเชียงราย โดยได้เสนอเรื่องนี้เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างกัน เป็นการค้าข้ามพรมแดนที่จะเป็นประโยชน์กับไทยต่อไปในอนาคต 2.โครงการพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ และ 3.โครงการแพลตฟอร์มสำหรับการค้าและนักธุรกิจรุ่นใหม่

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/iq03/3039204

Prime Road Alternative ได้รับสิทธิ์ในการสร้างโรงการโซล่าฟาร์ม

บริษัท Prime Road Alternative จำกัด ได้รับสิทธิ์ในการก่อสร้างโครงการโซลาร์ฟาร์มขนาด 60 เมกะวัตต์ ในการประมูลตามที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เปิดเผย แสดงให้เห็นว่าการประมูลซึ่งดำเนินการโดย Electricite du Cambodge (EdC) สิ้นสุดลงด้วยการเสนอราคาต่ำสุดของ Prime Road Alternative $ 0.3877 ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยโครงการซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ADB นั้นได้ดึงผู้เข้าร่วมประมูลถึง 26 รายรวมถึงบริษัทระดับโลกหลายแห่ง ซึ่งเป็นการพัฒนาพลังงานทดแทนในกัมพูชาและภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศในการเพิ่มการเข้าถึงแหล่งพลังงานราคาไม่แพงและเชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนรูปแบบอื่นๆ ของ ADB สำหรับภาคพลังงานของกัมพูชา คือการจัดหาเงินทุน ร่วมวางแผนพัฒนาด้านพลังงานในกัมพูชา และการนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนช่วยในการพัฒนา

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/prime-road-alternative-wins-rights-60mw-solar-farm

กัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพงานแสดงสินค้าสิ่งทอและเครื่องแต่งกายในอาเซียน

กัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายในเดือนหน้า ที่กรุงพนมเปญในวันที่ 28-29 คุลาคม จะจัดขึ้นโดย SZ & W Group โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสแก่พันธมิตรในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และเป็นการสร้างความมั่นใจในการเติบโตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงการแบ่งปันแนวคิดที่ดีเพื่อเร่งการเติบโตและพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งผู้จัดงานได้เชิญผู้นำในอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วทุกมุมโลกมาพูดในงานเพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ โดยผู้จัดงานคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 100-500 คน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐและตัวแทนจาก บริษัท ในอินเดีย เมียนมา เวียดนามจีนและประเทศอื่นๆ และผู้เข้าร่วมอีกกว่า 10-50 คนที่คาดว่าจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และบริการของพวกเขาในงาน โดยในประเทศกัมพูชาอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด ซึ่งอุตสาหกรรมมีสัดส่วนมากกว่า 40% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และมีพนักงานมากกว่า 800,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50641199/cambodia-to-host-southeast-asia-textile-and-apparel-expo/

ภาคธุรกิจสปป.ลาวกำลังหาทางปราบปรามผู้ประกอบการที่ผิดกฎหมาย

สมาชิกธุรกิจชุมชนที่เป็นตัวแทนบริษัทและผู้ประกอบการจำนวนมากได้เข้าร่วมการประชุมหาแนวทางในการปรับปรุงบรรยากาศทางธุรกิจในสปป.ลาวและประเมินประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่น การขจัดอุปสรรคที่ไม่จำเป็นเพื่อดึงดูดการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้หารือถึงความท้าทายที่ภาครัฐและเอกชนเผชิญในการดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางธุรกิจซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน รองประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว กล่าวว่าการค้าที่ผิดกฎหมายและผู้ประกอบการที่ผิดกฎหมายที่ไม่มีใบอนุญาตส่งผลให้สูญเสียรายได้จากภาษีของรัฐบาลอย่างมาก รวมถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายของธุรกิจนอกระบบและกระตุ้นให้ภาครัฐในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญในการปราบปรามการค้าและการดำเนินธุรกิจที่ผิดกฎหมายทุกรูปแบบเพื่อดำเนินการทันที ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งกระทรวงที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-business-sector-seeking-crackdown-illegal-operators-103706