ญี่ปุ่นสนับสนุนเงิน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาว

รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือ 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (317 ล้านเยน) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสปป.ลาวอย่างยั่งยืนโดยเงินจะถูกนำไปใช้ภายใต้ “The Project for Human Resource Development Scholarship” ได้มีพิธีลงนามในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ณ กระทรวงการต่างประเทศในเวียงจันทน์ ภายในงาน Mr. Takewaka เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสปป.ลาวกล่าวว่า “รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจให้ความช่วยเหลือในการดำเนินโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และจะมอบทุนการศึกษา 22 ทุนแก่เจ้าหน้าที่รัฐบาลสปป.ลาวเพื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นโดยจะมีเจ้าหน้าที่มากกว่า 370 คนที่จะทุนการศึกษาในระดับปริญญาโทรวมถึงปริญญาเอกเมื่อโครงการเริ่มต้นขึ้น” ภาคการศึกษาเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจของสปป.ลาวและญี่ปุ่น เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคมซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_137.php

สปป.ลาวจะเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีน

รัฐบาลสปป.ลาวได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ และผู้ประกอบการในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งกระทรวงเกษตรและป่าไม้สปป.ลาวรายงานว่าประเทศมีรายรับ 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 62 จากการส่งออกสินค้าเกษตรโดย 80% ของสินค้าถูกขายไปยังประเทศจีน ซึ่งได้รับประโยชน์จากโควต้าข้าว 50,000 ตันและวัว 500,000 ตัวต่อปี นอกจากนี้กระทรวงได้เจรจาต่อรองโอกาสทางการตลาดและควบคุมสภาวะสุขอนามัยสำหรับพืชส่งออกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องไปยังประเทศจีน ขณะนี้กระทรวงกำลังประสานงานกับกรมศุลกากรของจีนเพื่อร่างเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับการส่งออกใบยาสูบแห้ง เสาวรสและส้ม ทั้งสองฝ่ายยังเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการเปิดตลาดสำหรับทุเรียน ลำไย แก้วมังกร ขนุนและลูกเดือย ขณะนี้ 3 บริษัทดำเนินการเสร็จสิ้นไปกว่า 90 % ของศูนย์กักกันปศุสัตว์ที่สามารถประมวลผลสัตว์ 228,000 ตัวต่อปีเพื่อการส่งออกและรอทีมเทคนิคจากจีนเพื่อตรวจสอบและยืนยันสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้งานอย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มการส่งออกสินค้า จะประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติและผู้ประกอบการเพื่อร่วมมือกับจีนในการเจรจารายการสินค้าเกษตร และกระทรวงจะร่วมมือกับจีนในการตรวจสอบด่านชายแดนระหว่างประเทศและระดับท้องถิ่นระหว่างสองประเทศ เพื่อให้แน่ใจในการส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผัก ผลไม้สด

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-07/15/c_139214642.htm

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวให้แนะนำให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ภายใต้สโลแกน  ‘Leaving No One Behind’ เพื่อยกระดับประเทศออกจากรายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้มีการหารือในที่ประชุมของคณะกรรมการระดับชาติเพื่อดำเนินงานด้าน SDGs ตั้งแต่ปี 60-63  ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 73 และร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบันตั้งเป้าหมาย SDGs 17 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื่น SDGs 18  ชีวิตปลอดภัยจาก UXO ที่ประชุมจะพิจารณาและหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าและประเด็นในการดำเนินงาน SDGs ระหว่างปี 60-63 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งในระหว่างการประชุมได้มีการเปิดตัว SDGs Mobile Application ใหม่ซึ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนของสังคมที่ทำงานเพื่อ SDGsในสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM136.php

ธนาคารโลกและพันธมิตรมอบเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แก่สปป.ลาวในการควบคุม COVID-19

กระทรวงสาธารณสุขธนาคารโลกและสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย เยอรมนีและญี่ปุ่นมอบเงินช่วยเหลือจำนวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านศูนย์อำนวยการฉุกเฉินโรคระบาด (PEF) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองของลาวต่อ COVID-19 ดร. Bounkong Syhavong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า “รัฐบาลสปป.ลาวกำลังใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อจัดการกับการระบาดของ COVID-19 การสนับสนุนจากพันธมิตรจะช่วยให้สปป.ลาวผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้อย่างดี” เงินช่วยเหลือจะถูกส่งตรงไปยังองค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจาก PEF โดยเงินทุนร้อยละ 80 จากกองทุนเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ซึ่งจะดำเนินการจัดหาเงินทุนและการส่งมอบวัคซีนเพื่อให้แน่ใจว่าบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นจะดำเนินต่อไป อีกร้อยละ 20 จะไปที่องค์การอนามัยโลกโดยตรงเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านสุขภาพของสปป.ลาวในการตอบสนอง COVID-19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Worldbank135.php

สปป.ลาว-เวียดนามร่วมมือเพื่อช่วยธุรกิจในสปป.ลาว

สปป.ลาวและเวียดนามได้รับอนุญาตให้เริ่มต้นเส้นทางการบินใหม่ระหว่างประเทศในขณะเดียวกันได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศเวียดนามเหงียนบาหังเป็นประธานการสัมมนาชุมชนธุรกิจชาวเวียดนามที่อยู่ในลาวเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม โดยมีจุดประสงค์ในการหารือแนวทางแก้ปัญหาอุปสรรคที่ธุรกิจเผชิญจากการระบาดของโรค COVID-19 ในที่ประชุมยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน การแบ่งปันข้อมูลที่หลากหลายและประสบการณ์โดยละเอียดในหมู่ชุมชนธุรกิจในช่วงเวลานี้ นอกจากนี้ธุรกิจต้องเริ่มปลี่ยนวิธีการจัดการกิจกรรมทางธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต สำหรับระยะกลางและระยะยาวที่สปป.ลาวจะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งตามทางเดินเหนือ – ใต้และตะวันออก – ตะวันตกเสร็จสิน เพื่อเชื่อมต่อจีน สปป.ลาว เวียดนามและไทยจะเปิดโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ มากมายซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการเริ่มต้นวางรากฐานที่แข็งแกร่งของภาคธุรกิจ เพื่อความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจในอนาคต

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/mutual-support-needed-to-help-vietnamese-firms-in-laos-remove-hurdles-416010.vov

นักลงทุนชาวเวียดนามในสปป.ลาวหารือถึงมาตรการรับมือกับ COVID-19

เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศเวียดนามกล่าวในการประชุมร่วมกับสมาคมธุรกิจเวียดนามเพื่อความร่วมมือและการลงทุนในประเทศสปป.ลาว (BACI) เมื่อวันอาทิตย์ที่เวียงจันทน์ เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการรับมือกับการระบาดของ COVID-19 ซึ่งเศรษฐกิจสปป.ลาวชะลอตัวลงด้วยความเสี่ยงของการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและหนี้สาธารณะอันเนื่องมาจากผลกระทบของไวรัส อีกทั้งรัฐบาลสปป.ลาวได้ใช้มาตรการหลายอย่างเพื่อกระตุ้นการลงทุนการผลิตและธุรกิจเพื่อสนับสนุน บริษัทต่างๆ ประเทศกำลังเร่งปฏิรูปและการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนต่างประเทศธุรกิจการเงินและการธนาคาร นอกจากนี้โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญบางโครงการเกือบจะแล้วเสร็จ การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานจะสร้างโอกาสที่สำคัญสำหรับองค์กรต่างๆกระตุ้นให้บริษัทเวียดนามเตรียมพร้อมที่จะรับโอกาสดังกล่าว อีกทั้งยังเรียกร้องให้บริษัทเวียดนามในสปป.ลาวปรับปรุงรูปแบบการจัดการองค์กรและใช้โซลูชันออนไลน์เพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และพัฒนาแผนการลงทุนและการผลิตหลังการระบาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเวียดนามมีโครงการในสปป.ลาว 413 โครงการด้วยทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 4.22 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/749526/vietnamese-investors-in-laos-discuss-measures-to-cope-with-covid-19.html

แขวงไชยสมบูรณ์เปิดตัวการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการพัฒนาการเกษตรและการท่องเที่ยว

แขวงไชยสมบูรณ์ไฟเขียวให้กับบริษัทในท้องถิ่นเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการพัฒนาการเกษตรและการท่องเที่ยวที่ ‘Phakatai’ ในหมู่บ้าน ‘Phasangobsouk’ เมือง ‘Anouvong’ การศึกษาความเป็นไปได้สำหรับทั้งสองจะใช้เวลาประมาณ 18 เดือน พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจสำหรับโครงการจัดขึ้นระหว่างแผนกวางแผนและการลงทุนจังหวัดและบริษัทท้องถิ่น โครงการนี้จะช่วยให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากปศุสัตว์และผักมากขึ้นและดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในจังหวัดมากขึ้นนอกจากนี้แขวงไชยสมบูรณ์ มีกำหนดจะเปิดแหล่งท่องเที่ยวใหม่เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมมากขึ้นในจังหวัด โดยภาคที่เกี่ยวข้องให้ความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เขา Phou Bia ภายใต้โครงการ KPG และผู้พัฒนาคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวพร้อมกับวางมาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการนำเสนอรายงานที่ประชุมของกรมสารสนเทศวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของจังหวัดเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์ใหม่ในแขวงไชยสมบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคตามมาตรฐานสากลพร้อมกับให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาชนบทอย่างเพียงพอ เมื่อดำเนินการแล้วจะกลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวหลักของภูมิภาคซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังจะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้มากขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Xaysomboun_133.php

กลยุทธ์ Belt and Road ของจีนและสปป.ลาว

แม้จะมีการระบาดของ Covid-19 เกือบทั่วโลก แต่จีนยังคงผลักดันโครงการ Belt and Road (BRI) อย่างต่อเนื่อง สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่จีนให้การช่วยเหลือที่สำคัญของจีนตามกลยุทธ์ BRI เพื่อเป็นการตอบแทนรัฐบาลจีนพวกเขามีความต้องการพื้นฐาน 3 ประการคือการสนับสนุนนโยบายจีนในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการลงทุนจีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในสปป.ลาวมีโครงการขนาดใหญ่ต่างๆที่จีนไม่ว่าจะเป็นพลังงานน้ำการเกษตรการทำเหมืองและการก่อสร้าง การก่อสร้างทางรถไฟที่มีแผนจะเสร็จสิ้นโครงการในเดือนธันวาคม 2564 เส้นทางรถไฟยาว 414 กิโลเมตรทอดตัวจากเขตเหนือสุดของประเทศลาว Boten ติดกับประเทศจีนสู่เมืองหลวงเวียงจันทน์ อีกหนึ่งโครงการสำคัญของ BRI ที่รัฐบาลลาวเข้าร่วมคือการก่อสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดลำดับที่เจ็ดในแม่น้ำโขง เขื่อนไซยะบุรีและดอนสะโฮงที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะถูกรวมเข้ากับเขื่อน Sanakham 684 เมกะวัตต์พร้อมวันที่โครงการจะแล้วเสร็จในปี 2571 กลยุทธ์ BRI จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจของสปป.ลาวให้สามารถเติบโตไปไดในสถานการณ์ที่เลวร้ายในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.thestatesman.com/opinion/chinas-bri-strategy-laos-1502897886.html

สปป.ลาวตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพของหน้ากากอนามัยที่โรงงานในท้องถิ่น

รองนายกรัฐมนตรีดร.สอนไซ สีพันดอน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้ตรวจสอบโรงงานผลิตหน้ากาก 2 แห่งในนครหลวงเวียงจันทน์ โดยขอความร่วมมือในการรักษามาตรฐานการผลิตและปฏิบัติตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตหน้ากากในหมู่บ้านดงนาทอง เมืองศรีโคตรบอง และได้รับบทสรุปในการดำเนินงานของโรงงานและขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้ยังสนับสนุนให้ทั้ง 2 โรงงานมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงระบบการผลิตและทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนสามารถมีหน้ากากอนามัยในราคาไม่แพงและเชื่อถือได้ โรงงานที่ 1 ถูกสร้างขึ้นเมื่อต้นปีนี้และใช้อุปกรณ์การผลิตล่าสุดจากประเทศจีน ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้อยู่ระหว่างการทดลองผลิต พนักงาน 8 คน สามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้มากถึง 400,000 หน้ากากต่อวัน โรงงานแห่งนี้มุ่งเน้นไปที่การจัดส่งทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศและกำลังรอใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข โรงงานแห่งที่ 2 ได้ติดตั้งเครื่องจักรที่ทันสมัยจากประเทศไทยและกำลังดำเนินการทดลองผลิตและคาดว่าจะเปิดตัวภายใต้แบรนด์ NNUP ในปลายเดือนนี้ โรงงานสามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้ 80 ชิ้นต่อ 1 นาทีและคาดว่าจะขาย 30%ในสปป.ลาวและ 70% สำหรับการส่งออก

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_DPM_132.php

สปป.ลาวกำหนดให้ผู้ที่เดินทางออกจาก สปป.ลาว จำเป็นต้องมีใบนับรองแพทย์

ผู้เดินทางออกจากสปป.ลาวทุกคนจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์สำหรับประเทศจุดหมายปลายทางเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19  คณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 แห่ง สปป.ลาว ได้กล่าวว่าผู้ที่เดินทางทุกคนจะต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนเดินทางไปประเทศอื่น ซึ่งผู้ที่ไม่มีใบรับรองแพทย์ที่ถูกต้องจะถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทาง อีกทั้งรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมิดตะพาบกล่าวย้ำความสำคัญของใบรับรองแพทย์สำหรับนักเดินทาง จะมีจุดตรวจสุขภาพหลายแห่งและนักท่องเที่ยวจะต้องจัดทำเอกสารทางการแพทย์จากประเทศต้นทางของตน คนในสปป.ลาวสามารถขอใบรับรองแพทย์ที่โรงพยาบาลเฉพาะแห่งในประเทศ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไอ เจ็บคอหรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจหรือมีประวัติติดต่อกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่ได้รับใบรับรองแพทย์ โรงพยาบาลมิดตะพาบ, โรงพยาบาลมโหสถ และสถาบันปาสเตอร์ ในเวียงจันทน์จะอำนวยความสะดวกทำการตรวจสุขภาพสำหรับ COVID-19 ทั้งนี้ใบรับรองแพทย์จะรับรองว่าผู้เดินทางไม่แสดงอาการคล้าย COVID และการตรวจเชื้อ COVID ผลเป็นลบ ซึ่งมาตรการป้องกันนี้จะใช้เวลานานในการป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19

ที่มา : http://en.freshnewsasia.com/index.php/en/internationalnews/18742-2020-07-08-03-07-20.html