ยอดส่งออกเสื้อ CMP เพิ่มหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ

ตั้งแต่ 1 ต.ค. ของปีงบประมาณ 61-62 อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP (Cut – Make – Pack) มีรายรับมากกว่า 3.8 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อปีที่แล้วภาคการส่งออกมีกำไรมากกว่า 2.775 พันล้านเหรียญสหรัฐ รายรับจากการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 1.037 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP อยู่ในอันดับต้น ๆ ของภาคการส่งออกทั้งหมด ในปี 61 มีรายได้เกือบ 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าในปี 67 จะมีรายรับสูงถึง 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปัจจุบันภาคเสื้อผ้า CMP มีรายได้ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมาจะมีรายได้สามพันล้านเหรียญสหรัฐหากสามารถเปลี่ยนจากระบบ CMP เป็นระบบ FOB ตามที่สมาคมผู้ประกอบการตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งเมียนมา (MGEA) ได้ระบุ เมียนมาเริ่มระบบ CMP ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมาตั้งแต่ปี 2533 ปัจจุบันมีมากกว่า 70 อุตสาหกรรมที่ทำงานภายใต้ระบบ CMP

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/export-earnings-from-cmp-garment-increase-by-one-billion-usd

ค้าชายแดนเมียนมา – จีน หยุดชะงัก

การค้าชายแดนของเมียนมากับจีนผ่านด่านมูเซในรัฐฉานตอนเหนือได้หยุดชะงักลงเนื่องจากการทำลายสะพานโดยกองกำลังกบฏที่ถนนมัณฑะเลย์ – มูเซและมีการปะทะกันอย่างต่อเนื่อง ด่านมูเซส่วนใหญ่ส่งออกข้าว, ข้าวโพด, น้ำตาล, ผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ และนำเข้าวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ และวัตถุดิบอื่น ๆ จากจีน มูลค่าการค้าที่ส่งผ่านมูเซอยู่ที่ประมาณ ล้านเหรียญสหรัฐ (4.57 พันล้านจั๊ต) ต่อวันจากงานของกระทรวงพาณิชย์ แม้ว่าจะมีการซ่อมแซมสะพานที่ถูกทำลายแต่ก็ยังคงเป็นการยากที่จะดำเนินการค้าต่อเนื่องจากขาดความมั่นคงในภูมิภาค ปัจจุบันไม่มีการส่งออกผลไม้ไปยังจีน แต่ผู้ค้าส่งสินค้าประมงแม้จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นในการส่งออกกำลังประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก จนต้องขายสินค้าในประเทศเท่านั้น เช่น ในเมืองในมัณฑะเลย์และย่างกุ้ง รวมทั้งการส่งออกข้าวที่ต้องหยุดชะงักไปด้วย รายงานของกระทรวงพาณิชย์ระบุ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 ถึง 9 ส.ค. 62 การ ส่งออกไปยังจีนผ่านเขตการค้าชายแดนมูเซ มีมูลค่ารวม 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 1.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 4.28 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.irrawaddy.com/news/burma/myanmars-cross-border-trade-china-halted-clashes.html

อสังหาฯ ท้องถิ่นระดมทุนรอบสองพุ่ง 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 ShweProperty.com บริษัท อสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ของเมียนมาระดมทุน 3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการระดมทุนรอบ 2 เพื่อกระตุ้นการดำเนินธุรกิจและปรับปรุงระบบการซื้อขายบ้าน การระดมทุนรอบล่าสุดจะถูกนำมาใช้เพื่อเร่งการดำเนินธุรกิจการขาย การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึงรูปแบบการทำธุรกรรมขั้นสูงซึ่งจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในกระบวนการซื้อบ้านสำหรับผู้บริโภค บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 54 ดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์เพื่อเชื่อมโยงผู้ซื้อผู้เช่าและผู้ขาย มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่า 100,000 รายชื่อ โดยมีทั้งนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำและตัวแทนอสังหาริมทรัพย์อยู่ทั่วประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/local-property-portal-raises-3m-second-round-funding.html

“ตลาดอี-คอมเมิร์ซเวียดนาม” มีโอกาสติดอยู่ในอันดับที่ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากรายงานของฟอรั่มตลาดออนไลน์ ณ กรุงฮานอย ในวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าตามรายงาน E-Business Index 2019 ที่ร่างโดยสมาคมอี-คอมเมิร์ซเวียดนาม ระบุว่าในปี 2561 ขนาดตลาดอี-คอมเมิร์ซเวียดนาม มีมูลค่ากว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคาดว่าภายในปี 2558-2561 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 25 ต่อปี (CAGR) ด้วยมูลค่าของตลาดอี-คอมเมิร์ซจะพุ่งสูงขึ้นราว 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2568 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินธุรกิจส่วนใหญ่ในรูปแบบนี้จะอยู่ในบริเวณเมืองใหญ่ ได้แก่ นครโฮจิมินห์ ฮานอย บิ่นห์เยือง และด่งนาย เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมผู้ประกอบการท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาทางด้านการทำธุรกิจในโลกออนไลน์ เพื่อให้สามารถแข่งขันธุรกิจได้ณ 1.5 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-ecommerce-market-may-rank-third-in-southeast-asia/157865.vnp

เวิลด์แบงก์ช่วยแบงก์พาณิชย์เมียนมาเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ

ตามรายงานของธนาคารประชาชนพม่า (MCB) International Finance Corporation (IFC) ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลกจะช่วยให้ธนาคารเอกชนเมียนมาดำเนินโครงการเพื่อเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ IFC และ MCB ได้ลงนามในข้อตกลงซึ่งจะเพิ่มการเข้าถึงทางการเงินซึ่งจะเสริมความแข็งแกร่งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) และกลุ่มลูกค้ารายย่อยและเป็นการส่งเสริมการดำเนินการของธนาคารให้ดีขึ้น จากดัชนีในปี 60 มีประขากรเพียง 26% ที่มีบัญชีธนาคาร ส่วน 7% ของ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อหรือสินเชื่อและมากกว่า 56% ของวิสาหกิจไม่มีบัญชีออมทรัพย์หรือการตรวจสอบบัญชี การปฏิรูปธนาคารของรัฐบาลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา IFC และ MCB กำลังสร้างสภาพแวดล้อมที่มั่นคงและแข็งแกร่งซึ่งจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน ปัจจุบันมีธนาคารของรัฐ 4 แห่ง, ธนาคารเอกชน 24 แห่งและธนาคารต่างประเทศ 13 แห่งที่ให้บริการ และธนาคารกลางอนุญาตให้ธนาคารเอกชนใหม่อีก 4 แห่งmujเปิดบริการในเดือนพฤษภาคม 61

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-08/15/c_138311046.htm

อุตสาหกรรมการก่อสร้างหวังลดภาษี

อุตสาหกรรมการก่อสร้างหวังจะได้รับการลดภาษีจากการเรียกร้องไปเมื่อปีที่แล้วแต่ไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งตัดสินใจที่จะไม่ลดภาษีได้สร้างแรงกดดันให้กับอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาการชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์นับตั้งแต่ปี 57 คณะกรรมการกลางผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียนมากล่าวว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องได้รับการผ่อนปรนเพื่อให้ธุรกิจต่างๆ สามารถดำเนินโครงการต่างๆได้มากขึ้น โดยภาษีที่เสนอคือ 3% สำหรับการซื้อทรัพย์สินที่มีมูลค่าระหว่าง 1 จัต ถึง 100 ล้านจัต 5% สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 100 ล้านจัต ถึง 300 ล้านจัต 10% สำหรับมูลค่าตั้งแต่ 300 ล้านจัตถึง 3 พันล้านจัตและ 30% สำหรับทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงกว่า 3 พันล้านจัต ด้านเลขาธิการสมาคมบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ของเมียนมาร์กล่าวว่าภาษีน่าจะเหมาะสำหรับผู้ที่มองหาที่พักอาศัยเป็นครั้งแรก จึงควรลดภาษีในครั้งแรกเพื่อเป็นทางเลือกในการผ่อนระยะยาว ซึ่งการลดภาษีเป็นเวลาสองถึงสามปีจะช่วยกระตุ้นตลาด สามารถนำรายได้จากภาษีให้กับรัฐบาลและช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจดีขึ้น อีกทั้งจะช่วยให้สามารถลงทุนได้มากขึ้นและเพิ่มทุนสำหรับการลงทุนและการขยายธุรกิจ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/construction-industry-hoping-less-taxes.html

สินค้าผ่านด่านมูเซลดลงถึงหนึ่งในสาม

จากการเข็มงวดของจีนเกี่ยวกับการค้าที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนมูเซซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐฉาน รวมถึงข้อห้ามที่ในการนำเข้าสินค้าเกษตรส่งผลกระทบต่อการส่งออกชายแดนของเมียนมา จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ การส่งออกลดลง 28.4% เป็นมูลค่า 2.74 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวันที่ 1 ต.ค.61 ถึง 2 ส.ค ปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วการนำเข้าเพิ่มขึ้น 6.5% มูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การค้ารวมผ่านด่านมูเซมีมูลค่าถึง 4.42 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงเกือบ 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ข้อจำกัดอีกอย่างคือสินค้าเกษตรอย่างข้าวและข้าวโพด เมื่อปี 61 ที่ผ่านมายอดส่งออกลดลงเพราะจีนปราบปรามการส่งออกที่ผิดกฎหมาย และเพื่อบรรเทาการส่งออกที่ลดลงรัฐบาลเมียนมาได้หารือกับจีนเพื่อแลกเปลี่ยนโควต้าสินค้าโดยได้ทำข้อตกลงกับจีนในการซื้อข้าว 100,000 ตันผ่านการค้าชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/exports-through-muse-down-third.html

ยอดการส่งออกข้าวเมียนมาลดลงกว่า 350 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ระบุว่ามูลค่าจากการส่งออกข้าวและข้าวหักมีมูลค่า 597.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 ถึง 2 ส.ค.62 ของปีงบประมาณ 61-62 มีรายรับ 597.369 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวและข้าวหัก 1.978 ล้านตัน ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมามีรายรับ 950.661 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าว 1.801 ตันและข้าวหัก เมียนมาส่งออกข้าวไปยังตลาดสหภาพยุโรปและแอฟริกาผ่านทางทะเลและไปยังจีนผ่านด่านการค้าชายแดน จากการขยายตลาดในปี 60-61  สามารถส่งออกข้าวได้เกือบ 3.6 ล้านตัน เป็นการทำลายสถิติในรอบ 50 กว่าปีที่ผ่านมา การนำเข้าที่หดตัวเพราะแนวโน้มนำเข้าของทั้งจีนและอียูลดน้อยลง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/rice-export-earnings-decline-by-over-350-m-usd

เมียนมาเดินหน้าระบบใบอนุญาตก่อสร้างอาคารออนไลน์ใหม่ในย่างกุ้งยัง

IFC ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มธนาคารโลกได้ให้การสนับสนุนการควบคุมอาคารของคณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (YCDC) ในการปฏิรูประบบใบอนุญาตก่อสร้างและปรับปรุงความสะดวกในการทำธุรกิจในเขตเมือง ระบบใบอนุญาตก่อสร้างอาคารนี้เปิดให้บริการออนไลน์ในวันที่ 1 ก.ค.ไปจนถึงสิ้นปี ระบบนี้คาดว่าจะลดเวลาการดำเนินการสำหรับ 90% ของใบอนุญาตก่อสร้าง 4,000 รายการที่ส่งมาในทุกปีจากเวลาเฉลี่ย 95 วันเป็น 49 วัน ระบบใบอนุญาตสร้างออนไลน์ใหม่มีให้บริการในภาษาอังกฤษและภาษาเมียนมาซึ่งสร้างขึ้นเองสำหรับ YCDC ‘การจัดการกับใบอนุญาตก่อสร้าง’ เป็นหนึ่งใน 10 ตัวชี้วัดที่ใช้ในการกำหนดดัชนีความง่ายในการทำธุรกิจซึ่งขณะนี้ติดอันดับ 171 จาก 190 ประเทศ และเมื่อเทียบกับภาคอื่นภาคการก่อสร้างมีศักยภาพในการสร้างรายได้สูงสุด ระบบใบอนุญาตที่มีประสิทธิภาพโปร่งใสและราคาไม่แพงจะทำให้สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเอื้ออำนวยในประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangon-trials-digital-construction-permit-system.html

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเวลาเก้าเดือนติดต่อกัน

จากตัวเลขของกระทรวงวางแผนและการเงิน เดือน เม.ย.61 ถึงเดือน มิ.ย. 62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.53% ถึง 3.27% นานถึง 9 เดือนติดต่อกันของปีงบประมาณปัจจุบัน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบเป็นรายปีคาดแตะระดับ 4.10% และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 4.81% ในปี 61-62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยที่คำนวณโดยใช้ปี 55 เป็นปีฐานอยู่ที่ 8.08% และอัตราเงินเฟ้อปีต่อปีคิดเป็น 9.51% ในช่วงปลายเดือน มิ.ย. เขตมะกเวมีค่าสูงสุดอยู่ที่ 12.31% รองลงมาคือรัฐมอญ 10.14% และมัณฑะเลย์ 9.99% ในเดือน พ.ย. 55 องค์กรสถิติกลางได้ทำการสำรวจครัวเรือนและการบริโภคของครัวเรือน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ ในอดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน ปัจจุบันปี 55 ถูกใช้เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-rate-increases-for-nine-consecutive-months