รัฐบาลสปป.ลาว มุ่งเน้นไปที่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อกำจัดการไม่รู้หนังสือ

รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับการยกระดับการลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่สูงขึ้นเนื่องจากมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดการไม่รู้หนังสือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬากล่าวว่ารัฐบาลให้ความสนใจกับการสนับสนุนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อดำเนินการต่อไปยังโรงเรียนมัธยมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปีได้รับการศึกษาเทียบเท่าในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภายใต้โครงการเป้าหมายของกระทรวงในปีการศึกษา 61-62 มีนักเรียน 5,924 คน จบการศึกษาระดับประถมศึกษาซึ่งรวมถึงผู้หญิง 3,029 คน มีนักเรียน 30,065 คน ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นซึ่งมีผู้หญิงและเด็กผู้หญิง 14,362 คนขณะที่ 2,336 คนจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมถึงผู้หญิง 685 คน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt203.php

โครงการ EU รองรับการส่งออกสปป.ลาว

เมื่อวันที่ 9 กันยายนเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนด้วยโครงการ ARISE Plus-Laos ด้วยงบประมาณรวม 5 ล้านยูโร (5.52 ล้านเหรียญสหรัฐ) โครงการการสนับสนุนด้านการรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนจากสหภาพยุโรปเพิ่มเติม- โครงการความช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับการค้าสปป.ลาว (ARISE Plus-Laos) ได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก บูรณาการด้านการส่งออกในระดับภูมิภาคและห่วงโซ่มูลค่าโลก และส่งเสริมการค้าและเจาะลึกศักยภาพของภาคการแปรรูปไม้และการเกษตรแบบพิเศษที่ได้รับการคัดเลือกซึ่งจะช่วยให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเพิ่มพูนความรู้ด้านการส่งออกรวมถึงวิธีการค้าที่ดีขึ้น ซึ่งสหภาพยุโรปต้องการเพิ่มความช่วยเหลือ เพื่อเสริมสร้างการรวมตัวทางเศรษฐกิจในอาเซียน โครงการดังกล่าวเปิดตัวในระหว่างการเยือนสปป.ลาวอย่างเป็นทางการของกรรมาธิการยุโรปเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาระหว่างประเทศและผู้อำนวยการบริหารของ International Trade Center ซึ่งเป็นหน่วยงานร่วมของสหประชาชาติและองค์การการค้าโลก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/eu-programme-supports-laos-export/160221.vnp

โควตาการนำเข้าข้าวของจีนจากกัมพูชา

สหพันธ์ข้าวกัมพูชามั่นใจว่ากัมพูชาจะส่งออกข้าวสารในตลาดจีนได้ถึงโควตา โดยสมาคมดังกล่าวได้รับการยืนยันจากการเยี่ยมชมของ COFCO ผู้แปรรูปอาหารรายใหญ่ที่สุดของจีน ซึ่งกัมพูชาไม่สามารถส่งได้ตามโควตาในปีที่แล้วโดยมีการส่งออกจากกัมพูชาเพียง 170,000 ตัน จากโควตา 300,000 ตัน โดยประธาน CRF กล่าวว่าสมาคมกำลังมุ่งเน้นการขยายการส่งออกไปยังประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเพื่อลดการพึ่งพาสหภาพยุโรป ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 การส่งออกข้าวสารของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 3.7% เป็น 281,538 ตัน การจัดส่งไปยังประเทศจีนคิดเป็น 42% ของการส่งออกทั้งหมดประมาณ 118,400 ตัน แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหกเดือนที่ผ่านมาการส่งออกข้าวสารจากกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปลดลงเกือบ 50% ตามข้อมูลของ CRF การลดลงนี้เป็นผลมาจากการเก็บภาษีศุลกากรจากกลุ่มที่กำหนดไว้สำหรับข้าวในกัมพูชาเมื่อต้นปีนี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50641689/chinas-rice-import-quota-to-be-met-crf/

กัมพูชาและสปป.ลาวลงนามข้อตกลงโครงการพลังงาน 2,400 เมกะวัตต์

กัมพูชาและสปป.ลาวลงนามในข้อตกลงด้านพลังงานในระหว่างการพบปะกับนายกรัฐมนตรีสปป.ลาว ตามข้อตกลงกัมพูชาจะซื้อไฟฟ้าจากสปป.ลาวจำนวน 2,400 เมกะวัตต์ โดยกัมพูชากำลังวางแผนที่จะสร้างระบบส่งกำลังไฟฟ้าแรงสูงเพื่อส่งพลังงานจากชายแดนสปป.ลาวไปยังกรุงพนมเปญ ซึ่งวางแผนสร้างถึง 500 กิโลโวลต์จากสตึงแตรงถึงกรุงพนมเปญ ตามข้อตกลงกัมพูชาจะนำเข้าไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์ในปีหน้า ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาสนับสนุนการลงทุนในภาคพลังงานหลังจากที่ประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงานเมื่อต้นปี โดยจากรายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียระบุว่า Prime Road Alternative จะสามารถขายไฟฟ้าให้แก่กริดแห่งชาติในราคาเพียง 0.3877 เหรียญต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่ง ADB กล่าวว่านี่จะเป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่ต่ำที่สุดในภูมิภาค

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50641688/cambodia-laos-to-sign-2400-mw-power-deal/

กระทรวงฯส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวของกัมพูชาในเวียดนาม

กระทรวงการท่องเที่ยวส่งเสริมให้ประเทศกัมพูชาเป็นจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยว โดยระหว่างงาน International Travel Expo ครั้งที่ 15 ณ นครโฮจิมินห์ของเวียดนามได้หารือร่วมกันเพื่อส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวภายใต้สโลแกน “สองมณฑลหนึ่งปลายทาง” ซึ่งกัมพูชาและเวียดนามได้ตกลงร่วมมือกันในการท่องเที่ยวทางทะเลเมื่อท่าเรือใหม่ในจังหวัดกัมปอตเสร็จสิ้น โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564 ซึ่งความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวทางทะเลเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยกัมพูชาตั้งเป้าที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวเวียดนามปีละ 1 ล้านคนขณะที่เวียดนามคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวกัมพูชาอยู่ที่ 5 แสนคน ซึ่งต้องการสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่และพัฒนาจุดหมายปลายทางที่มีอยู่เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ 6.2 ล้านคน เพิ่มขึ้น 10.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในจำนวนนี้มีประมาณ 8 แสนคนเป็นนักท่องเที่ยวชาวเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50641198/ministry-promotes-kingdoms-tourism-market-in-vietnam/

การส่งเสริมการค้าระหว่างกัมพูชาและซาอุดิอาระเบีย

กัมพูชาและซาอุดิอาระเบียตกลงที่จะลงนามข้อตกลงที่สำคัญเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการคุ้มครองการค้าและการลงทุน ซึ่งเอกอัครราชทูตกัมพูชากระตุ้นให้ บริษัทของซาอุดิอาระเบีย ให้พิจารณาการลงทุนในประเทศกัมพูชา โดยอธิบายว่ากัมพูชามีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบอื่นๆอีกมาก ซึ่งในการประชุมซาอุดิอาระเบียแสดงความสนใจในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากกัมพูชาโดยเฉพาะข้าวสาร, มันสำปะหลัง, ยางพาราและพริกไทย โดยกระทรวงการค้ากล่าวว่าระหว่างกัมพูชาและซาอุดิอาระเบียมีมูลค่าการค้าถึง 12.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2561 คาดว่าเมื่อข้อตกลงทางการค้าและการลงทุนมีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้การค้าระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/641197/cambodia-saudi-arabia-to-boost-trade/

สปป.ลาว – จีนจัดตั้งกิจการร่วมค้าเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตร

รัฐวิสาหกิจเพื่อการเกษตร (SAS) ของสปป.ลาวได้ลงนามข้อตกลงกับ China’s Guangzhou Zhongheyuan Agriculture Development Co., Ltd. (GZAD) และ บริษัท UAB Global Ltd (UAB) ของฮ่องกง เพื่อร่วมมือกันลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและการพัฒนาตลาด ข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน CSU Agricultural Innovation Co., Ltd. (CSU) ได้ลงนามในเวียงจันทน์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วัตถุประสงค์ของการร่วมทุนคือการพัฒนาและปรับปรุงอุตสาหกรรมการเกษตร รวมถึงด้านปศุสัตว์โดยเฉพาะหมู วัว และแพะ การปลูกผักอินทรีย์และผลิตผลทางการเกษตรอื่น ๆ เพื่อจำหน่ายในตลาดสปป.ลาว จีน และนานาชาติ CSU มุ่งมั่นที่จะสร้างงานสร้างโอกาสทางการตลาดและสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้กับประชาชนและเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ปลอดภัยและมีคุณภาพสูงให้กับผู้บริโภคในราคาที่สมเหตุสมผล ความร่วมมือดังกล่าวคาดว่าจะช่วยการทำฟาร์มปศุสัตว์และปรับปรุงระบบการทำฟาร์มในสปป.ลาวโดยใช้เทคโนโลยีและมาตรฐานใหม่และผ่านการฝึกอบรมและความช่วยเหลือด้านเทคนิค

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-chinese-joint-venture-boost-agricultural-industry-103707

สปป.ลาว-ไทย ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีดิจิตอลสำหรับอุตสาหกรรม

สปป.ลาวและไทยได้ตกลงที่จะร่วมมือในการประยุกต์ใช้และพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4  – อุตสาหกรรม 4.0 อธิบดีกรมเทคโนโลยีดิจิตอล สปป.ลาว กล่าวว่าบทบาทของพวกเขาคือการจัดการพัฒนาส่งเสริมและให้บริการเทคโนโลยีดิจิทัลและธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศ รวมทั้งกำหนดกลยุทธ์และนโยบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล กระทรวงได้อำนวยความสะดวกให้หน่วยงานและสถาบันในการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือสำหรับการจัดการสาธารณะและการบริหารเพื่อประโยชน์สูงสุดของเทคโนโลยีดิจิตอล ได้เซ็นสัญญากับหน่วยงานเพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อการเกษตรและการพัฒนาอุตสาหกรรมในสปป.ลาวตามการใช้งานของอุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าวทั้งสองฝ่ายจะเผยแพร่และส่งเสริมการประยุกต์ใช้การวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตอลรวมทั้งแบ่งปันประสบการณ์ในสาขาที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจะใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมและความทันสมัย พร้อมกับการปรับปรุงคุณภาพการบริการและบริหารของรัฐบาล

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-thailand-agree-digital-tech-cooperation-industry-103704

ผนึกกำลังขับเคลื่อนอาเซียนรับมือด้านดิจิทัล

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมน ตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าตาม AEC Blueprint 2025 ของอาเซียน โดยได้เห็นชอบเอกสาร รวม 4 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แผนการดำเนินงานด้านดิจิทัลของอาเซียนในปี 2019-2025 ฉบับที่ 2 การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 หรือ 4IR ฉบับที่ 3 แนวทางการพัฒนาคนเพื่อรองรับ 4IR และฉบับที่ 4 แนวทางการส่งเสริมการใช้ดิจิทัลของไมโครเอสเอ็ม อี หรือ MSMEs ซึ่งทั้ง 4 ฉบับนี้จะนำมาใช้ในการขับเคลื่อนอาเซียนรับมือด้านดิจิทัล การปฏิวัติอุตสาหกรรม การพัฒนาคน และการช่วยเหลือ MSMEs ใช้ดิจิทัล พร้อมเตรียมการเจรจากับคู่เจรจา 12 คู่

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/tpd/3038718

มูลค่าลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาสูงถึง 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐใน 12 ธุรกิจ

จากข้อมูลของคณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศสูงกว่า 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐใน 12 สาขาธุรกิจ แต่ยังต้องการประมาณ 1700 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 61 ถึงวันที่ 5 ก.ย. 62 MIC อนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศ 252 ธุรกิจด้วยมูลค่าการลงทุน 2,550.773 ล้านเหรียญสหรัฐ การเพิ่มขึ้นปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 3,876.352 ล้านดอลลาร์ ในปี 61-62 คาดว่าการลงทุนจะไหลเข้าประเทศ 5,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 4,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐอีกประมาณ 25 วันเท่านั้นจึงจะสิ้นสุดรอบปีบัญชี ยังจำเป็นต้องใช้เงิน 1,700 ล้านดอลลาร์ถึงจะบรรลุเป้าหมาย MIC ได้ร่วมมือกับ JICA ได้จัดทำแผนการส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศในปี 56 และได้เริ่มดำเนินการในปี 57 ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-volume-reaches-more-than-us-4100-million-in-12-business-fields-in-myanmar