ผลผลิตทุเรียนตกต่ำฉุดราคาปีนี้พุ่ง

ผู้ค้าทุเรียนในอำเภอมะริด จังหวัดตะนาวศรี ได้ผลกำไรงาม ราคาพุ่ง จากผลผลิตที่ตกต่ำ ราคาทุเรียนลูกใหญ่พุ่งสูงถึง 5,000-6,000 จัตจาก 3,000 บาท ส่วนลูกเล็กพุ่งสูงถึง 1,000-1,500 บาท เมื่อปีที่แล้วความต้องการลดลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ไทยกำลังซื้อเมล็ดทุเรียนในราคา 6,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กก.) โดยทุเรียนจากเมืองคยุนซู มะริด และตานินทะยี มีการแข่งขันสูงมากในตลาดในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/low-supply-hikes-up-durian-price-this-year/#article-title

ปลูกถั่วเขียวช่วงหน้าร้อน สร้างกำไรงามให้เกษตรกรเมืองญองอู้

เกษตรกรเมืองญองอู้ เขตมัณฑะเลย์ กำลังเร่งการปลูกถั่วเขียวในช่วงฤดูร้อนโดยการใช้น้ำบาดาลและใกล้เข้าสู่การเก็บเกี่ยวคาดผลผลิตราคาพุ่ง 39,000 จัตต่อตะกร้า ซึ่งเกษตรกรจะเริ่มหว่านเมล็ดในเดือนมีนาคมโดยการใช้น้ำบาดาล หลังจากนั้นสองเดือนก็เริ่มให้ผลผลิตสามารถนำไปขายได้ ในการเก็บเกี่ยวแต่ละเอเคอร์ต้องการคนงานประมาณ 20 คน ค่าแรงต่อหัวอยู่ที่ 3,000 จัตต่อวัน ถั่วเขียวที่เก็บเกี่ยวจะนำไปตากแดดให้แห้งก่อนที่จะขายให้กับผู้ที่มารับซื้อ ถั่วเขียวแต่ละตะกร้าที่ขายจะมีน้ำหนัก 19 visses ราคาอยู่ที่ 39,000 จัต ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/summer-green-gram-growing-using-underground-water-gets-good-price/#article-title

ความต้องการข้าวเพิ่มหลังโควิดคลี่คลาย หนุน ราคาข้าวพุ่ง

ราคาข้าวและพืชผลข้าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในตลาดในประเทศเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นผู้ค้าจากตลาดค้าส่งหลังการคลี่คลายของ COVID-19 ในประเทศ ราคาข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น 700-3,000 จัตต่อถุง ปัจจุบันราคาข้าวขยับอยู่ในช่วง 22,500 ถึง 50,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับคุณภาพและสายพันธุ์ ส่วนตลาดต่างประเทศราคาข้าวส่งออกของเมียนมาต่ำกว่าของไทยและเวียดนาม แต่ยังสูงกว่าอินเดียและปากีสถานเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าว 720,000 ตันในช่วงไตรมาสที่ 1 (1 ต.ค.63 – 15 ม.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 มีรายได้กว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการค้าชายแดน 308,000 ตันส่วนการค้าทางทะเล 418,000 ตัน ปีที่แล้วส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศ 66 ประเทศ จีนเป็นผู้นำเข้าหลักรองลงมาคือ ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ในปีงบประมาณ 60-61 เมียนมาส่งออกข้าวถึง 3.6 ล้านตัน นับเป็นสถิติการส่งออกข้าวสูงสุดตลอดกาล แต่การส่งออกลดลงเหลือ 2.3 ล้านตันในปีงบประมาณ 61-62

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-prices-spike-up-on-local-demand/

กองทัพเมียนมา อนุมัติการลงทุนต่างชาติ ผลาญงบประมาณกว่า8.7หมื่นล้าน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน รัฐบาลทหารเมียนมา อนุมัติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ( เอฟดีไอ ) หลายโครงการ มีมูลค่ารวมเกือบ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 87,235.40 ล้านบาท โดยโครงการใหญ่ที่สุดซึ่งมีการอนุมัติ คือ การก่อสร้างโรงงานก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) มูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 77,888.75 ล้านบาท ) โดยไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการว่า ประเทศใดได้สัมปทานโครงการดังกล่าว เช่นเดียวกับโครงการอื่นอีก 15 โครงการ ในด้านการเกษตร การผลิต และภาคบริการ ซึ่งไม่มีการระบุชัดเจนว่า ผู้เสนอราคาจากประเทศใดได้รับการอนุมัติ

ที่มา : https://www.naewna.com/inter/572062

ลิ้นจี่พร้อมออกขาย ที่ตลาดกะตา เขตซะไกง์

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 64 ลิ้นจี่ที่ปลูกในเมืองกะตาเขตซะไกง์พร้อมวางขายในตลาดเมืองซะไกง์ และมีการส่งไปขายที่เมืองมัณฑะเลย์และเมืองที่-กไหย่ง์ (Htigyaing) โดยราคาจะอยู่ที่ ตะกร้าละ 45,000 จัต สำหรับแพ็กเกจขนาดใหญ่และ 35,000 จัต สำหรับแพ็กเกจขนาดเล็ก แม้ลิ้นจี่ที่ปลูกในเขตเมืองกะตาจะไม่ได้ราคาดีเหมือนปีที่แล้ว แต่ยอดขายยังพอไปได้ ทั้งจากกำลังซื้อของผู้ซื้อและผลผลิตลิ้นจี่ที่ลดลงจากปีก่อน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/lychee-for-sale-in-markets-in-katha-sagaing-region/

การยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายส่งผลราคาข้าวโพดเมียนมาตกฮวบ

Myanmar Corn Industrial Association เผย ไทยไฟเขียวนำเข้าข้าวโพดปลอดภาษี (พร้อมยื่น Form D) ผ่านด่านแม่สอด ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31  และสถานะการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับการส่งออกข้าวโพดได้สิ้นสุดไปตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมาส่งผลให้ราคาข้าวโพดตกต่ำลง ทั้งนี้เมียนมาตั้งเป้าส่งออกข้าวโพดไปไทย 1 ล้านตันในปีนี้ จนถึงขณะนี้มีการส่งออกไปแล้วประมาณ 600,000 ตัน ในปีประมาณ 62-63 มีการส่งออกข้าวโพด 2.2 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 360 ล้านดอลลาร์ ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดส่วนใหญ่อยู่ในรัฐชาน , คะฉิ่น, กะเหรี่ยง, มัณฑะเลย์, ซะไกง์ และมะกเว ผลผลิตข้าวโพดในประเทศอยู่ที่ประมาณ 2.5-3 ล้านตันต่อปี –

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/revocation-of-withholding-tax-exemption-on-corn-exports-causes-price-downtrend/#article-title

ผู้ผลิตเร่งหาแนวทางผลิตสินค้าเจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างสมาคมสหกรณ์อุตสาหกรรมของเมียนมา กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน และกระทรวงสหภาพแรงงาน เมื่อเช้าวันที่ 8 พฤษภาคม 64 ที่ผ่านมา โดยมีความเห็นตรงกันว่าควรส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มีคุณภาพและจำหน่ายสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อพัฒนาชนบทสร้างโอกาสในการทำงานและยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิตต้องหาแนวทางและวิธีการในการผลิตซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูมิภาคและเพื่อเจาะตลาดในและต่างประเทศ ทั้งนี้ยังขอความช่วยเหลือทางเทคนิคในการผลิตจากกรมเกษตรและกรมอุตสาหกรรมขนาดเล็กเพื่อการผลิต

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturers-urged-to-seek-ways-for-commercial-scale-manufacturing-of-products-penetrate-local-and-foreign-markets/#article-title

ฤดูร้อนเกษตรกรเมืองยอง อู ปลูกถั่วเขียวได้ราคาถึง 40,000 จัตต่อตะกร้า

ในฤดูร้อนเกษตรกรจากเขตเมืองยอง อู ประสบผลสำเร็จในการปลูกถั่วเขียวบนพื้นที่กว่า 300 เอเคอร์โดยใช้น้ำจากแม่น้ำ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตและจำหน่ายได้ราคาสูงถึง 42,000 จัตต่อตะกร้า ซึ่งเพิ่มมากขึ้นในกว่าปีที่แล้ว โดยจะเริ่มหว่านในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากปลูกได้ 45 ถั่วเขียวก็เริ่มแตกหน่อและออกดอก หลังจากนั้นสองเดือนก็จะนำผลผลิตไปขายที่นายหน้าที่มารับซื้อ ซึ่งแต่ละเอเคอร์สามารถให้ผลิตตะกร้าได้ถึง 20 ตะกร้า สำหรับต้นทุนการเพาะปลูกจะอยู่ที่ 3,000 จัตต่อเอเคอร์ ในทางตรงกันข้ามการปลูกข้าวในช่วงฤดูร้อนมีต้นทุนสูงถึง 9,000 จัตต่อเอเคอร์ ณ ตอนนี้ราคาถั่วเขียวอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตะกร้าในช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นช่วงที่ทำกำไรให้กับเกษตรกร

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/cultivation-of-summer-green-gram-succeeds-selling-for-k40000-per-basket/

เดือน เม.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เมียนมา ลดฮวบลง 5 เท่า

ผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตของเมียนมาลดลงถึง 5 เท่า จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ที่เผยแพร่โดย IHS Markit เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 64 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ตัวแปร ได้แก่ ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน โดยการจัดซื้อลดลงหนักในเดือนเมษายน บริษัทร้อยละ 60% ให้ข้อมูลว่าการผลิตในเดือนเมษายนลดลงจากเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากการขาดแคลนวัสดุ การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนและต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้นล้วนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของสูงขึ้นนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561 การสำรวจดำเนินการโดย IHS Markit ซึ่งได้ข้อมูลจากภาคการผลิตและได้รับการสนับสนุนโดย Nikkei Inc จากประเทศญี่ปุ่น

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/output-and-new-orders-in-april-fall-fivefold-ihs-markit

ปีงบฯ 64 ค้าชายแดนเมียนมา – อินเดีย พุ่ง 84 ล้านดอลลาร์ ฯ

จากรายงานขอวงกระทรวงพาณิชย์ การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียแตะ 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 16 เมษายนในปีงบประมาณปัจจุบัน (63-64) ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้ โดยเพิ่มขึ้น 84.62 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็นการส่งออก 160.086 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 0.811 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าชายแดนส่วนใหญ่จะผ่านด่านทามู ด่านรีด และด่านถลาง สินค้าส่งออกประกอบด้วย ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น ใบกระวาน สินค้าประมง ผลไม้ และผัก ส่วนการนำเข้าจะเป็น ยา ออยล์เค๊ก เครื่องใช้ไฟฟ้ารถจักรยานยนต์ เหล็ก และเครื่องจักรก่อสร้างอื่น ๆ และวัสดุก่อสร้าง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-up-by-84-mln-this-fy/#article-title