การส่งออกสินค้าทางทะเลลดฮวบเหลือ 626 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย รายได้จากการส่งออกจากภาคประมง 10 เดือน (1 ต.ค.-23 ก.ค.) ของปีงบประมาณ 63-64 ลดลงเหลือ 626.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 และความยากลำบากในการขนส่ง นอกจากนี้ การส่งออกทางทะเลผ่านพรมแดนจีน-เมียนมา ยังต้องหยุดชะงักหลังผลกระทบและมาตรการด้านความปลอดภัยของ COVID-19 ซึ่งจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่เป็นอันดับสองของเมียนมา โดยคิดเป็นมูลค่า 254 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลโดยรวมที่ 850 ล้านดอลลาร์ในปีประมาณที่ผ่านมา ปัจจุบัน จีนปิดพื้นที่ชายแดน เพราะการระบาดโควิดในเมียนมา เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเล เช่น ปลา กุ้ง และปู ไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และประเทศในสหภาพยุโรป สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เมียนมาการนั้นดีกว่าหลายประเทศในภูมิภาคมาก หากประเทศสามารถส่งเสริมเทคโนโลยีการแปรรูปได้ ก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศและสร้างรายได้ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/marine-product-exports-plummet-to-626-mln-as-of-23-july/#article-title

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าประชากรกว่า 80% ชำระเงินผ่านดิจิทัล

แผนร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและดิจิทัล ปี 2568 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล, ข้อมูลดิจิตอล, คุณลักษณะของบุคคลทางดิจิทัล การชำระเงินดิจิทัลและการสร้างรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งแผนร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าว การชำระเงินค่าน้ำค่าไฟ 75% จะชำระเงินในรูปแบบไร้เงินสด (Cashless) และการชำระเงินผ่านจุดขาย 90% จะใช้วิธีการชำระเงินที่มิใช้เงินสด อีกทั้ง ยังได้ตั้งเป้าประชากรเวียดนามกว่า 90% ให้มาซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และภายในปี 2568 ประชากรกว่า 70% จะมีข้อมูลยืนยันตัวบุคคลดิจิทัลในการใช้บริการดิจิทัลทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนั้น กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เสนอให้ทบทวนและแก้ไขกฎหมายทางการเงิน นโยบาย ค่าธรรมเนียมและค่าบริการ เพื่อขจัดอุปสรรคในการชำระเงินแบบมิใช้เงินสดและส่งเสริมให้ประชาชนทำธุรกรรมไร้เงินสด

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-to-open-e-payment-for-80-of-population-by-2025-318297.html

‘เวียดนาม’ เป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนในสายตานักลงทุนสหรัฐฯ

งานสัมมนาออนไลน์ที่จัดขึ้นโดย Asia Group มีจุดหมายเพื่อบอกเล่าถึงโอกาสในการดำเนินธุรกิจ และข้อมูลอัปเดตสถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนแนวโน้มทางเศรษฐกิจเวียดนาม ได้หารือร่วมกับตัวแทนบริษัทสหรัฐฯกว่า 40 ราย ทั้งนี้ ฮา กิม หง็อก เอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำเร็จทางเศรษฐกิจของเวียดนาม และความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการส่งเสริมการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในขณะเดียวกัน ในมุมมองของนักลงทุนสหรัฐฯ ชี้ว่าการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหรัฐฯ-เวียดนาม และเครือข่ายของข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม จะช่วยการทำธุรกิจของพวกเขาอย่างมาก อย่างไรก็ตาม นายหง็อก ขอบคุณรัฐบาลสหรัฐฯ ในการสนับสนุนเวียดนาม โดยเฉพาะการส่งมอบวัคซีน Moderna จำนวน 2-5 ล้านโดส

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-remains-attractive-destination-for-us-investors/206018.vnp

นายกฯ ให้คำมั่นลดการใช้จ่ายรถยนต์ของรัฐครั้งใหญ่

นายกรัฐมนตรีพันธุ์คำ วิภาวัณ ได้ชี้แจงรัฐสภาในการประชุมเซสชันพิเศษของสภานิติบัญญัติที่เก้าของ NA ว่า รัฐบาลของเขาจะลดการใช้จ่ายด้านยานยนต์ลงอย่างมาก หลายปีที่ผ่านมาความฟุ่มเฟือยเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวกับจำนวนเงินที่ซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในกิจการของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้เพิ่มภาระให้กับรายจ่ายโดยรวมของรัฐ ความพยายามในการลงทุนและการใช้จ่ายของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในมาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้เพื่อจัดการกับปัญหาทางการเงินและเศรษฐกิจความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาเรื้อรังนี้ได้รับการยอมรับและจัดเป็นวาระแห่งชาติอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งต้องมีการดำเนินการร่วมกันและเร่งด่วน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PMpledges_153.php

‘เวียดนาม’ ชี้ยอดการส่งออกโทรศัพท์เติบโตแข็งแกร่ง แม้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนยังคงเป็นผู้นำกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 29.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.9% ขณะที่ เฉพาะเดือนก.ค. ยอดการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ พุ่ง 30.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากความต้องการอุปกรณ์สื่อสารเพิ่มขึ้น ประกอบกับการปิดตัวของบริษัทผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก เหตุโควิด-19 ระบาดหนัก นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนาม ชี้ว่าเศรษฐกิจเวียดนามต้องมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านในแง่ของโครงสร้างการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าไฮเทค อาทิ เครื่องจักรกลที่มีความแม่นยำสูง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/phones-enjoy-robust-growth-despite-covid-19-challenges-880683.vov

เมียนมาส่งออกไปเวียดนามพุ่ง 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 7 เดือนแรกของปีงบ 63-64

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การส่งออกไปเวียดนามช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-เม.ย.64) ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่ารวม 375.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออก 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่าเพียง 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ โลหะพื้นฐาน เมล็ดพืช ข้าว ข้าวหัก ยาง บุหรี่ เครื่องนุ่งห่ม ข้าวโพด ยาสูบ ฯลฯ ส่วนการนำเข้าจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ขนส่ง พลาสติก อุปกรณ์เครื่องจักรกล กระดาษ กระดาษแข็ง ปุ๋ย ยา ผ้าฝ้าย ผ้าทอ ใยสังเคราะห์ ฯลฯ ทั้งนี้การค้าของสองประเทศเติบโตขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม การระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกส่งผลกระทบต่อการค้าเป็นอย่างมาก จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัทของเมียนมา (DICA) ระบุว่า ณ เดือนมิถุนายน 2564 เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 8 ของเมียนมา มีมูลค่าประมาณ 2.224 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://gnlm.com.mm/exports-to-viet-nam-cross-150-mln-in-seven-months/?__cf_chl_jschl_tk__=pmd_cfcf817504600ea9f297f5b3a29321e15ac8f26b-1628373934-0-gqNtZGzNAg2jcnBszQpi#article-title

ปีงบฯ 63 – 64 เมียนมาดึงสิงคโปร์ FDI ลงทุนกว่า 428 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและการบริหารจัดการของเมียนมา (DICA) เปิดเผยว่า ระหว่างเดือนต.ค. 2563 ถึงเดือนมิ.ย. 2564 มีบริษัทจดทะเบียนจากสิงคโปร์จำนวน 13 บริษัทได้เข้ามาลงทุนในเมียนมาแล้ว 428 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่ลงทุนในการพัฒนาเมือง อสังหาริมทรัพย์ พลังงาน และภาคการผลิต และยังมีบริษัทจากประเทศต่างฯ ที่เข้ามาลงทุน ได้แก่ บรูไน จีน ไทย อินเดีย มาเลเซีย สาธารณรัฐเกาหลี เวียดนาม เกาะมาร์แชลล์ ซามัว ฮ่องกง และไต้หวัน โดยตั้งแต่เดือนต.ค. 2563 ถึงเดือนมิ.ย. 2564 เมียนมาสามารถดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 3.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) พบว่ามีผู้ประกอบการต่างประเทศ 44 บริษัท ที่ได้รับอนุญาตโดย MIC และมีบริษัท 23 บริษัทที่ลงทุนในภาคการผลิต โดยมีการลงทุนในภาคการผลิตไฟฟ้ามีโครงการขนาดใหญ่ 6 โครงการ ภาคปศุสัตว์และประมง 6 โครงการ, ภาคบริการอื่นๆ 5 โครงการ, ภาคเกษตรกรรม 2 โครงการ, นิคมอุตสาหกรรมและภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว 1 โครงการ ซึ่ง MIC ตั้งเป้าดึงการลงทุนจากต่างประเทศอยู่ที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ปัจจุบันสิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่เป็นอันดับสองในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวารองจากญี่ปุ่น

ที่มา: https://gnlm.com.mm/myanmar-attracts-over-428-mln-of-fdi-from-singapore-this-fy/

‘เวียดนาม’ ชี้อุตสาหกรรมสิ่งทอเผชิญปัญหาการหยุดชะงักของซัพพลายเชน

นาย Vu Duc Giang ประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) กล่าวว่าห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มใกล้ที่จะหยุดชะงักลง หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ตลอดจนผลกระทบต่อชื่อเสียงของอุตสาหกรรมนี้ไปในทิศทางเชิงลบในมุมมองนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนี้ คุณ Le Uyen Trang Nha อำนวยการทั่วไปของ บ. Viking Vietnam เผยว่าเพื่อรักษาระดับการผลิตนั้น บริษัทจำเป็นต้องจัดเตรียมหาที่พักและห้องรับประทานอาหารแก่พนักงาน ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจำนวนพนักงานกว่า 150 คนที่อยู่ทำงานในโรงงาน คิดเป็นต้นทุนกว่า 450 ล้านดองต่อเดือน อย่างไรก็ดี มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในหลายๆจังหวัด ส่งผลให้การขนส่งวัตถุดิบชะลอกตัวลง

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/83598/apparel-sector-faces-supply-chain-disruption.html

ยอดขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตเพิ่มขึ้น หลังรัฐบาลกัมพูชาออกมาตรการเคอร์ฟิว

ซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ในกัมพูชา รายงานถึงยอดขายที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้ออกมาตรการเคอร์ฟิวเป็นระยะเวลา 14 วัน ในช่วงเวลา 21.00 – 04.00 น. ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ค. – 12 ส.ค. 2021 เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระตุ้นให้ประชาชนภายในประเทศเร่งกักตุนสินค้ากันเป็นจำนวนมากในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แม้ตลาดสดบางแห่ง เช่น ตลาดบึงเก็งกังในพนมเปญยังคงเปิดอยู่ ด้าน DFI Lucky Supermarkets ผู้ประกอบการซุปเปอร์มาร์เก็ตในกัมพูชา ซึ่งเป็นของนักลงทุนชาวฮ่องกง รายงานถึงยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายการอาหารสด เนื่องจากลูกค้ามองว่าสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตถือเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยกว่า เมื่อเทียบกับตลาดสด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50910154/supermarkets-report-higher-sales-but-little-panic-buying/

กัมพูชาส่งออกกล้วยแตะ 2.7 แสนตัน ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค.

กัมพูชาส่งออกกล้วยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 61 ในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. ปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วง 7 เดือนแรกของปี 2020 โดยการส่งออกกล้วยสดเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 270,222 ตัน ซึ่งร้อยละ 40 ถูกส่งออกไปยังประเทศจีน และร้อยละ 11 ถูกส่งออกไปยังประเทศเวียดนาม ซึ่งการส่งออกกล้วยไปยังจีนที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากการที่จีนและกัมพูชาได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกันไปเมื่อปีที่แล้ว โดยส่งผลให้ปริมาณการส่งออกของสินค้าเกษตรอื่นๆ ไปยังจีนเพิ่มขึ้นด้วย อาทิเช่น มะม่วง และข้าวสารที่มีปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถือเป็นการช่วยชดเชยมูลค่าการส่งออกไปยังยุโรปที่ลดลง โดยภายในประเทศกัมพูชาเพาะปลูกกล้วยชนิดคาเวนดิชเป็นหลัก ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกกล้วยมากกว่า 300,000 ตัน สร้างรายได้ให้กัมพูชารวม 450 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50910140/cambodian-banana-exports-reach-270222-tonnes-jan-july/