ทอท.จับธุรกิจCargoตั้งศูนย์ตรวจสอบสินค้าเกษตรดันรายได้1,000ล้าน

ทอท.รุกตลาด Cargo ขยายฐานลูกค้า CLMV ดันรายได้เพิ่มแตะ 1,000 ล้าน คาดเปิดเฟสแรกต้นปีหน้า รอชงคมนาคมเคาะขนส่ง G2G เชื่อมไทย-ยุโรป กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า ทอท.อยู่ระหว่างการจัดตั้งบริษัทลูก เพื่อมาดูแลโครงการศูนย์ตรวจสอบสินค้าเกษตรก่อนส่งออก ภายในท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ หลังมีการหารือร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยถึงแนวทางการส่งออกสินค้าไปยังยุโรป โดยคาดว่าการจัดตั้งบริษัทลูกจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ จากนั้นจะเดินหน้าทำห้องเย็น และเปิดให้บริการได้ภายใน 6 เดือนนับจากนี้ ปัจจุบันมีหลายประเทศให้ความสนใจที่จะมาใช้บริการโดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศ CLMV จากเดิมจะต้องไปใช้บริการที่ประเทศสิงคโปร์ โดยศูนย์ตรวจสอบสินค้าเกษตรก่อนส่งออกในเฟสแรก จะให้บริการในรูปแบบของ Premium Len ก่อน ซึ่งจะคล้ายช่องทางพิเศษ VIP ขณะที่เฟสต่อไปในอนาคตนั้น ส่วนศูนย์ตรวจสอบสินค้าเกษตรก่อนส่งออกนั้น จะผ่านดูไบ และต่อไปยังเบลเยี่ยม ก่อนที่จะกระจายส่งไปประเทศอื่นๆในยุโรป และล่าสุดในช่วงเดือนส.ค.นี้ ทอท.เตรียมลงนามบันทึกความร่วมมือ ว่าด้วยเรื่องอี-คอมเมิร์ชกับประเทศดูไบ ทั้งนี้ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีการขนส่งสินค้าจำนวน 1.5 ล้านตันต่อปี หรืออยู่ที่อันดับ 15 ของโลก ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีสินค้าเน่าเสียกว่า 1.5 แสนตันต่อปี

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/595674

เวียดนามเผยยอดส่งออกเหล็กและเหล็กกล้า 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าของเวียดนามอยู่ที่ 3.44 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยในกลุ่มประเทศสมาชิกในอาเซียน พบว่ากัมพูชาเป็นผู้นำเข้าเหล็กและเหล็กกล้ารายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม มีปริมาณในการนำเข้ามากกว่า 880,000 ตัน และมูลค่าราว 523 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 48 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2561 รองลงมาอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ตามลำดับ แต่ตลาดส่งออกของเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกานั้น ลดลงอย่างมากทั้งด้านปริมาณและมูลค่า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/522786/rubber-exports-in-june-increased-strongly.html#p75wo8WisvDWUJyT.97

เวียดนามนำเข้ายานยนต์เพิ่มสูงขึ้น ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียนนาม (The General Department of Customs) เปิดเผยว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ยอดนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามมีปริมาณ 75,437 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 6 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และมูลค่าการนำเข้ารถยนต์อยู่ที่ 1.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีปริมาณการนำเข้ารถยนต์กว่า 10,540 คัน มูลค่ารวมอยู่ที่ 254 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 26.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หากจำแนกตลาดนำเข้ารถยนต์สำคัญของเวียดนาม พบว่าประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดไปยังเวียดนาม คิดเป็นปริมาณรวมประมาณ 7,575 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ตามลำดับ ซึ่งประเทศดังกล่าว 5 ประเทศ นับว่าเป็นสัดส่วนรวมร้อยละ 96 ของปริมาณการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามทั้งหมด นอกจากนี้ ยอดการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 291 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน โดยแหล่งประเทศที่เวียดนามนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เกาหลีใต้ รองลงมาญี่ปุ่น ไทย จีน อินโดนีเซีย และเยอรมัน ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/523041/car-imports-skyrocket-in-first-half-of-2019.html#uRcwQux1jTBRQc5B.97

ธ. พาณิชย์เมียนมาปล่อยสินเชื่อ 21 ล้านล้านจัต ใน 6 เดือน

รายงานไตรมาสปี 2018 ฉบับที่ 3 โดยธนาคารกลางของประเทศเมียนมา ระหว่าง มี.ค. – ก.ย. 61 ธนาคารเอกชนท้องถิ่นให้เงินกู้ยืมประมาณ 20.95 ล้านล้านจัตในสิบภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ การเกษตร การผลิต การค้า การขนส่ง การก่อสร้าง การบริการ สินเชื่อทั่วไป สินเชื่อเช่าซื้อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) จากข้อมูลภาคการค้าเป็นจำนวนที่มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งซึ่งมีมูลค่ารวมสูงถึง 88 ล้านล้านจัต ภาคธุรกิจทั่วไปมีมูลค่ารวม 3.7 ล้านล้านจัต ภาคการผลิต 2.1 ล้านล้านจัต ภาคการบริการ 2.6 ล้านล้านจัต และภาคการก่อสร้างอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านจัต ส่วนภูมิภาคย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ได้รับสินเชื่อวงเงินมากที่สุด 16.6 ล้านล้านจัตและ 2.5 ล้านล้านจัต ส่วนรัฐกะยาและรัฐชินได้รับสินเชื่อน้อยที่สุด โดยสินเชื่อดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ย 13% สำหรับสินเชื่อที่มีหลักประกันและสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ย 16% สำหรับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน

ที่มา: https://www.mmbiztoday.com/articles/local-banks-provide-k21-trillion-loans-6-month-period

ประมงเมียนมาห้ามส่งออกปูเล็ก

สหพันธ์ประมงเมียนมาร์ (MFF) แจ้งต่อกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทานว่าจะห้ามการส่งออกปูที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม (.22 ปอนด์หรือ 3.5 ออนซ์) เพราะการส่งออกปูแบบไม่จำกัดขนาดทำให้ต้องนำเข้าปูขนาดใหญ่แต่มีขนาดเล็กกว่า ส่งผลให้เกิดการขาดแคลน ก่อนหน้านี้รัฐบาลจำกัดการส่งออกปูที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัม และผ่อนคลายการส่งออกและผู้ผลิตส่งออกสู่ตลาดโลกมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการปูเพิ่มขึ้นและมีผลต่อการขยายพันธุ์ของปูเช่นกัน ปัจจุบันสหพันธ์ประมงเมียนมาได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศในการเพาะพันธ์ปูนิ่มในเมืองละบุตา เขตอิรวดี ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงปูอยู่ในเมืองอย่างย่างกุ้ง ตะนินตายี และอิรวดีรวมทั้งรัฐยะไข่ โดยส่งออกไปยังยุโรปและประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน

ที่มา: https://www.mmbiztoday.com/articles/mff-moves-impose-ban-export-small-crabs

สปป.ลาวส่งออกโควตาส่งข้าวไปยังจีนเป็นครั้งแรก

สปป.ลาวเริ่มจัดส่งข้าวขาวจำนวน 1,100 ตันแรกไปยังประเทศจีนโดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโควต้าการส่งออก 50,000 ตันระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวและบริษัท COFCO การจัดส่งครั้งแรกนี้จะถูกขนส่งในเดือน ก.ค.และ ส.ค. ข้อตกลงในการส่งออกข้าวครั้งแรกได้ลงนามระหว่าง COFCO และ บริษัท Indochina Development Partner Co. , Ltd. ภายใต้โควตานำเข้าข้าวอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลจีน สปป.ลาวได้รับ 8,000 ตันสำหรับช่วงแรกของปี 58-59 และ 20,000 ตันสำหรับปี 60-61ในขณะที่จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาวและเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ แต่ก็มีข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เข้มงวด คาดการณ์ว่าการส่งออกข้าวจะลดลงในปี 62 จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในปีที่แล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ระบุว่าประเทศตั้งเป้าจำนวน 45.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการส่งออกข้าวในปีที่แล้ว แต่ทำได้เพียง 31.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปีนี้รัฐบาลคาดว่าจะสร้างรายได้เพียง 25.2 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/laos-exports-first-shipment-rice-quota-china-100658

ภัยแล้งทำลายอนาคตของเกษตรกรสปป.ลาว

ปริมาณน้ำฝนที่ลดลงและอุณหภูมิสูงกำลังทำลายพืชผลของเกษตรกรชาวสปป.ลาวทั่วประเทศเนื่องจากสภาพแห้งแล้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิเคราะห์กล่าวว่าปริมาณน้ำฝนตามฤดูกาลที่ต่ำที่สุดในรอบหลายทศวรรษจะไม่เพียง แต่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิตของเกษตรกร แต่ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ กล่าวว่าการปลูกข้าวในฤดูฝนดำเนินไปเพียง 40% เท่านั้น ขาดฝนทำให้การผลิตข้าวล่าช้า แต่ก็ยังไม่ได้รายงานตัวเลขที่แน่นอนเกี่ยวกับพืชที่เสียหาย ซึ่งเจ้าหน้าที่การเกษตรอาจส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น เกษตรกรที่ยืมเงินจากธนาคารจำเป็นต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับปริมาณพืชที่เสียหายเพื่อให้รัฐบาลสามารถช่วยเจรจากับธนาคารได้ 
ที่มา : http://annx.asianews.network/content/drought-destroying-future-lao-farmers-100731

รายได้จากอุตสาหกรรมเชิงสกัดของกัมพูชาสูงถึง 11 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานเก็บรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีจากอุตสาหกรรมสกัดในช่วง 5 เดือนแรกของปีประมาณ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามรายงานของกระทรวงล่าสุด โดยในปี 2561 รายได้จากอุตสาหกรรมสกัดเท่ากับ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกระทรวงได้ชี้แจงก่อนหน้านี้ว่ารายได้ที่มิใช่ภาษีหมายถึงรายได้ที่เก็บจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและสัญญาเช่าที่ดิน โดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่ากัมพูชาจะกลายเป็นที่ดึงดูดนักลงทุนมากขึ้นเมื่อมีการจัดตั้งโครงการขุดทองคำและการสกัดน้ำมัน ซึ่งระบุว่ากระทรวงได้ออกใบอนุญาตสำรวจมากกว่า 50 ใบ และใบอนุญาตทำการขุดอีกกว่า 20 ใบ โดยจะนำเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ร่วมด้วยเพื่อที่จะสามารถลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626279/revenue-from-extractive-industry-reaches-11m/

กัมพูชาและเวียดนามจะบรรลุเป้าหมายการค้าภายในปี 2563

กัมพูชาและเวียดนามมองว่าพวกเขาจะเข้าถึงการค้าทวิภาคีมูลค่ากว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2563 ตามคำสัญญาของรัฐบาล ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มในปัจจุบันรวมถึงการค้าสองฝ่ายที่สูงถึง 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วการค้าทวิภาคีจะบรรลุและอาจเกินเป้าหมาย 5 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2563 ที่กำหนดโดยรัฐบาล โดยการอภิปรายครอบคลุมความร่วมมือทางการเมืองและความมั่นคง การค้าและการลงทุน ,การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ,การท่องเที่ยวและการส่งเสริมวัฒนธรรมการ ,เชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานและนโยบายชายแดนและอื่นๆ ณ ปี 2561 เวียดนามมีโครงการลงทุนประมาณ 210 โครงการในประเทศกัมพูชาซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรและป่าไม้ มีทุนจดทะเบียนการลงทุนรวมประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนของกัมพูชาในเวียดนามก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยมีโครงการ บริษัทของกัมพูชาจำนวน 19 โครงการมูลค่าการลงทุน 63.4 ล้านสหรัฐตามข้อมูลจากสถานทูตเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50626267/cambodia-vietnam-will-meet-2020-trade-target-ministry/