เวียดนามเผยการส่งออกผักและผลไม้ไปจีนลดลง ในช่วงกรกฎาคม

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วงเดือนกรกฎาคมของปีนี้ เวียดนามส่งออกผักและผลไม้ไปยังจีนอยู่ที่ 144.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 44.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าเป็นการลดลงอย่างมาก โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดผักและผลไม้ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของการส่งออกของเวียดนาม ในขณะที่ ตลาดนำเข้าอย่างไทยและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็ลดลงเช่นเดียวกัน แต่สหรัฐอเมริกายังคงเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่อันดับที่สองของเวียดนามที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 ตามมาด้วยเกาหลีใต้ (13%) และญี่ปุ่น (25.9%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตามลำดับ ทั้งนี้ สมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (VinaFruit) ระบุว่าสถานการณ์การส่งออกผักและผลไม้ต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายด้าน ได้แก่ สถานการณ์ของสงครามการค้าที่ไม่แน่นอน และกฎระเบียบที่เข็มงวดของจีน เป็นต้น

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/fruit-and-vegetable-exports-to-china-plummet-in-july-3970376.html

ผู้ประกอบการจีนเข้ามาลงทุนโรงงานกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในจังหวัดทัญฮว้า

จากรายงานของคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัด (Provincial People’s Committee) เปิดเผยว่าบริษัทเหล็ก Mintal Group มีความประสงค์ที่จะสร้างโรงงานเฟอร์โรคอน (Ferocrom) และสแตนเลสสตีล รวมไปถึงโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ในเขตเศรษฐกิจ Nghi Son โดยบริษัทจะดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยในเฟสแรก จะลงทุนสร้างโรงงานเฟอร์โรคอน (Ferocrom) ด้วยกำลังการผลิต 1.5 ล้านตันต่อปี และในช่วงเฟสสอง จะก่อสร้างโรงงานสแตนเลสสตีลและโรงงานโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ด้วยกำลังการผลิต 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งจากการประชุมระหว่างคณะกรรมการฯ และตัวแทนบริษัทจีน พบว่าทางคณะกรรมการประจำจังหวัด สั่งให้คณะกรรมการของเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวให้ออกสำรวจพื้นที่ก่อสร้าง และเตรียมเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องให้รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การลงทุนดังกล่าวจะต้องพัฒนาในด้านเทคโนโลยีในจังหวัด และสร้างผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมไปถึงปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/chinese-firm-to-invest-in-2-billion-usd-factory-in-thanh-hoa/158106.vnp

งบประมาณที่ผ่านมาหนี้ต่างชาติเมียนมาเพิ่มขึ้น 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ปีงบประมาณ 60 – 61 เมียนมามีหนี้สะสมจำนวน 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ จาก 20 ประเทศและองค์กรระดับพหุภาคี หนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (1.587 ล้านล้านจัต) หรือ 11.5% ระหว่างปีงบประมาณ 59-60 และ 60-61 ณ มี.ค. 61 เงินกู้จากจีนมีจำนวนมากที่สุด 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการชำระคืนบางส่วนจำนวน 1.11 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (Exim China) เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ เงินกู้ดังกล่าวถูกใช้ไปในการก่อสร้างโครงการของกระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน ขณะเดียวกันยังคงเป็นหนี้ญี่ปุ่น 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐจากวงเงิน 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเจ้าหนี้อื่น ๆ รวมถึงองค์กรพหุภาคี เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย กองทุนการเงินระหว่างประเทศอินเดีย ไทย และสหราชอาณาจักร จากรายงานชี้ให้เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เงินจ๊าตที่อ่อนลงและค่าใช้จ่ายในการจัดการที่สูงขึ้นส่งผลต่อการคลังของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการชำระเงินปกติยังคงมีขึ้นสำหรับธุรกิจที่ล้มเหลว และแนะนำการดูแลและกำกับหลังจากการเบิกเงินกู้จากกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทานนำไปสู่ความสูญเสียทางการเงินและการทุจริตที่เกิดขึ้น

ที่มา : http:// https://www.mmtimes.com/news/myanmar-foreign-loans-rise-us102b-last-fiscal-year.html

ยอดส่งออกข้าว 10 เดือนแรก 400,000 ตัน มูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐ

10 เดือนแรก ตั้งแต่ 1 ต.ค. 61 ถึง 2 ส.ค. 62 เมียนมาส่งออกข้าวหักไป 36 ประเทศมากกว่า 400,689 ตันมูลค่ากว่า 107.147 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 50% ของทั้งหมดไปเบลเยียม เกือบ 190,000 ตันมูลค่า 50.547 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย 68,000 ตัน มูลค่ากว่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกไปยังจีน 25,000 ตันมูลค่า 6 ล้านเหรียญสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ 23,000 ตันมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 20,000 ตัน มูลค่ามากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐส่งออกไปยังสหรัฐอาณาจักร จากรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การนำเข้าข้าวจากจีนและสหภาพยุโรปที่เป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ลดน้อยลงในปีนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/over-100m-earned-from-export-of-400000-tons-of-broken-rice-in-10-months

กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้สนับสนุนทักษะด้านเทคนิคเพื่อปรับปรุงการผลิตในสปป.ลาว

กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ยังคงฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดทักษะด้านเทคนิคและปรับปรุงผลผลิตของเกษตรกรในท้องถิ่น มีคน 40 คนได้รับการฝึกฝนให้เป็นวิทยากรที่ศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตร ห้วยซอน-ห้วยซั้ว หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสอนผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อช่วยเกษตรกรเพิ่มผลผลิตโดยการปรับปรุงเทคนิคการผลิตพืชผล เพื่อสร้างความมั่นใจด้านความมั่นคงด้านอาหารของชาติ ผ่านการทำฟาร์มที่สะอาดปลอดภัยและยั่งยืน สร้างศักยภาพการผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมและความทันสมัย และมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงเกษตรกร 3-5 คนในแต่ละหมู่บ้าน คาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมาย 60-70% ของเป้าหมายภายในปี 63 และ 100% ภายในปี 68 หากเกษตรกรรู้มากขึ้นเกี่ยวกับเทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพจะช่วยหนุนจำนวนหมู่บ้านเกษตรกรรมแบบจำลอง กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้รายงานในแผนพัฒนา 5 ปีจนถึงปี 68 ที่คาดว่าภาคส่วนนี้จะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 3.4% นี่หมายถึงว่าภาคส่วนนี้มีส่วนร่วมในเศรษฐกิจของประเทศถึง 19%

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/agriculture-ministry-bolsters-technical-skills-improve-farm-production-laos-102301

สปป.ลาว – เวียดนามตั้งเป้าการค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้น 15%

การค้าระหว่างสปป.ลาวและเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปี 62 แตะที่ 663.76 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นเกือบ 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงความสำคัญของการส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนและเพิ่มความร่วมมือทวิภาคีสำหรับการค้าชายแดนผ่านการลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าและมาตรการส่งเสริมการค้า นอกจากการหาวิธีเพิ่มการค้าระหว่างประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดแล้วทั้งสองฝ่ายยังมุ่งที่จะแก้ไขปัญหาที่บริษัทเวียดนามในสปป.ลาวเผชิญ โดยเฉพาะการนำเข้าปิโตรเลียม ในวันเดียวกันคณะผู้แทนเวียดนามได้พบกับผู้แทนกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ เพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการลงทุนในด้านพลังงานและเหมืองแร่ เพื่อหาวิธีส่งเสริมและกระชับมาตรการการลงทุนในพื้นที่ที่มีศักยภาพ เช่นไฟฟ้าพลังน้ำ ทั้งสองประเทศได้ตั้งเป้าหมายการค้าระหว่างประเทศไว้ที่ 4 พันล้านดอลลาร์ในปี 63 ตามข้อมูลระหว่างรัฐบาล สปป.ลาว – ​​เวียดนาม

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-vietnam-target-15-increase-bilateral-trade

ทางกัมพูชาเรียกร้องให้ผู้ประกอบการ SMEs จดทะเบียนใน CSX

รัฐบาลได้เรียกร้องให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่น (SMEs) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและขยายกิจการ โดยบริษัทที่ต้องการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์พวกเขาต้องดำเนินธุรกิจให้มีมาตรฐานตามกำหนด และจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกผู้ต้องการจดทะเบียนจะปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ เป้าหมายของรัฐฯคือต้องมีอย่างน้อย 80% ของ SMEs จะต้องจดทะเบียนอย่างเป็นทางการภายในปี 2568 และอย่างน้อย 50% ของ บริษัท เหล่านั้นต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและการบันทึกบัญชีที่เหมาะสม โดยในปัจจุบันกัมพูชามีผู้ประกอบการ SMEs ประมาณ 520,000 รายแต่มีเพียงประมาณ 150,000 รายที่ทำการจดทะเบียนในระบบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50635096/ministry-urges-smes-to-join-csx/

กัมพูชาและไทยกระชับความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว

การประชุมคณะผู้ทำงานด้านการท่องเที่ยวกัมพูชาและไทย ครั้งที่ 5 สรุปโดยจะทำงานร่วมกันเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ซึ่งจะร่วมมือกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS) โดยโปรแกรม VISA จะอนุญาตให้คนจากกลุ่มประเทศ CLMVT เดินทางโดยถือเพียง VISA เดียว ซึ่งทางภาคส่วนไทยได้ทำการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวรวมถึงการออกเที่ยวบินตรงจากจังหวัดทางภาคใต้ของไทยไปยังสีหนุวิลล์ในชายฝั่งกัมพูชา โดยตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่ามีนักท่องเที่ยวมาเยือนกัมพูชาถึง 3.3 ล้านคนในช่วงครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้นกว่า 11% ซึ่งนักท่องเที่ยวไทยเดินทางยังกัมพูชาเพิ่มขึ้น 9% ในช่วงครึ่งปีแรก และกัมพูชาคาดการณ์ว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวไทยได้ 4 แสนคนในปี 2562

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50635088/cambodia-thailand-to-strengthen-tourism-ties/

ยอดส่งออกเสื้อ CMP เพิ่มหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ

ตั้งแต่ 1 ต.ค. ของปีงบประมาณ 61-62 อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP (Cut – Make – Pack) มีรายรับมากกว่า 3.8 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อปีที่แล้วภาคการส่งออกมีกำไรมากกว่า 2.775 พันล้านเหรียญสหรัฐ รายรับจากการส่งออกเพิ่มขึ้นกว่า 1.037 พันล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม CMP อยู่ในอันดับต้น ๆ ของภาคการส่งออกทั้งหมด ในปี 61 มีรายได้เกือบ 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าในปี 67 จะมีรายรับสูงถึง 10 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปัจจุบันภาคเสื้อผ้า CMP มีรายได้ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เมียนมาจะมีรายได้สามพันล้านเหรียญสหรัฐหากสามารถเปลี่ยนจากระบบ CMP เป็นระบบ FOB ตามที่สมาคมผู้ประกอบการตัดเย็บเสื้อผ้าแห่งเมียนมา (MGEA) ได้ระบุ เมียนมาเริ่มระบบ CMP ในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมาตั้งแต่ปี 2533 ปัจจุบันมีมากกว่า 70 อุตสาหกรรมที่ทำงานภายใต้ระบบ CMP

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/export-earnings-from-cmp-garment-increase-by-one-billion-usd