อินเดียยืดเวลานำเข้าถั่วแระเมียนมา หนุนราคาพุ่งเป็น 2 เท่า !

ผู้ค้าในถั่วมัณฑะเลย์ เผย ราคาของถั่วแระเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาหลังจากข่าวการขยายเวลาการนำเข้าของอินเดียแพร่กระจายออกไป ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวของเดือนมีนาคม ราคาถั่วแระอยู่ที่ 6,800 จัตต่อ 3 ถุงตะกร้า หลังจากข่าวยืดเวลาการนำเข้า ราคาพุ่งขึ้นเป็น 135,000 จัตต่อถุง โดยอินเดียขยายระยะเวลาการนำเข้าจากเดือนตุลาคมเป็นธันวาคม 64 นอกจากนี้ ยังมีผลมาจากค่าเงินจัตที่อ่อนค่าและความต้องการที่ที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรพอใจกับราคาที่เพิ่มขึ้น โดยตลาดถั่วแระเมียนมาอาศัยอินเดียเป็นหลัก การปลูกถั่วแระส่วนใหญ่มักพบในตอนบนของภูมิภาค เช่น มะกเว มัณฑะเลย์ และซะไกง์ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้สภาพอากาศต้องเอื้ออำนวยจะทำให้ถั่วแระเติบโตและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-prices-double-on-extension-of-import-validity-period-by-india/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_B7qlq6wvmcQXIk4pOwFeaKVO9EufyEzJ3z4KoOpIf7o-1632320088-0-gqNtZGzNA5CjcnBszTAl#article-title

ญี่ปุ่นติดอันดับ 3 ของประเทศที่เมียนนาส่งออกสินค้า ในปีงบประมาณปัจจุบัน

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมาและหุ้นส่วนการพัฒนาของญี่ปุ่นมีมูลค่ามากกว่า 1.049 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน (2563-2564) และญี่ปุ่นถูกจัดให้เป็นคู่ค้าส่งออกรายใหญ่อันดับ 3 ของเมียนมา การส่งออกของเมียนมาร์ไปญี่ปุ่นในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) อยู่ที่ประมาณ 768 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ามีเพียง 281.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์จากทะเล ข้าว งาดำ ถั่วเขียว ยางและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในทางกลับกันด้านการนำเข้าจะเป็น เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ ยา รถยนต์ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขณะที่ปีงบประมาณนี้ มีบริษัทสามแห่งจากญี่ปุ่นได้รับการอนุมัติให้ลงทุนในประเทศเริ่มต้น 518 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งญี่ปุ่นมีสัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 34.7% ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/japan-ranks-myanmar-third-largest-export-country-this-fy/?__cf_chl_managed_tk__=pmd_6TWYMCUi3RM5JgxKjHymCjuLm_A_yPQOvBsl04lnqxE-1632277432-0-gqNtZGzNAvujcnBszRNl

เมียนมาส่งออกวูบ ขาดดุลการค้าสิงคโปร์ ในปีงบฯ 63-64

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมากับสิงคโปร์ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ2563-2564 อยู่ที่ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แบ่งเป็นการส่งออกกว่า 181.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้ากว่า 2.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมียนมามาขาดดุลการค้าอยู่ที่ 2.158 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณปัจจุบัน สิงคโปร์เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของเมียนมาร์ในภูมิภาค รองจากไทย  สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร รองเท้า สิ่งทอและเสื้อผ้า แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ขณะที่การนำเข้า ได้แก่ พลาสติก น้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าพาราสำเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภค โลหะ และเคมีภัณฑ์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-imports-surpass-exports-in-trade-with-singapore-this-fy/

เมียนมาส่งออกถั่วเนยไปแล้วกว่า 44,000 ตัน

กระทรวงพาณิชย์ เผย เมียนมาส่งออกถั่วเนยไปแล้วกว่า 44,109 ตันระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 ถึง 10 ก.ย. 64 ในปีงบประมาณ 2563-2564 สร้างรายได้กว่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาเนยถั่วอยู่ที่ 1,735-1,775 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) แม้ว่าความต้องการจากต่างประเทศจะจะลดลงจากการระบาดของโควิด-19 และความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ ปัจจุบันราคาเนยถั่วนตลาดมัณฑะเลย์มีมูลค่ากว่า 75,000 จัตต่อกระสอบ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด แต่ตอนนี้ต้องพึ่งตลาดภายในประเทศเป็นหลัก โดยปกติ จะส่งออกเนยถั่วเนยประมาณ 75% ไปยังตลาดญี่ปุ่น, จีน, เดนมาร์ก, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, ไต้หวัน และเวียดนาม โดยมีปริมาณการส่งออก 15,000-30,000 ตันต่อปี ทั้งนี้การเพาะปลูกถั่วเนยส่วนใหญ่อยู่ในเขตซะไกง์, พะโค, มะกเว, มัณฑะเลย์, อิรวดี, มอญ และตอนเหนือของรัฐฉาน โดยเขตมะกเว ให้ผลผลิตถั่วเนยที่มีคุณภาพดี และเป็นที่ต้องการของตลาดญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-44000-tonnes-of-butter-bean-as-of-10-september/#article-title

ส่งออกข้าวเมียนมาสร้างรายได้กว่า 642 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบฯ ปัจจุบัน

ข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา เผย รายได้จากการส่งออกข้าวและข้าวหักในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มุมูลค่าถึง 642.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณการส่งออก 1.2 ล้านตัน แม้การค้าชายแดนจะซบเซา แต่ราคายังคงที่ในตลาดส่งออกชายแดน จากข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่า ราคาข้าวขาวอยู่ในช่วง 375-405 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ข้าวเหนียวราคา 600-610 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และข้าวหักอยู่ที่ 300-335 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน  ในปีนี้ การส่งออกไปยุโรปลดลง อย่างไรก็ตาม ยังสามารถที่จะส่งออกไปจีนและบังคลาเทศได้ ราคาข้าวหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นตั้งแต่เดือนพ.ค. นอกจากนี้ มาตรการป้องกันแพร่ระบาดของ COVID-19 และภัยธรรมชาติส่งผลกระทบต่อราคา แต่คาดว่าจะยังคงทรงตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ส่วนข้าวคุณภาพสูงยังเป็นที่ต้องการในประเทศ ราคาจะอยู่ระหว่าง 36,000-68,000 จัตต่อถุง ส่วนข้าวคุณภาพต่ำมีราคาอยู่ระหว่าง 23,000 ถึง 28,800 จัตต่อถุง เมียนมากำหนดเป้าการส่งออกข้าวเพียง 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมใช้ทรัพยากรน้ำในภาคการเกษตร ทั้งนี้เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกข้าวในปีงบประมาณ 2562-2563 ซึ่งก่อนหน้าวันที่ 30 ก.ย.64 คาดว่าจะมีปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-export-registers-642-mln-this-fy/#article-title

ปีงบประมาณ 63-64 ไทยขึ้นแท่นคู่ค้าหลักของเมียนมา

จากข้อมูลขององค์การสถิติกลาง (Central Statistical Organization – CSO)  10 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 2563-2564 มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเมียนมา มีมูลค่า 4.117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามมาด้วยคู่ค้าสำคัญในภูมิภาค ได้แก่ สิงคโปร์และมาเลเซีย นอกจากนี้ การส่งออกส่วนใหญ่นอกจากไทยแล้วจีนถือเป็นคู่ค้านอกภูมิภาคที่สำคัญของเมียนมา ซึ่งการค้าระหว่างเมียนมาและไทยแบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่ากว่า 2.548 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามีมูลค่ากว่า 1.569 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากเขตตะนาวศรีส่งผลให้การค้าชายแดนกับไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่ผ่านมา และสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ประมง ถ่านหิน ดีบุกเข้มข้น (SN 71.58 เปอร์เซ็นต์) มะพร้าว (สดและแห้ง) ถั่ว ข้าวโพด หน่อไม้ งา เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน เช่น เครื่องจักร สินค้าอุตสาหกรรมดิบ เช่น ซีเมนต์และปุ๋ย และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น เครื่องสำอาง น้ำมันพืชที่รับประทานได้ และผลิตภัณฑ์อาหาร เมียนมามีการค้าขายชายแดนกับไทยผ่านพื้นที่ชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียวดี มะริด มอตอง ตีกี คอทุ่ง และเมเซ ตามลำดับ โดยเมียวดีเป็นชายแดนที่มูลค่าการค้าที่ใหญ่ที่สุด รองลงมาคือ ตีกี อย่างไรก็ตาม การค้าผ่านชายแดนซบเซาจากวิกฤตโควิด-19 ส่งผลให้การค้าทางบกลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/thailand-tops-among-trading-partners-in-regional-countries-this-fy/#article-title