ถนนเชื่อมมอญ-ตะนาวศรี ยกระดับคมนาคมขนส่งของประเทศ

กรมทางหลวง กระทรวงการก่อสร้างเมียนมา เผย ถนนสายหลักชื่อ Phayagyi-Mawlamyine-Dawei-Myeik-Bokpyin-Kawthoung ซึ่งเชื่อมระหว่างเขตตะนาวศรีและเขตมอญ ได้รับการยกระดับจากความพยายามอย่างต่อเนื่องของเมียนมา ที่ผ่านมาหลายทศวรรษเส้นทางนี้ต้องใช้เรือเร็วเท่านั้น ขณะนี้ถนนสามารถสายนี้สามารถย่นระยะเวลาการสัญจรให้สั้นลง โดยงานก่อสร้างถนนก็กำลังดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดการสะดุด ปัจจุบันคนในท้องถิ่นสามารถเดินทางไปยังเมืองทวาย มะริด และเกาะสองได้อย่างสะดวกง่ายดาย ในทางกลับกัน การพัฒนาและปรับปรุงถนนสามารถสามารถสร้างผลลัพธ์เชิงบวกทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในภาคการศึกษา สาธารณสุข และภาคธุรกิจ ของเมียนมา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/roads-linking-mon-taninthayi-upgraded-for-smoother-transportation/#article-title

ตั้งแต่ ก.ค. ถึง ส.ค.64 เมียนมาไฟเขียวให้ต่างชาติลงทุนเพียงรายเดียว รวมมูลค่า 5 ล้านเดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) ระหว่างเดือนก.ค. – ส.ค. 2564 เมียนมาอนุญาตให้มีการลงทุนจากต่างประเทศเพียง 1 ราย ในภาคการผลิตเพียง 5.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564 เมียนมาร์อนุญาตการลงทุนจากต่างประเทศเพียง 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐในภาคการผลิต ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 มีการลงทุนจากต่างประเทศมากกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวม 45 โครงการ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคพลังงาน มากกว่า 80% ด้วยเงินลงทุนรวม 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ภาคเกษตรมีการลงทุนใน 2 โครงการ มูลค่าเกือบ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคปศุสัตว์และประมงจำนวน 6 โครงการ มูลค่ากว่า 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคการผลิตจำนวน 24 โครงการมูลค่ากว่า 262 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ธุรกิจโรงแรมและการท่องเทียวมีมูลค่าการลงทุนกว่า 81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ธุรกิจที่ลงทุนในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมมูลค่ากว่า 28 ล้านเดอลลาร์สหรัฐฯ การลงทุนในภาคบริการจำนวน 5 โครงการมูลค่ากว่า 103 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้านการขนส่งและการสื่อสารมีการลงทุนมากกว่า 133 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับอนุมัติการลงทุนมากกว่า 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2531-2532 จนถึงสิ้นเดือนก.ค. 2564 เมียนมาอนุญาตให้มีการลงทุนจากต่างประเทศไปแล้วมากกว่า 91,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/215851

เมืองดาหลา เร่งปูพรมฉีดวัคซีนให้แรงงานในโรงงาน

เทศบาลเมืองดาหลา เขตย่างกุ้ง เริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกให้กับคนงานในโรงงานเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2564 ณ โรงพยาบาลประจำเทศบาล โดยเริ่มฉีดครั้งแรกแก่คนงานจำนวน 352 คนจากร้านอาหาร ร้านขายของชำ ท่าเรือ ธุรกิจออมทรัพย์และสินเชื่อ สถานีน้ำมันเชื้อเพลิง คลังประมง โรงสีข้าว คนงานค่าแรงจากสำนักงานไฟฟ้า สามล้อถีบ และอู่ต่อเรือ ซึ่งการวัคซีนที่ฉีดต้องสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับโควิด-19 ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมืองดาหลาได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครั้งแรกแก่ประชาชนจำนวน 5,319 คน ทั้งนี้คณะกรรมการเขตว่าด้วยการควบคุมและรับมือเหตุฉุกเฉินจากโควิด-19 กำลังเร่งจัดหาวัคซีนเข็มที่ 2 ให้กับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dala-begins-covid-19-jabs-for-factory-workers/

พาณิชย์เมียนมา เผย นำเข้าลดฮวบเหลือ 13.4 พันล้านดอลลาร์ในปีงบฯ ปัจจุบัน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการนำเข้าของเมียนมาในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 63-64 ลดลงเหลือ 13.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 17.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีงบประมาณก่อน โดยการนำเข้าแบ่งเป็นสินค้าทุน เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องจักร เหล็กกล้า ฯลฯ มีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 4.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่ำกว่าปีงบประมาณก่อน 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะเดียวกัน สินค้าอุปโภคบริโภคมีมูลค่ากว่า 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงยา เครื่องสำอาง และน้ำมันปาล์ม ลดลงเล็กน้อย 82.7 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ส่วนสินค้าขั้นกลางเป็นสินค้านำเข้าเป็นอันดับสองของเมียนมา ปีนี้มีการนำเข้าวัตถุดิบลดลง เป็น 4.65 พันล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 5.79 พันล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งวัตถุดิบมูลค่ากว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า Cut-Make-Pack (CMP) ลดลงจากปีงบประมาณก่อน 584 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 10 อันดับประเทศที่เมียนมานำเข้ามากที่สุด ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/14-september-2021/#article-title

‘HSBC’ ชี้เวียดนามคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจในด้านการลงทุน

ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ได้เปิดเผยสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคในเดือนกันยายน 2564 ว่าตลาดเวียดนามจะยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดของนักลงทุนต่างชาติในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจเวียดนาม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ทั้งนี้ สมาคมเครื่องหนังรองเท้าและกระเป๋าถือของเวียดนาม (LEFASO) ระบุว่าผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากกว่า 30% ระงับการผลิต ส่งผลให้ยอดการส่งออกเสื้อผ้าในเดือนสิงหาคมลดลง 4.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ว่ายอดการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วน พุ่งสูงขึ้นอย่างมากในเดือนสิงหาคม อัตราการเติบโต 11% ต่อปี ในขณะที่ยอดการส่งออกคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลดลง 12% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าเวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้น ธนาคารเอชเอสบีซีมองว่าเวียดนามคงเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากเวียดนามมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-continues-to-be-attractive-investment-destination-hsbc-889966.vov

เมียนมาเปิดด่านทิกิ ด่านมุต่อง กลับมาค้าขายได้ปกติ

ด่านตีกีและด่านมุต่อง ชายแดนเมียนมา-ไทย ได้รับอนุญาตให้เปิดกลับมาค้าขายได้ปกติอีกครั้ง ก่อนหน้สการค้าระหว่างเมียนมาและไทยถูกปิดชั่วคราวเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนจนถึงสิ้นเดือนส.ค.64 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งด่านชายแดนเหล่านี้ตั้งอยู่ในเขตตะนาวศรี สินค้าที่ส่งออกไปยังไทยผ่านชายแดนทั้ง 2 ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งปัจจุบัน รถบรรทุกวิ่งผ่านได้แต่พนักงานขับรถต้องได้รับการตรวจ COVID-19 แล้วเท่านั้น และตู้คอนเทนเนอร์รวมถึงห้องเย็นต้องดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขของเมียนมา ทั้งนี้ไทยถือเป็นผู้นำดข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำรายใหญ่ เมื่อปีงบประมาณที่แล้ว เมียนมาส่งสินค้าประมงมูลค่า 318 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังไทย ในขณะที่การส่งออกการประมงรวมอยู่ที่ 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/hteekhee-mawtaung-border-crossings-return-to-normal/#article-title

ต้นทุนปลูกพริกพุ่งขึ้น ! ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกลดฮวบเกือบครึ่ง

สมาคมตลาดค้าพริกเและการพัฒนาทางเทคนิคของเมียนมา เผย ปีนี้พื้นที่เพาะปลูกพริกลดลงครึ่งหนึ่งเนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อความต้องการพริก เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ และข้อจำกัดในการถอนเงินสดจากธนาคารในเมียนมา ทำให้พื้นที่เพาะปลูกพริกลดลง 50% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากราคาปุ๋ยและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงซึ่งสร้างกังวลสำหรับผู้เพาะปลูก อีกทั้งยังมีการปิดด่านชายแดนมูเซ ของจีน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 ซึ่งเป็นด่านชายแดนหลักของประเทศ ทำให้เมียนมาหันไปส่งออกไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดีแทน ขณะที่ราคาพริกในปีนี้เหลือเพียง 1,300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ขณะที่ปีที่แล้วทำสถิติสูงถึง 5,000-6,000 จัตต่อ viss โดยพริกขี้หนูสดถูกส่งออกไปยังเวียดนามผ่านทางเรือ และส่งออกไปยังจีนและไทยผ่านชายแดนเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/rising-input-costs-drop-half-chilli-cultivation-acres/#article-title