แก้วมังกรราคาดี สร้างรายได้งาม ให้เกษตรกร ตำบลงาเพ

ผลแก้วมังกรที่ปลูกในหมู่บ้านปิ่นอู ตำบลงะแพ อำเภอมี่นบู้ เขตมะกเว ด้วยระบบน้ำชลประทานให้ผลผลิตสูงเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งทำรายได้ให้กับครัวเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เกษตรกรเริ่มปลูกแก้วมังกรในเดือนม.ค.2560 แก้วมังกรมีอายุมากกว่าห้าปี ออกผลภายหลังการปลูก 6 เดือน ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูก สามารถเก็บเกี่ยวถึงเจ็ดครั้งต่อปี เมื่อปีที่ผ่านมามีผลผลิตแก้วมังกรประมาณ 10,000 ลูกส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังเขตมะกเว และย่างกุ้ง ราคาจะอยู่ในช่วง 400 – 750 จัต สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกตรกร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dragon-fruit-selling-well-in-ngaphe-township/

ค้าชายแดนเมียนมา-อินเดียพุ่ง 111.94 ล้านดอลลาร์ฯ

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 2 ก.ค.64 ของปีงบประมาณ 63-64  มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาร์และอินเดียพุ่งขึ้นเป็น 193.2 ล้านดอลลาร์ แม้อินเดียจะยกระดับคุมเข้มการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดน เพิ่มขึ้น 111.94 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมียนมาทำการค้าชายแดนกับอินเดียผ่านชายแดนตามู, ชายแดน Reed และชายแดนทันท์ลอง ในช่วงเก้าเดือนที่ผ่านมา มูลค่าการค้ามีการจดทะเบียนมากกว่า 32.39 ล้านดอลลาร์ผ่านชายแดนตามู และ 160.8 ล้านดอลลาร์ผ่านชายแดนReed แต่ชายแดนทันท์ลองไม่มีการบันทึกข้อมูล เมียนมาส่งออกถั่วเขียว ถั่วลันเตา ถั่วเขียว ถั่วลันเตา ขิง หญ้าฝรั่น ขมิ้น ใบกระวาน ผลิตภัณฑ์ประมง ผลไม้ และผักไปยังอินเดีย ขณะที่นำเข้าจะเป็น ยา เค้ก น้ำมัน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ เหล็ก และอุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องจักร และวัสดุก่อสร้าง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-border-trade-up-by-111-94-mln-as-of-2-july/

ความต้องการถั่วหัวช้างยังโตต่อเนื่อง หนุนราคาพุ่ง

ราคาถั่วหัวช้างอยู่ในช่วงขาขึ้นเพราะความต้องการในประเทศเพิ่มอย่างต่อเนื่องในเดือนก.ค. เพิ่มเป็น 100,000 จัตต่อถุง จากผลลิตที่ลดลงในปีนี้ ปัจจุบันราคาขยับอยู่ในช่วง 92,000-100,000 จัตต่อถุงขึ้นอยู่กับพันธุ์ ขณะที่เดือนก่อนราคาจะอยู่ที่ 93,000 จัตต่อถุง ราคามักจะผันผวนขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน เมื่อทำการขนขึ้นเรือ ราคาก็จะสูงขึ้นด้วย ปีที่ผ่านมาเมียนมาส่งออกถั่วหัวช้างไปยังอินเดีย ปากีสถาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี และตลาดอื่นๆ ส่วนการเพาปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ พะโค ซากาย และอิรวดี และเนปิดอว์ โดยมีพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศประมาณ 890,000 เอเคอร์ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ระบุ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 25 มิ.ย.64 ของปีงบประมาณ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วหัวช้างมากกว่า 23,675 ตันถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้มากกว่า 13.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – KK/GNLM

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/strong-domestic-demand-drives-chickpea-price-up/

7 เดือนแรกของปีงบฯ 63-54 เมียนมานำเข้ายา 303.53 ล้านดอลลาร์ฯ

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา 7 เดือนเรกชองปีงบประมาณ 63-64 (ต.ค.63-เม.ย.64) มูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาอยู่ที่ประมาณ 303.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมียนมานำเข้ายาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ร้อยละ 90 จากตลาดต่างประเทศ อินเดียเป็นซัพพลายเออร์หลักสำหรับเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังนำเข้าจากบังคลาเทศ จีน เยอรมนี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม การค้ากลับสู่ภาวะปกติหลังจากการตื่นตระหนกในช่วงการระบาดของโควิด-19 ปัจจุบันมีการนำเข้ายาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาของยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น อีกทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 มีความจำเป็นอย่างมากท่ามกลางการระบาดที่เพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้ตัดระเบียบราชการออกเพื่อนำเข้ายาบางชนิดเข้ามาก่อน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pharmaceutical-imports-top-303-53-mln-in-seven-months/

ราคายางพุ่งต่อเนื่อง ทะลุ 900 จัตต่อปอนด์

จากข้อมูลของคลังสินค้า Mawlamyine Commodity Depot ราคายางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 900 จัตต่อปอนด์ ยางธรรมชาติราคาอยู่ที่ 710 จัตต่อปอนด์ ในขณะที่ยางแผ่นรมควัน (RSS) แตะที่ 720 จัตต่อปอนด์ในปลายเดือนมกราคม 64 แต่ปัจจุบันยางธรรมชาติได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 930 จัตต่อปอนด์ และ 940 จัตต่อปอนด์สำหรับยางแผ่นรมควัน (RSS) ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าราคายางสูงขึ้นเนื่องจากการผลิตลดลงในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวในเดือนมิ.ย.- ส.ค.63 นี่คือสาเหตุที่ราคายางมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวปีนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคายางสูงขึ้นในปีนี้คือการนำไปผลิตถุงมือยางเพื่อป้องกัน COVID-19 ปัจจุบันความต้องการยางจากจีนและไทยยังมีอย่างต่อเนื่อง ด้านการเพาะปลูกพบว่าในปี 63 รัฐมอญมีพื้นที่เพาะปลูกยางที่ใหญ่ที่สุดโดยสามารถผลิตยางได้กว่า 240 ล้านปอนด์ จากข้อมูลปี 61-62 เมียนมามีพื้นที่สวนยางมากกว่า 1.628 ล้านเอเคอร์ โดยรัฐมอญมีพื้นที่ 497,153 เอเคอร์ รองลงมาคือเขตตะนาวศรี 348,344 เอเคอร์ และรัฐกะเหรี่ยง 270,760 เอเคอร์ โดยการผลิตยางประมาณ 300,000 ตัน ร้อยละ 70 ถูกส่งออกไปจีน และในทุกๆ ปีเมียนมาส่งออกยางดิบกว่า 200,000 ตันสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-stays-on-rise-hit-over-k900-per-pound/

7 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกเมล็ดงาพุ่ง 287.75 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ

กรมศุลกากรเมียนมา เผย 7 เดือนแรก (ตุลาคม-เมษายน) ของปีงบประมาณปัจจุบัน 63-64 ส่งออกเมล็ดงา 287.75 ล้านดอลลาร์ ในวันที่ 8 ก.ค.64 ราคาส่งออกลดลงเหลือ 130,000-148,000 จัตต่อถุง เนื่องจากเงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิ.ย.64 ราคาจะอยู่ที่ 135,000-160,000 จัตต่อถุง ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกเมล็ดงานไปต่างประเทศถึงร้อยละ 80 มีจีนเป็นคู่ค้าหลักและกระจายไปตลาดอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ กรีซ โปแลนด์ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ส่วนการปลูกงาเขตมะกเวเป็นแหล่งปลูกเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ และยังมีบางส่วนที่เปลูกในเขตมัณฑะเลย์และเขตซะไกง์ สำหรับพืชน้ำมันสำหรับประกอบอาหาร เมล็ดงานมีพื้นที่เพาะปลูกสูงสุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด จากสถิติการส่งออกงาของเมียนมา ในปีงบประมาณ 58-59 มีการส่งออกมากกว่า 96,000 ตัน มูลค่า 130 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 59-60 อยู่ที่ 100,000 ตัน มูลค่า 145 ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 60-61 อยู่ที่ 120,000 ตัน มูลค่า ล้านเดอลลาร์สหรัฐ ปีงบฯ 61-62 อยู่ที่ 125,800 ตัน มูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปีงบฯ 62-63 มีการส่งออกมากกว่า 150,000 ตัน มูลค่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sesame-seeds-export-tops-us287-75-mln-in-seven-months/