‘เมียนมา’ เผยราคาน้ำมันออกเทน 92 ดีดตัวขึ้น 2,000 จ๊าตต่อลิตร

ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 92 กลับมาดีดขึ้นที่ 2,015 จ๊าตต่อลิตรในเมื่อวันที่ 10 ต.ค. หลังจากราคาน้ำมันร่วงลง 5 วันติดต่อกัน ในขณะที่ราคาเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ 2,115 จ๊าตต่อลิตร และราคาดีเซล 2,310 จ๊าตต่อลิตร ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับการนำเข้า การจัดเก็บและการจำหน่ายเชื้อเพลิง ระบุว่าดัชนีราคากำหนดโดยราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย (MOPS) ซึ่งเป็นพื้นฐานในการกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีอิทธิพลต่อราคาเชื้อเพลิงในประเทศ นอกจากนี้ เมื่อเดือน ส.ค. 2565 พบว่าราคาน้ำมันแตะระดับสูงสุดที่ 2,605 จ๊าตต่อลิตร และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 อยู่ที่ 2,670 จ๊าตต่อลิตร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/octane-92-price-rebounds-to-over-k2000-per-litre/#article-title

ราคาน้ำมันเบนซินในกัมพูชาลดลง 250 เรียลต่อลิตร

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา (MoC) ประกาศราคาน้ำมันเบนซินในช่วงสัปดาห์นี้ ลดลง 250 เรียลต่อลิตร อยู่ที่มูลค่า 4,300 เรียลต่อลิตร ขณะที่น้ำมันดีเซล ลดลง 200 เรียลต่อลิตร อยู่ที่ 4,650 เรียลต่อลิตร ซึ่งได้ประกาศราคาไว้สำหรับช่วงวันที่ 11-21 ตุลาคม 2023 ด้าน Pen Sovicheat โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเสริมว่า พลังงานเชื้อเพลิงโดยส่วนใหญ่ของกัมพูชานำเข้ามาจากสิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในกัมพูชา ได้แก่ Tela Sokimex, Papa Savimex, Lim Long และบริษัทต่างชาติอื่นๆ ด้านผู้นำเข้าเชื้อเพลิงรายสำคัญของกัมพูชา ได้แก่ Total, Caltex และ PTT โดยกระทรวงพาณิชย์จะประกาศราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในทุกๆ 10 วัน เพื่อให้ทันต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501374895/gasoline-prices-down-250-riel-per-litre/

“เมียนมา” เผยราคาเชื้อเพลิงในประเทศ พุ่ง 2,000 จ๊าดต่อลิตร

คณะกรรมการกำกับการนำเข้า การจัดเก็บและการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเมียนมา รายงานว่าราคาน้ำมันเตาในประเทศ (ดีเซลและออกเทน 92) ขยับเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 2,000 จ๊าดต่อลิตร โดยราคาเชื้อเพลิงในประเทศถูกกำหนดมาจากราคาน้ำมันเบนซินอ้างอิงราคากลางของเอเชีย (MOPS) ซึ่งเป็นที่กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลในเดือน สิ.ค. 65 พบว่าราคาน้ำมันออกเทน 92 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 2,605 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันออกเทน 95 และดีเซล ขยับเพิ่มสูงขึ้นแตะ 2,670 จ๊าดต่อลิตร และ 3,245 จ๊าดต่อลิตร ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-honey-exports-exceed-330-tonnes-in-may/#article-title

พลังงานเผยช่วง 4 ด.ใช้น้ำมัน/วันเพิ่ม 3.1%

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รอบ 4 เดือน ของปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 158.86 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.1 และคาดว่าในครึ่งปีหลัง การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศอย่างเห็นได้ชัด โดยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม – เมษายน ของน้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยอยู่ที่ 31.86 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.8 การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ 74.63 ล้านลิตร/วัน ลดลงร้อยละ 3.4 เนื่องจากเดือนเมษายน 2565 มีการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็วสูงเนื่องจากการคลายความกังวลของประชาชนจากการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COIVD-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลต่อการเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 13.89 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 92.4 ตามมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวของหลายประเทศ การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 17.18 ล้าน กก./วัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 3.3 การใช้ NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.50 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.4 ในส่วนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ปริมาณการนำเข้ารวม เฉลี่ยอยู่ที่ 1,098,731 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.9 และการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป ปริมาณส่งออกรวม อยู่ที่ 151,539 บาร์เรล/วัน ลดลงร้อยละ 2.6 คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 15,164 ล้านบาท/เดือน ขณะที่ การคาดการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงปี 2566 คาดว่า น้ำมันกลุ่มเบนซินปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 น้ำมันกลุ่มดีเซลปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 น้ำมันเตาปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และ LPG ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 โดยการคาดการณ์ของกรมสอดคล้องกับการคาดการณ์ของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคาดการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ปี 2566 ทุกชนิดจะกลับมาใกล้เคียงกับในปี 2562 ยกเว้นน้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เนื่องจากหลายประเทศยังคงมาตรการจำกัดการเดินทาง ประกอบกับสายการบินอยู่ระหว่างการฟื้นฟู

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_563394/

ปี 2565 สปป.ลาว นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงจากเวียดนาม พุ่งไปถึง 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของ AEC CONNECT พบว่าในปีที่ผ่านมาการนำเข้าเชื้อเพลิงของสปป.ลาวจากเวียดนามเพิ่มขึ้น 439% มีมูลค่า 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนการส่งออกจากสปป.ลาวไปเวียดนามเพิ่มขึ้น 34.6% มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าขั้นต้น เช่น ไม้ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และยางมะตอย   เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา Economic Intelligence Center ของธนาคารไทยพาณิชย์ ประเทศไทย ได้คาดการณ์ว่าสปป.ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเมียนมา ในปี 2566 เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น    โดยที่ผ่านมา สปป.ลาว  ได้นำเข้าเชื้อเพลิงจากไทยเป็นหลัก  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวว่า สปป.ลาว จะนำเข้าเชื้อเพลิงจากไทยเท่านั้นอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ  ในทางกลับกัน สื่อท้องถิ่นรายงานว่าเนื่องจากการอ่อนค่าของเงินกีบ และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และราคาน้ำมันมีความผันผวน จึงกลายเป็นเรื่องท้าทายสำหรับผู้นำเข้าเชื้อเพลิงในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ

ที่มา: https://laotiantimes.com/2023/02/10/laos-fuel-imports-from-vietnam-reaches-over-usd-120-million-in-2022/