ผลสำรวจของเวิลแบงค์ COVID-19 รอบสองในเมียนมาส่งผลกระทบรุนแรงกว่าครั้งแรก

การสำรวจล่าสุดของธนาคารโลกซึ่งเป็นครั้งที่ 4 จาก 8 ชุดที่ได้วางแผนไว้ โดยสำรวจในเดือนกันยายนและครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของธุรกิจในประเทศ 500 ตัวอย่าง ร้อยละ 66 พบว่าไม่มีความพร้อมในการรับมือและธุรกิจการเกษตรขนาดเล็กและขนาดเล็กมีความพร้อมน้อยที่สุด ร้อยละ 83 ได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75 ของเดือนสิงหาคม บริษัททุกขนาดประสบปัญหาปิดตัวชั่วคราวเพิ่มขึ้นในเดือนกันยายนหลังจากที่รัฐบาลออกคำสั่งห้ามออกจากที่พักสำหรับธุรกิจในย่างกุ้ง ส่วนภาคเกษตรกรรมมีการปิดกิจการเพิ่มขึ้น ยอดขายที่ลดลงยังเป็นที่น่ากังวลสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจากการสำรวจจพบว่า ยอดขายลดลงร้อยละ 93 ในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากเดือนสิงหาคม อีกทั้งปัญหาด้านเงินทุนจะส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้นในเดือนกันยายน มีบริษัทจำนวนมากขึ้นที่ยื่นฟ้องล้มละลายและปลดคนงานออกรวมถึงมีปัญหาด้านการชำระสินเชื่อตามมา จากรายงานยังพบว่าธุรกิจการเกษตรเกือบครึ่งหนึ่งและหนึ่งในสามของบริษัทค้าปลีกและค้าส่งมีแนวโน้มว่าในอีกสามเดือนข้างหน้าจะเริ่มมีการค้างการชำระสินเชื่อ การระบาดของ COVID-19 รอบสองในเมียนมา มีผลให้บริษัทต่างๆ มีความมั่นใจน้อยลงในการเปิดกิจการต่อเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/covid-19-second-wave-more-severe-local-firms-first.html

เวิลด์แบงก์ชี้เศรษฐกิจปี 63 เมียนมาขยายตัว 6.6%

จากข้อมูลของธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจปี 63 ขยายตัว 6.6 สูงกว่าที่ตั้งไว้ 6.5% คาดจะเพิ่มขึ้น 6.7 % ในปี 64 และ 6.8 % ในปี 65 การเติบโตในปี 2020 จะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในภาคการผลิต ประกันภัย และการก่อสร้าง การชะลอตัวจาก 6.8% ในปี 61 เป็น 6.5% ในปี 62 เกิดจากการลดลงของภาคบริการและอัตราเงินเฟ้อที่สูง อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับความเสี่ยงขาลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ภัยธรรมชาติที่มีผลต่อภาคการเกษตร ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงวิกฤติยะไข่ที่ยังไม่คลี่คลายและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลเชื่อว่าสามารถทำให้ภาคการเงินของมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง โดยนโยบายการเงินและการคลังจะมีประสิทธิภาพเพราะมีเครื่องมือทางการเงินที่ดี การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 58 จาก 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 5.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 61 โดยมีโอกาสที่จะฟื้นตัวในปีนี้ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนส่งผลกระทบน้อย ดังนั้นหลายธุรกิจจึงเรียกร้องให้รัฐบาลใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ เช่น มาตรการเพื่อดึงดูดผู้ผลิตต่างประเทศให้ย้ายฐานการผลิตสู่เมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-grow-66-2020-world-bank.html