“เวียดนาม” ปรับประมาณการจีดีพี Q3/65 โต 7%

แหล่งข่าวระบุว่ารัฐบาลได้แถลงการณ์ประชุมเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา กล่าวว่าเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ที่ระดับเหนือกว่า 7% จากการแถลงการณ์ของรัฐบาลชี้ว่ารัฐบาลสามารถรักษาเสียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมได้จนถึงสิ้นปีนี้ ท่ามกลางความไม่แน่นอนของโลก ทั้งนี้ GDP ของเวียดนามในไตรมาส 2/2565 ขยายตัว 7.72% จากไตรมาสแรกที่ขยายตัว 5.05%

ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/business/vietnam-q3-gdp-growth-seen-above-7-government-2932871

“เวียดนาม” คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ปี 65

มูดี้ส์ อนาไลติคส์ (Moody’s Analytics) ได้คาดการณ์ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2565 ขยายตัว 8.5% ซึ่งสูงที่สุดในบรรดาประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและมีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มุมมองของฝ่ายนักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นถึงการกลับมาฟื้นตัวอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงต้นปี ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมและการส่งออกดีขึ้น จากการเข้ามาลงทุนโดยจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง (FDI) ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ได้เตือนถึงอุปสรรคของกลุ่มประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงการเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่คาดไม่ถึง ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าและบริการชะลอตัว รวมถึงที่อยู่อาศัย

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11793402-vietnam-forecast-to-reach-highest-gdp-growth-in-asia-pacific-in-2022.html

สถาบัน CIEM ชี้ทิศทางเศรษฐกิจเวียดนาม ปี 2565

สถาบัน Central Institute for Economic Management (CIEM) ได้แถลงเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจเวียดนามในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามในปีนี้จะขยายตัวสูงถึง 6.9% ในกรณีฉากทัศน์ที่ดี (Best Case Scenario) ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้ที่ 7% ในปีนี้ ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อเฉลี่ยจะอยู่ที่ 3.7% ตลอดจนการส่งออกขยายตัว 16.3% และดุลการค้าราว 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สถาบัน CIEM ระบุว่ายังมีปัจจัยหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจเวียดนามในช่วงครึ่งหลังของปี อาทิ ความสามารถในการป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 สายพันธ์ใหม่และโรคอื่นๆ การดำเนินงานตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยอื่นๆ เช่น ผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามลงนามไว้และการจัดการความเสี่ยงทางด้านการค้าและเทคโนโลยีกับประเทศมหาอำนาจของโลก

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/ciem-provides-two-scenarios-for-vietnam-s-economic-growth-this-year-2040431.html

“เวียดนาม” ตั้งเป้า GDP ปีนี้ โต 6.5%

คุณ เหงียน ถิ เฮือง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) กล่าวว่าเวียดนามตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2565 ไว้ที่ 6.5% ถือว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่สำหรับเวียดนาม เนื่องจากยังคงเผชิญกับอุปสรรคจากภาคการผลิตและการดำเนินธุรกิจ รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก นอกจากนี้ ราคาเชื้อเพลิง วัตถุดิบ การขนส่งและค่าบริการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตและธุรกิจเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการผลิตและห่วงโซ่อุปทานทั้งในประเทศและทั่วโลก ในขณะที่ธุรกิจ SMEs ได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งรักษาระดับการผลิตและแสวงหาตลาดใหม่ไปพร้อมกัน ทั้งนี้ สำนักงานสถิติฯ เรียกร้องให้รัฐบาลใช้มาตรการตรึงราคาน้ำมันและช่วยเหลือธุรกิจที่ใช้น้ำมันและก๊าซ ประกอบกับติดตามสถานการณ์โลกอย่างใกล้ชิด เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างทันท่วงที

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/growth-target-of-65-percent-poses-big-challenge-to-vietnam-gso/233426.vnp

“เวียดนาม” ตั้งเป้าศก.โต 7% ปีนี้

นาย Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ กล่าวในที่ประชุมของรัฐบาลว่าเวียดนามตั้งเป้าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 7% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายตัว 6-6.5% เพื่อให้บรรลุตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสที่ 3 จะต้องขยายตัว 9% และในไตรมาสที่ 4 (6.3%) และเวียดนามเกินดุลงบประมาณ ทำให้นโยบายการคลังช่วยภาคธุรกิจและผู้อยู่อาศัย ทั้งนี้ สถาบันสินเชื่อจะต้องปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเติม เพื่อลดแรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตแก่กิจการและเศรษฐกิจ

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/Vietnam-targets-7-GDP-growth-this-year-investment-minister-says

“เวียดนาม” โอกาสก้าวแทนที่จีน ขึ้นแท่นโรงงานของโลกในอนาคตอันใกล้

ตามรายงานของ Global Times ระบุว่าการกลับมาแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในพื้นที่มณฑลกวางตุ้งและเซี่ยงไฮ้ ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก และยังเปิดโอกาสแก่เวียดนามที่จะได้รับผลประโยชน์จากการย้ายการลงทุน สาเหตุสำคัญมาจากค่าจ้างแรงงาน ค่าที่ดิน ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของโรงงานและคลังสินค้าที่มีราคาและต้นทุนที่ถูก ตลอดจนตัวเลขเศรษฐกิจของเวียดนามในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ขยายตัว 5.03% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แซงหน้าประเทศจีนที่ขยายตัวเพียง 4.8% นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติมีแนวโน้มที่จะทยอยเงินทุนไปยังตลาดเวียดนามมากขึ้น

ที่มา : https://www.aninews.in/news/world/asia/vietnam-may-replace-china-as-factory-of-the-world-in-near-future20220625133010/

“ศก.เวียดนาม” กลับมาฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เปิดเผยว่าภาคการท่องเที่ยวกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง จะกระตุ้นความต้องการซื้อสินค้าและการบริโภค ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มสดใสขึ้น เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต การกลับมาของแรงงานและรายได้ที่สูงขึ้น รวมถึงประชากรที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรค่อนข้างสูง กระทรวงฯยังกล่าวเสริมว่าทางหน่วยงานยังต้องติดตามในเรื่องของอุปสงค์และอุปทานอย่างใกล้ชิด การควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการกักตุนและการเก็งกำไร เป็นต้น นอกจากนี้ รายได้จากการค้าปลีกและบริการในเดือนพ.ค. อยู่ที่ 20.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/domestic-shopping-demand-predicted-to-strongly-rebound/231338.vnp

“เวิลด์แบงก์” มองศก.เวียดนามฟื้นตัวได้แข็งแกร่ง แม้เผชิญความไม่แน่นอนทั่วโลก

รายงานฉบับเดือนมิ.ย. ของธนาคารโลก (World Bank) แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจเวียดนามยังคงฟื้นตัวได้แข็งแกร่ง แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนทั่วโลก จากความขัดแย้งที่ยืดเยื้อในยูเครนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้นและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่เกิดจากการล็อกดาวน์ในประเทศจีน ทั้งนี้ ตามรายงานดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง 10.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ยอดค้าปลีก ขยายตัว 22.6% ต่อปี ซึ่งบ่งชี้ว่าการบริโภคของภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง แต่อย่างไรก็ดี การส่งออกกลับชะลอตัวจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นทั่วโลก นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่สี่ ขณะที่การเบิกจ่าย FDI มีแนวโน้มขยายตัวเป็นเดือนที่ 6

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-economic-recovery-remains-strong-despite-global-uncertainties-wb-post950062.vov

‘เวียดนาม’ ชี้ไตรมาส 3 เศรษฐกิจส่งสัญญาปัญหาเงินเฟ้อ

Trần Toàn Thắng หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและวิเคราห์เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เป็นสถานการณ์ความตึงเครียดมากที่สุดในการรับมือปัญหาเงินเฟ้อ ภายในงานเสวนาเศรษฐกิจเวียดนามแห่งปี 2022 ซึ่งจากรายงานได้เน้นย้ำถึงกระบวนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม แต่ต้องเผชิญกับแรงกดดันกับปัญหาต่างๆ ในปีนี้ แรงกดดันเงินเฟ้อและต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้แล้ว ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย ถือได้ว่าสร้างผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจเวียดนามอีกด้วย ตลอดจนการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างประเทศจีนที่คงเข็มงวดนโยบาย “Zero COVID” กลายเป็นแรงกดดันต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามและส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1194073/q3-set-to-be-tough-period-for-inflation.html

สงครามรัสเซีย-ยูเครน สะเทือนเศรษฐกิจเวียดนาม

ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการจัดหาเชื้อเพลิงและวัตถุดิบของเวียดนามและยังผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ห่วงโซ่อุปทานของภาคการผลิตหยุดชะงัก จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกยังไม่ได้สิ้นสุด กิจการของเวียดนามต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านเชื้อเพลิงและวัตถุดิบสำหรับการผลิต เหตุจากสงครามดังกล่าว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเวียดนามประสบปัญหาในการนำเข้าสินค้าบางรายการจากประเทศรัสเซียและส่งออกสินค้าไปยังรัสเซียและยูเครน ในขณะเดียวกันเผิชญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากการสั่งซื้อวัตถุดิบจากตลาดอื่นๆ โดยวิกฤติดังกล่าว เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกสูงขึ้น ผลผลิตและส่วนแบ่งการตลาดด้านการส่งออกเชื้อเพลิงและวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริโภค อาทิ ปิโตรเลียม ข้าวสาลี เป็นต้น ของรัสเซียและยูเครนมีขนาดใหญ่มาก

ที่มา : https://english.news.cn/europe/20220507/8d424defc5704109be27085d1e3cae91/c.html