ถ้ำเขาลาวจะเปิดอีกครั้งหลังจากสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเสร็จ

ถ้ำเขาลาวในหมู่บ้านน้ำอิง จังหวัดหลวงน้ำทาจะเปิดให้บริการอีกครั้งในปลายปีหลังจากถูกปิดเป็นเวลา 5 เดือนเพื่อให้สามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวได้ โดยทำการติดตั้งทางเดินและแสงสว่างภายในถ้ำ และยังมีศูนย์ข้อมูลร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกและห้องจัดแสดงศิลปะ ซึ่งถ้ำแห่งนี้อยู่ห่างจากเมืองหลักในเขตเวียงภูคาประมาณ 12 กม. และมีทางเข้าออกที่สะดวกสบาย เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาว โดยจังหวัดนี้มีโรงแรม 10 แห่ง ,รีสอร์ท 95 แห่ง ร้านอาหาร 178 แห่งและสถานบันเทิง 9 แห่ง นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีก 55 แห่ง ตามข้อมูลของกระทรวงสารสนเทศวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวสปป.ลาว ซึ่งในช่วง 6 เดือนแรกของปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือนถึง 3 แสนคน ขณะที่ในปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวมาเยือนอยู่ที่ 755,530 คน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/kaolao-cave-soon-reopen-after-new-facilities-built-102036

ข้อจำกัดของ SMEs สปป.ลาวที่ขัดขวางการดำเนินธุรกิจ

จากการสำรวจองค์กรธนาคารโลกพบว่าการเข้าถึงการเงินในสปป.ลาวทำได้ยากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา ปัญหานี้เกิดจากการผสมผสานของปัจจัยที่มีอยู่ เช่น ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อที่มีความเสี่ยงมากขึ้นของภาคธนาคาร เป็นต้น การปฏิบัติของคู่แข่งในภาคนอกระบบ เช่น การปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ไม่ดี อีกทั้งการจัดหาไฟฟ้าที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ SMEs  ซึ่งการจัดการกับข้อจำกัดเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการปลดล็อกศักยภาพของ SMEs สามารถทำได้โดยการปรับปรุงขีดความสามารถของ SMEs ในการวางแผนธุรกิจการจัดการทางการเงินและการใช้แนวทางการบัญชีที่เหมาะสม สองควรมีการกระจายผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินของธนาคารและสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ควรปรับปรุงข้อมูลความครอบคลุมสินเชื่อของสถาบันการเงินและหน่วยงานกำกับดูแล การปรับปรุงประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายของกระบวนการราชการอย่างเป็นทางการ และการลงทุนในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่ายการกระจายพลังงานและการเชื่อมต่อไฟฟ้า การปรับปรุงประสิทธิภาพและโอกาสของ SMEs เป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มรายได้และคุณภาพของงานขณะเดียวกันก็ช่วยให้รัฐบาลเข้าใกล้เป้าหมายที่จะเพิ่มลาวให้พ้นจากสถานะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

ที่มา :  http://annx.asianews.network/content/constraints-lao-smes-obstruct-business-operations-101968

IMF คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจสปป.ลาวยังคงสดใส

IMF คาดการณ์แนวโน้มที่ดีสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว ถึงแม้จะมีปัญหาในปัจจุบัน IMF ได้คาดการณ์การลงทุนภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง การส่งออกไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและความสำเร็จของการรถไฟสปป.ลาว – ​​จีน จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็น 7% ในระยะปานกลาง การขยายตัวของจีดีพีลดลงมาอยู่ที่ 6.3% ในปี 61 ลดลงจากร้อยละ 6.8 ในปี 60 การชะลอตัวนั้นเป็นผลมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ในปีนี้รัฐบาลได้ระงับโครงการลงทุนสาธารณะใหม่และกำหนดงบการเงินรวม และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคาดว่าจะยังคงอยู่เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการนำเข้า การสนับสนุนจากความพยายามในการปรับปรุงการบริหารรายได้และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายและแผนการของรัฐบาลในการลดการรับสมัครงานกับข้าราชการพลเรือน การใช้จ่ายเงินทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ แต่แม้จะมีแนวโน้มที่ดีสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะปานกลาง สปป.ลาวยังคงเผชิญกับความเสี่ยงจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยระหว่างประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos184.php

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาว

ธนาคารโลกมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวเป็น 6.5% ในปี 62 เพิ่มขึ้นจาก 6.3% ในปี 61 แม้จะมีการเข้มงวดด้านการคลังอย่างต่อเนื่อง แต่คาดว่าการเบิกจ่ายจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่รวมถึงรถไฟจีน – สปป.ลาว อีกทั้งจะได้รับแรงหนุนจากภาคบริการที่ยืดหยุ่น นำโดยการเติบโตของการค้าส่งและค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลสปป.ลาวยังคงมุ่งมั่นที่จะรวมงบการเงินเพื่อควบคุมภาระหนี้สาธารณะในระยะปานกลาง สิ่งนี้จะส่งผลให้การขาดดุลการคลังลดลงจาก 4.4% ของ GDP ในปี 61 ถึง 4.3% ในปี 62 อย่างไรก็ตามสปป.ลาวมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นหนี้และมีมาตรการหลายอย่างที่จะต้องดำเนินการเพื่อจัดการกับสถานการณ์นี้  สิ่งสำคัญที่จะต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคเอกชนรวมถึงการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมาตรการเหล่านี้สามารถช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาคที่มั่นคง ส่งเสริมการสร้างงานและลดความยากจนและความไม่เท่าเทียม

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-08/13/c_138305713.htm

สปป.ลาวจะต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

2562 คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจของสปป.ลาว จะกลับมาฟื้นตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในปี 2561 เป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการก่อสร้าง การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และภาคบริการ แต่ว่าสปป.ลาวต้องเผชิญกับความท้าทายในประเทศและต่างประเทศ ในด้านมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง (Fiscal consolidation) คาดว่าจะส่งผลให้ลดการขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของ GDP ในปี 2562 (ลดรายจ่ายภาครัฐในปริมาณที่สูง) เนื่องมาจากต้องควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐ และการใช้จ่ายเงินทุน เป็นต้น นอกจากนี้ สปป.ลาวจะต้องพัฒนาในด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมากขึ้น เพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนของภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้มาตรการดังกล่าว ช่วยรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค และส่งเสริมการทำงานของภาคเอกชน รายได้สูงขึ้น และความกินดีอยู่ดีของประชาชนชาวสปป.ลาว

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=47498

บริการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศนอกระบบใน สปป.ลาวทำให้ราคาสูงขึ้น

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลสปป.ลาวออกโรงเตือนว่าจะต้องมีการลงโทษเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หน่วยแลกเปลี่ยนที่ดำเนินการโดยธนาคารนั้นมีการควบคุมอย่างเข้มงวด แต่ไม่มีมาตรการใดที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราที่อยู่นอกระบบ มีความเป็นไปได้ที่อาจทำให้เกิดความผันผวนของสกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยน ขณะนี้กำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อและค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่สูงขึ้นท่ามกลางค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทไทย กระทรวงการวางแผนและการลงทุนระบุว่ามูลค่ากีบเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 0.9% และ 3.5% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สินค้าอุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ถูกนำเข้า ดังนั้นเมื่อมูลค่าเงินกีบลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศราคาสินค้าจะปรับตัวสูงขึ้นตามลำดับ การใช้เงินตราต่างประเทศอย่างกว้างขวางอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าเงินกีบอ่อนแอ และการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียงจันทน์แม้จะมีความพยายามของธนาคารแห่งสปป.ลาวในการปราบปราม

ที่มา: https://laotiantimes.com/2019/08/12/illegal-currency-exchange-services-causing-price-hikes/