แรงงานที่มีทักษะของเมียนได้รับอนุญาตให้ทำงานในญี่ปุ่นได้นานถึงห้าปี

ภายใต้บันทึกความร่วมมือ (MoC) ระหว่างเมียนมาและญี่ปุ่นลงนามเมื่อวันที่ 28 มีนาคมปีนี้ แรงงานที่มีทักษะจะได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในญี่ปุ่นเป็นเวลาห้าปีเพื่อทำงานให้กับ 14 ภาคส่วน เช่น พนักงานดูแลสุขภาพ อาคาร การทำความสะอาด เครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบ อุตสาหกรรมไฟฟ้า ประปา อิเล็กทรอนิกส์ การก่อสร้าง การต่อเรือและเครื่องจักร บำรุงรักษารถยนต์ การบิน บริการโรงแรม การเกษตร การประมง ปศุสัตว์ อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งสองประเทศได้ตกลงกันในเรื่องมาตรฐานที่กำหนดสำหรับบริษัทจัดหางานในต่างประเทศ บริษั จัดหางานที่ลงทะเบียนที่กรมแรงงานต้องปฏิบัติตามกฎและมาตรฐานที่กำหนดในการส่งแรงงานฝีมือไปญี่ปุ่น

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/skilled-myanmar-workers-to-be-allowed-up-to-five-year-work-in-japan

ครึ่งปีแรกของปี 62 FDI เมียนมาพุ่ง 77% คิดเป็น 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สถิติจากคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) สิงคโปร์เป็นนักลงทุนอันดับต้น ๆ มีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวนโครงการที่ลงทุนจำนวน 13 โครงการ อันดับ 2 คือ จีนมีมูลค่า 330 ล้านเหรียญสหรัฐและอีกกว่า 60 โครงการที่ได้รับอนุมัติ โดยอุตสาหกรรมการขนส่งและการสื่อสารได้รับการลงทุนมากที่สุดคือ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคการผลิต 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่บริการ 160 ล้านดอลลาร์ โรงแรมและการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมปศุสัตว์และการประมงจะอยู่ที่ 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากรายงานของเวิลด์แบงก์ตัวเลข FDI เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน แต่ยังไม่ถึงหนึ่งในสามของปี 60/61 และยังมองว่าโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ระเบียงเศรษฐกิจ พลังงานและการขนส่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะเป็นตัวดึงเม็ดเงินการลงทุนและสร้างภาระงานให้กับชาวเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/fdi-jumps-77pc-us23-billion-first-half-2019.html

สนามบินพุกามต้องมีการปรับปรุง

สนามบินพุกามไม่สามารถปรับปรุงและซ่อมแซมได้ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะไม่สามารถดำเนินการในแผนระยะยาว สนามบินพุกามมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการปรับปรุงซึ่งจำเป็นต้องวางแผนในอนาคต จากการเป็นพื้นที่มรดกโลกส่งผลให้ตอนนี้นักเดินทางต่างชาติไปเที่ยวพุกามมากขึ้นและสายการบินนานาชาติได้ให้ความสนใจในการบินตรงไปยังพุกาม กรมการบินพลเรือน (DCA) แจ้งว่าสายการบินบางกอกแอร์เวย์สว่าไม่ได้รับอนุญาตให้บินตรงระหว่างกรุงเทพฯ และพุกามได้เนื่องจากไม่ใช่สนามบินนานาชาติ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/pakokku-airport-needs-to-upgrade-minister

มิ.ย.62 เงินเฟ้อเมียนมาพุ่ง 8.08%

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงปลายเดือน มิ.ย.อยู่ที่ 8.08% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 7.82% ในช่วงปลายเดือน พ.ค. อัตราเงิน อัตราเงินเฟ้อเมื่อเทียบปีต่อปีอยู่ที่ 9.51% โดยเขตมะกเว มีเงินเฟ้อสูงสุดอยู่ที่ 12.31% รองลงมาคือรัฐมอญ 10.14% และมัณฑะเลย์ที่ 9.99% จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมียนมา (Central Statistical Organization: CSO) ในปี 55 ได้ทำการสำรวจครัวเรือนและการบริโภคของครัวเรือน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคและอัตราเงินเฟ้อ ในอดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน แต่ตอนนี้ 2012 ถูกใช้เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติห้าปีฉบับที่ 2  (จากปี 59 – 60 ถึง ปี 63-64) รัฐบาลได้วางแผนลดอัตราเงินเฟ้อผ่านนโยบายการเงินการคลัง การค้า และนโยบายสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-hits-808-pc-in-june

โลจิสติกส์จะโตเป็นสามเท่าภายในปี 2573

กลุ่มโลจิสติกส์ของเมียนมาจะเพิ่มเป็นสามเท่าของจำนวนปัจจุบันภายในปี 2573 ตามแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์ระดับประเทศ เกี่ยวกับแผนแม่บทการขนส่งแห่งประเทศเมียนมา (2014) และแผนแม่บทการขนส่งแห่งชาติ (2017) เมียนมาได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ที่ให้การส่งเสริมภาคการขนส่งทางทะเลอย่างสม่ำเสมอ โดยในแผนแม่บทด้านโลจิสติกส์แห่งชาติ (2017) ความต้องการสินค้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นสามเท่าภายในปี 2573 มีการสร้างท่าเรือแปดแห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและการขนถ่ายสินค้ากำลังดำเนินการในท่าเรือ 41 แห่งตามรายงานของการท่าเรือแห่งเมียนมา (Myanma Port Authority :MPA) โดยท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือที่สำคัญที่สุดเพราะมากกว่า 90% ของการค้าทางทะเลระหว่างประเทศอยู่ที่ท่าเรือแห่งนี้

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/logistics-sector-to-grow-threefold-by-2030-minister

เก้าเดือนแรกของปีงบฯ เมียนมาส่งออกข้าว 370,000 ตันไป 33 ประเทศ

9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 61-62 เมียนมาส่งออกข้าวหักกว่า 370,000 ตันไปยัง 33 ประเทศ โดย 48% ของการส่งออกทั้งหมดไปเบลเยียม มีรายได้จากการส่งออกมากกว่า 99.628 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เป็นเบลเยียม 179,739 ตันหรือข้าวหักมูลค่า 48.155 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 48% ของยอดส่งออกทั้งหมด อินโดนีเซีย 57,360 ตันมูลค่า 15.668 ล้านเหรียญสหรัฐ จีน 25,000 ตันมูลค่า 6.723 ล้านเหรียญสหรัฐ เนเธอร์แลนด์ 21,400 ตันมูลค่า 5.324 ล้านเหรียญสหรัฐ และสหราชอาณาจักร 18,000 ตันมูลค่า 4.743 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 12 กรกฎาคมปีงบประมาณนี้มีรายรับ 562.191 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกข้าวและข้าวหักจำนวน 1.858 ล้านตัน ในปี 60-61 มีการส่งออกข้าวเกือบ 3.6 ล้านตันทำสถิติสูงสุดในรอบ 50 ปี

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/over-370000-tons-of-broken-rice-exported-to-33-countries-in-more-than-nine-months

แบงก์ชาติเมียนมาระงับใช้บัตรเติมเงิน สกุลท้องถิ่น

จากรายงานของธนาคารกลางเมียนมา (Central Bank of Myanmar :CBM) การใช้บัตรเติมเงินจากผู้ให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศ 4 รายจะไม่ได้รับอนุญาตในสกุลเงินท้องถิ่น โดยอนุญาตให้ใช้บัตรเติมเงินจาก Master, Visa, UPI และ JCB ด้วยวงเงิน 5,000 เหรียญสหรัฐเพื่อใช้เป็นทางเลือกในการชำระเงินโดยชาวเมียนมาที่เดินทางไปต่างประเทศรวมถึงชาวต่างชาติในประเทศ อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตการชำระเงินด้วยสกุลเงินท้องถิ่น (จัต) ธนาคารเอกชนทุกแห่งได้รับคำสั่งให้ให้บริการบัตรเติมเงินภายในกรอบของ CBM นอกจากนี้ ธนาคารจะต้องส่งคำตอบไปยังฝ่ายบัญชีก่อนวันที่ 9 สิงหาคมเพื่อรับทราบคำแนะนำของ CBM

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/usage-intl-prepaid-cards-kyat-not-allowed-cbm.html