เมียนมาปรับกลยุทธ์อ้าแขนรับนักลงทุน

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการลงทุนของเมียนมาลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับการเติบโตของเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อผ่อนปรนไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งบริษัท Myanmar Credit Bureau Ltd. ขึ้นเป็นแห่งแรกเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้ SME เข้าถึงได้ง่าย เรื่องต่อมาคือการให้ต่างชาติเข้าลงทุนในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งได้ 100% จะเหลือเพียงร้านสะดวกซื้อและมินิมาร์ทที่คงไว้ให้กับคนท้องถิ่น ซึ่งธุรกิจค้าปลีกกำลังเป็นที่จับจ้องของนักลงทุนเพราะด้วยประชากรมากว่า 54 ล้านคนและเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวถึงราว 7% ต่อปี เป็นโอกาสของผู้ประกอบไทยที่เข้าไปลงทุนหรือร่วมค้ากับตัวแทนในท้องถิ่น และปัจจุบัน EXIM BANK ได้เปิดสาขาที่กรุงย่างกุ้งเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยในการลงทุนได้อย่างมั่นใจ

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49741_0.pdf

5 มิถุนายน 2561

แสวงหาโอกาสการลงทุนในเมืองรองของเมียนมา

นับตั้งแต่เมียนมาออกกฎหมายว่าด้วยบริษัท (Myanmar Company Law) ที่ให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นได้ 35% ตั้งแต่สิงหาคม ปี 2561 ส่งผลให้ย่างกุ้งเมืองเศรษฐกิจสำคัญเกิดการแข่งขันอย่างดุเดือด ราคาที่ดินพุ่งสูง ด้งนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงควรศึกษาการลงทุนในเมืองรองที่สำคัญๆ เช่น เมืองมัณฑะเลย์ มีประชากรมากถึง 1.7 ล้านคน จุดเด่นคือที่ตั้งสามารถเชื่อมโยงการค้าการลงทุนกับอย่างจีนและอินเดีย เมืองมะละแหม่ง จากจำนวนประชากร 1.2 ล้านคน จุดเด่นคือมีวัยแรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก เหมาะแก่การตั้งฐานการผลิตและเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางเรือ สามารถกระจายสินค้าไปยังพื้นที่อื่นได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันไทยลงทุนในการแปรรูปยาง เมืองมะริด อุดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเล เช่น ไข่มุก หรือการประมง ซึ่งผู้ประกอบการไทยเข้าไปลงทุนเยอะ และการท่องเที่ยวสะดวกเพราะเดินทางได้ทั้งจากระนองและภูเก็ต จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเจรจาหาพันธมิตรร่วมลงทุน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/49914_0.pdf

31 กรกฎาคม 2561

เมียนมาอนุญาตจัดตั้งบริษัทเครดิตบูโร ข่าวดีสำหรับ SMEs เมียนมา

เดือน พ.ค.61 ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาเห็นชอบจัดตั้งบริษัท Myanmar Credit Bureau Ltd. เป็นบริษัทบูโรแห่งแรกของประเทศ ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างสมาคมธนาคารเมียนมา (Myanmar Bank Association) กับ Asia Credit Bureau Holding จากสิงคโปร์ คาดว่าสามารถจัดตั้งได้ภายใน 1 ปีข้างหน้า เครดิตบูโรในเมียนมาส่งผลดีต่อใคร 1.สถาบันการเงินในเมียนมา การมีมีเครดิตบูโรทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นในการปล่อยเงินกู้ 2. SMEs เมียนมา ทำให้ SMEs มีโอกาสได้รับสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สะท้อนพื้นฐานที่แท้จริงของธุรกิจ 3. ภาพรวมการลงทุนในเมียนมา มีส่วนช่วยให้การจัดอันดับ Ease of Doing Business ของ World Bank ในปี 61 อยู่ในอันดับ 171 จากทั้งหมด 190 ประเทศ การจัดอันดับจะเป็นตัวชี้วัดความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนในเมียนมา

ที่มา: https://kmc.exim.go.th/detail/20190927191138/20180725140613

ควรเลือกใช้ธนาคารไหนในเมียนมาเมื่อจะทำการค้าขายกัน

การทำธุรกรรมทางการค้ากับเมียนมาส่วนใหญ่จะเป็นการค้าชายแดน ภายหลังปี 49 ที่สหรัฐฯ ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรและนโยบายเศรษฐกิจที่เปิดกว้างมากขึ้นทำให้ภาคธนาคารพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้จักกับธนาคารสำคัญในเมียนมาทั้ง 4 แห่งดังต่อไปนี้ 1.Myanma Economic Bank (MEB) เป็นธนาคารใหญ่อันดับ 2 ของประเทศรองจาก KBZ Bank เน้นการปล่อยสินเชื่อให้กับภาครัฐเป็นหลัก 2. Myanma Foreign Trade Bank (MFTB) เน้นบริการทางงานเงินระหว่างประเทศผ่านเครือข่าย Correspondent Bank ใน 54 ประเทศทั่วโลกและเป็นธนาคารที่นิยมในการเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศ 3. Myanma Investment and Commercial Bank (MICB) เน้นให้บริการหรือสนับสนุนผู้ประกอบการเป็นหลัก 4. Myanma Agricultural and Development Bank (MADB) เน้นให้บริการผู้ประกอบการและเกษตรกรในพื้นที่ชนบท ปัจจุบันในด้านการค้าระหว่างประเทศธนาคารของรัฐอย่าง MFTB และ MICB ควรที่จะทำความรู้จักมากที่สุดเพราะมีประสบการณ์ด้านธุรกรรมระหว่างประเทศมายาวนาน มีความน่าเชื่อถือสูง และมีโอกาสที่คู่ค้าชาวเมียนมาจะใช้บริการทางการเงินจากทั้ง 2 ธนาคารนี้

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49462.pdf

เจาะ Insight ผู้บริโภคเมียนมาปี 2018 เปลี่ยนผ่านสู่ยุค “ช้อปเพื่อไลฟ์สไตล์”

บริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด บริษัทวิจัยระดับโลกได้วิเคราะห์เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคเมียนมาในปี 2018 ได้อย่างน่าสนใจคือ ตลาดโมเดิร์นรีเทล (Modern Retail) เติบโตสูง พื้นที่ retail ของ Aeon, Miniso หรือ Daiso จากญี่ปุ่นเติบโตถึง 28% ต่อปี ส่วนเมืองรองจะมี Grab and Go ร้านสะดวกซื้อที่เปิดตัวในปี 2013 ด้วยจำนวน 10 สาขา มองหาสินค้าที่สนองไลฟ์สไตล์มากกว่าแค่ปัจจัยสี่ หันมาซื้อของที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของยุคสมัยมากขึ้น เครื่องใช้ฟ้าจากจีนและญี่ปุ่นอย่าง เครื่องซักผ้าและตู้เย็นเติบโตขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นของไทย เครื่องสำอางค์จากเกาหลี หันมาเข้าร้านกาแฟที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่มากขึ้นและเติบโตจาก 6% ในปี 2013 เป็น 45% ในปี 2016 โกอินเตอร์ สนใจภาพลักษณ์ใช้ของอิมพอร์ตมากขึ้น เปิดรับสื่ออย่างอินเตอร์เน็ตและนิยมดู VDO Streaming เป็นที่นิยมมากในปี 2017 ซึ่ง 80% ดูผ่านมือถือ ทำให้ Netflix กำลังขยายธุรกิจไปยังเมียนมา นิยมเดินทางออกนอกประเทศมากขึ้น ในปี 2017 พบว่าเดือนทางไปต่างประเทศถึง 3 ล้านคน สูงสุดในกลุ่มอาเซียน ปัจจุบันคนเมียนมาที่มีการเปิดรับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ผู้ประกอบการควรศึกษาตลาดและผู้บริโภคให้ดี เพื่อเข้าไปขายสินค้าอย่างถูกที่ ถูกเวลา ถูกกลุ่ม และวางกลยุทธ์ได้ถูกทาง

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-2840-id.html

27 กุมภาพันธ์ 2561

นักลงทุนไทยต้องรู้ ผลวิจัยใหม่ชาวเมียนมา ไม่สนแบรนด์ เน้นคุ้มค่า เฟสบุ๊กมีอิทธิพล

จากรายงานการวิจัยเรื่อง Who Are Myanmar Millennials? (WAMM?) ซึ่งจัดทำโดยบริษัท อินโดไชน่า รีเสิร์ช พบว่าประชากรเมียนมากลุ่มที่เรียกว่ามิลเลนเนียล ที่เกิดช่วงปี 2525 – 2543 มีจำนวน 16.6 ล้านคน คิดเป็น 33% ของประชากรทั้งหมด 55 ล้านคน นิยมใช้สื่อโซเชียลในการหาข้อมูลติดต่อและกระจายข่าวมากกว่าญาติหรือผู้ใหญ่ กลุ่มนี้เวลาบริโภคสินค้าจะไม่ค่อยสนใจแบรนด์แต่จะคำนึงถึงลักษณะการใช้งานของสินค้าหรือบริการ ประเทศผู้ผลิต เทคโนโลยีและรางวัลที่ได้ ร้อยละ 66 ใช้สื่อโซเชียลในการตัดสินใจซื้อและเป็นแพลตฟอร์มที่มีอิทธิพลมากถึง 99% ตามด้วยสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและทีวี ดังนั้นผู้ประกอบต้องมีกลยุทธ์ทางโซเชียลมีเดียที่โดดเด่นในการเจาะตลาดผู้บริโภคกลุ่มนี้

ที่มา: https://www.smethailandclub.com/aec-2474-id.html

17 พฤษจิกายน 2560

The OPPORTUNITY : ธุรกิจค้าปลีก/ค้าส่งในเมียนมา

http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/49875.pdf

ที่มา: ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

กรกฎาคม 2561

ไลฟ์ สไตล์สุดฮิตของชาวเมียนมาในยุคสังคมเมือง

ปัจจุบันคาดว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ที่มีรายได้ต่อเดือนสูงกว่า 120 ดอลลาร์สหรัฐ จะเพิ่มเป็น 10.3 ล้านคน ในปี 2563 คิดเป็น 15% ของประชากร ซึ่งทำไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเหมือนกับเมืองใหญ่ สังเกตได้จาก การกลับมาบูมของโรงภาพยนตร์แบบ Multiplex ซึ่งจะเพิ่มจำนวนมากกว่า 100 แห่งในปีนี้ Fast Food และ Modern Cafe เทรนด์ใหม่ ด้วยชีวิตประจำวันที่คล้ายคลึงกับเมืองใหญ่ๆ ที่เร่งรีบมากขึ้น เช่น pizza hut, KFC หรือจากไทยอย่าง True Coffee และ Chao Doi Facebook…ช่องทางทําความรู้จักชาวเมียนมายุคใหม ล่าสุดพบว่า การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีถึง 97% ของประชากร โซเชียลมีเดียที่ได้รับความนิยมคือ Facebook และ Google ธุรกิจที่น่าสนใจ เช่น ร้านอาหาร สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ ฟิตเนส สถานเสริมความงาม และโดยเฉพาะ Smart Phone พบว่ามีผู้ใช้ถึง 62% จากจำนวนประชากร สูงกว่าเวียดนามและอินโดนีเซีย ซึ่งธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่น่าสนใจคือ คอนเท้นท์โฆษณาออนไลน์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48727_0.pdf

28 พฤษภาคม 2560

เมียนมาโฉมใหม่ โอกาสที่เปิดกว้าง พร้อมการแข่งขันที่ท้าทาย

ในปี 2559 เมียนมามีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในประเทศไม่ว่าจะเป็น การยุบรวมในหลายกระทรวงเพื่อลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่าย การปรับปรุงกฎหมายการลงทุนใหม่เป็น “Myanmar Investment Law 2016” มีผลต่อมูลค่า FDI ลดลงในระยะสั้นๆ จากที่เคยสูงแตะ 80% ต่อปี (สูงสุดในอาเซียน) เหตุเพราะต่างชาติรอดูความแน่นอนของรัฐบาลชุดนี้ แต่คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากการที่หลายประเทศเริ่มเข้ามาลงทุน อาทิ aeon และ Suzuki จากญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เมียนมาจะเป็นที่จับจ้องของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ สิ่งที่ตามมาคือการแข่งขันอย่างเข้มข้น ไทยในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดควรที่จะร่วมกันพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48633_0.pdf

3 เมษายน 2560

การปฏิรูประบบสาธารณสุขในเมียนมา โอกาสทองของผู้ประกอบการไทย

จากงบประมานด้านสาธาณสุขปี 2559/2560 รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะเป็น Universal Health Coverage (UHC) ปัจจุบันโรงพยาบาลขนาดใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่อย่างย่างกุ้งและเมืองมัณฑะเลย์ เมียนมาจึงพยายามขยายการบริการสุขภาพไปยังพื้นที่ชนบท 280 เมืองที่มีประชากรมากกว่า 70% ดังนั้นธุรกิจที่นักลงทุนไทยน่าลงทุน คือ การส่งออกเภสัชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ พบว่าไทยส่งออก 12% ในปี 59 เป็นรองเพียงเวียดนาม ร่วมลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกเพื่อรองรับการขยายตัวของชาวเมียนมาที่มีกำลังซื้อสูง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง ซึ่งปัจจุบันผู้ที่มีกำลังซื้อสูงมักเดินทางออกไปใช้บริการต่างประเทศ โดยเฉพาะสิงคโปร์และไทย และตอนนี้ได้ให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้ 80% โดยปัจจุบันมีเครือโรงพยาบาลกรุงเทพและเครือโรงพยาบาลธนบุรีที่เข้าไปร่วมทุนกับเอกชน จึงเป็นโอกาสที่จะเข้าไปเป็นคู่ค้าและเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานของตลาดบริการสุขภาพในเมียนมา

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48726_0.pdf

29 พฤษภาคม 2560