IMF ประเมินเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวลดลง 6.5% ในปี 2562

จากรายงานการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในวันอังคารที่ผ่านมา เปิดเผยว่าการเติบโตของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2562 มีแนวโน้มชะลอตัวสู่ระดับร้อยละ 6.5 จากระดับสูงที่สุดร้อยละ 7.1 ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงปัจจัยภายนอกที่เปราะบาง โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของเวียดนาม (GDP) คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.5 อีกครั้ง ในปี 2563 และช่วงการขยายตัวระยะปานกลาง นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 , 3.8 ในปี 2562 และปี 2563 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผลของความตึงเครียดทางการค้าและความผันผวนของการค้าทั่วโลก แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังคงสามารถรับมือต่อปัจจัยภายนอกได้ เนื่องมาจากการขยายตัวของกลุ่มผู้บริโภครายได้ในระดับปานกลาง และการบริโภคที่แข็งแกร่ง รวมไปถึงภาคเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20190717/imf-sees-vietnam-s-economic-growth-slowing-to-65-in-2019/50678.html

โอกาสทางการค้าการลงทุนจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนาม-รัสเซีย

จากคำแถลงของพรรคสหรัสเซีย (The United Russia Party: ER) เกี่ยวกับการลงนามข้อลงการค้าเสรีระหว่างเวียดนาม และรัสเซีย ได้มีการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเวียดนาม (VNA) ในวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ณ นครวลาดิวอสต็อก (Vladivostok) โดยให้ประเด็นที่น่าสนใจว่าเวียดนามเป็นประเทศแรกที่ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) และรัสเซีย ซึ่งทางผู้นำของรัสเซียให้ความสนใจกับเขตสหพันธ์ตะวันออกไกล และพร้อมให้โอกาสกับต่างชาติในการลงทุนในเขตภูมิภาคนี้ รวมไปถึงความพร้อมของสภาพแวดล้อมที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจกรรมการลงทุนจากต่างชาติ ทั้งด้านกฎหมาย ภาษีและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เป็นต้น จากสถิติการลงทุนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีโครงการใหม่กว่า 1,600 โครงการ ด้วยมูลค่ารวม 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสามารถสร้างงานประมาณ 37,000 ตำแหน่งอีกด้วย

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/bright-prospects-for-vietnamrussia-cooperation-highlighted/156083.vnp

เวียดนามส่งออกปลาสวายพุ่งไปยังมาเลเซีย

จากรายงานของสมาคมผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกปลาสวายเวียดนาม (Pangasius) ไปยังตลาดอาเซียนสูงกว่า 87.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตลาดมาเลเซียเป็นหนึ่งในกลุ่มสมาชิกอาเซียนที่มีการนำเข้าของปลาสวายสูงที่สุดจากเวียดนาม และในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มาเลเซียมีมูลค่าการนำเข้าปลาสวายกว่า 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 47.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในส่วนของการนำเข้าปลาสวายของไทย พบว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกปลาสวายไปยังไทยกว่า 32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับปี 2561

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7682902-vietnamese-tra-fish-exports-to-malaysia-rise-sharply.html

นครดานังดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ 542 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปี 2562

        จากการประชุมคณะกรรมการพรรคและคณะกรรมการประชาชนนครดานัง ครั้งที่ 11 (The Party Committee and People’s Committee of Da Nang City) ในวันอังคารที่ผ่านมา เปิดเผยว่าในงานดังกล่าวได้มีการมอบใบรับรองการลงทะเบียนการลงทุน (Investment Registration Certificate) ให้กับโครงการรวม 8 โครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุนกว่า 492 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมไปถึงหน่วยงานท้องถิ่นที่มีโครงการวิจัยรวม 11 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนวิจัย 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแม้ว่าทิศทางการลงทุนยังอยู่ในเชิงบวก แต่ภาครัฐฯต้องดำเนินงานในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งด้านการค้าและการลงทุนให้รอบด้านมากขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/522456/da-nang-attracts-542-million-of-foreign-investment-in-h1.html#YOZfMohBZeZiDqAg.97

ครึ่งปีหลัง 2562 ภาคเกษตรเวียดนามขยายตัว

จากรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมในครึ่งปีแรกของปีนี้ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่มีศักยภาพเป็นแรงขับเคลื่อนในการส่งออก ได้แก่ อาหารทะเล สินค้าที่ทำมาจากไม้ และการประมง ซึ่งอุตสาหกรรมประมงและป่าไม้ มีส่วนสำคัญในการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) หากจำแนกรายสินค้าส่งออกสำคัญของการประมง พบว่า กุ้งมีส่วนสำคัญของการส่งออกขยายตัวในครึ่งปีแรกของปีนี้ ส่วนอุตสาหกรรมป่าไม้จะเน้นการผลิตที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ตามความต้องการไม้แปรรูป และการส่งออก ในขณะเดียวกัน การลงนามการค้าเสรี (Vietnam-EU) จะทำให้สร้างโอกาสของธุรกิจเวียดนามในการค้าขายกับกลุ่มประเทศยุโรปอย่างมาก ดังนั้น ทางหน่วยงารรัฐฯ ต้องดำเนินการทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้คุณภาพของสินค้า และราคาที่เหมาะสม เป็นต้น ที่มา:https://vietnamnews.vn/economy/522345/agriculture-sector-will-boost-seafood-forestry-production-in-h2.html#3L4cCpMfxoeJ9cJJ.97

เวียดนามมาแรง ส่งออกปีนี้จ่อแซงไทย

เวียดนามเสือติดปีก เบิ้ลเครื่องส่งออกจ่อแซงไทยปีแรก หลังทุนนอกทะลักหวังใช้แต้มต่อ 2 เอฟทีเอใหม่ “EVFTA-CPTPP” พ่วงจีนหนีสงครามการค้า เพราะที่ผ่านมามีการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ (FDI) และการเป็นฐานการผลิตเพิ่มการส่งออกและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (จีดีพี) ผ่านความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ ปัจจุบันมีเอฟทีเอกับประเทศคู่ค้าที่มีผลบังคับใช้แล้ว 11 ฉบับ และกำลังจะมีผลบังคับใช้อีก 2 ฉบับ ได้แก่ เอฟทีเอสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) และความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (CPTPP) ในปีนี้มูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปทั่วโลกมีโอกาสจะแซงหน้าไทยเป็นปีแรก สัญญาณจากในปี 2561 รวมถึงช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกเวียดนามขยับเข้ามาใกล้ไทยมาก สิ่งที่ไทยต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้เสียเปรียบ ต้องเร่งดึงการลงทุนในอีอีซีในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ที่จะช่วยผลักดันสู่ยุค 4.0 และการเจรจาทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป (อียู)

ที่มา: http://www.thansettakij.com/content/404668

จับตาตลาดทุเรียนเวียดนาม ‘คู่แข่ง’ ทุเรียนไทย

จากการแข่งขันในตลาดส่งออกของทุเรียนไทย มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะสูญเสียผู้นำในด้านการเป็นผู้ส่งออกทุเรียนให้กับประเทศมาเลเซีย แต่ประเทศที่แข่งขันได้และน่าจับตามากที่สุด คือ เวียดนามที่มีพื้นที่ติดพรมแดนกับประเทศจีน ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วในด้านการขนส่ง ซึ่งจากข้อมูลสถิติของกระทรวงเกษตร ระบุว่าในปี 2561 เวียดนามมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 2 แสนไร่ โดยเฉพาะบริเวณราบสูงตะวันตกเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสําหรับการผลิตและส่งออกทุเรียนของเวียดนาม โดยในปีนี้สามารถเก็บผลผลิตได้ในช่วงเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน ด้วยปริมาณผลผลิตรวมมากกว่า 30,000 ตัน ด้านสายพันธุ์ทุเรียนที่ได้รับความนิยมเพาะปลูกในเวียดนามมีทั้งสายพันธุ์จากไทย ได้แก่ ชะนี หมอนทอง และก้านยาว  นอกจากนี้ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของเวียดนามคาดว่าสามารถทุเรียนได้ประมาณ 330,000 ตันต่อปี โดยพื้นที่ที่มีผลผลิตมากที่สุด แบ่งออกเป็นบริโภคในประเทศ 40%, ส่งออก 60% ในเดือนเมษายน 62 ที่ผ่านมา ราคาจําหน่ายทุเรียนสดหน้าสวนเฉลี่ยอยู่ที่  2.8 – 3.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อ กิโลกรัม แต่ในปัจจุบัน ประเทศจีนเข้มงวดการตรวจสอบผลไม้นําเข้าไปยังจีนมากขึ้น ส่งผลให้เวียดนามต้องใช้วิธีการลักลอบขนส่งทุเรียนผ่านช่องทางที่ไม่ใช่ช่องทางหลัก อาทิ การขนส่งโดยรถบรรทุกขนาดเล็ก และใช้แรงงานแบกหาม เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnamese-duria

ทำไม สินค้าไทยมาแรงตลาดเวียดนาม

เวียดนามเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีประชากรราว 90 ล้านคนที่อยู่ในวัยทำงาน พร้อมกำลังซื้อสูงในชนชั้นกลาง ทั้งนี้ กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ เวียดนาม รายงานว่าในปี 2560 ตลาดค้าปลีกเวียดนามมีมูลค่าสูงถึง 1.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4 ล้านล้านบาท) และยอดขายของร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าคาดว่าจะเติบโตเร็วมากที่สุด โดยเวียดนามถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีศักยภาพในตลาดค้าปลีกลำดับที่ 6 ของโลกจาก 30 ประเทศ โดยเฉพาะนครโฮจิมินห์ ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคชาวเวียดนาม พบว่าสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และเสื้อผ้า เป็นต้น เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย และคาดว่าในปี 2563 ภาคการค้าปลีกจะขยายตัวสัดส่วนร้อยละ 45 ของภาคการค้าปลีกทั้งหมดในเวียดนาม หากสังเกตตามเมืองหรือชนบท พบว่าจะเห็นสินค้าไทยวางขายในร้านขายของชำ และร้านสะดวกซื้อ มีอยู่จำนวนมาก เนื่องมาจากคนเวียดนามมองสินค้าไทยมีคุณภาพที่ดีกว่าสินค้าจีน แม้ว่าราคาจะแพงกว่าเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้สินค้าไทยเป็นที่นิยม เนื่องจากผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุนห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น จึงเปิดโอกาสให้สินค้าไทยเข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกของตลาดเวียดนาม สรุปได้ว่า เศรษฐกิจเวียดนามยังเติบโตต่อเนื่องทุกปี กลุ่มชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกระแสความนิยมสินค้าไทยมาแรง จึงเป็นโอกาสทางของผู้ผลิตสินค้าไทยที่จะเข้าไปในตลาดเวียดนาม

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-product

ผู้ประกอบการเวียดนามหวั่นผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สหรัฐฯประกาศเพิ่มการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมร้อยละ 10 ขึ้นเป็นร้อยละ 25 ทำให้จีนตอบโต้ประกาศขึ้นอัตราภาษีศุลกากรจากสหรัฐมากกว่าพันรายการ โดยบริษัทใหญ่ของเวียดนามมีมุมมองปัจจัยบวกต่อสงครามการค้าสหรัฐ-จีน เนื่องมาจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลทั่วโลก ส่งผลต่อธุรกิจส่งออกเวียดนามที่ได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของค่าเงินด่อง แต่หลายภาคส่วนของธุรกิจแสดงความกังวลให้ภาครัฐบาลควบคุมค่าเงินไม่ให้ผันผวนจนมากเกินไป และอีกในมุมมองหนึ่ง คือ ผู้ประกอบการเวียดนามต้องเผชิญกับคู่แข่งชาวจีนที่ลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์และการรับซื้อที่ดิน รวมไปถึงผู้ประกอบการชาวจีนที่ผลิตสินค้าในเวียดนาม สำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อที่จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ภายใต้ฉลากของเวียดนาม.

ที่มา: https://vietnamnews.vn/economy/520036/vietnamese-businesses-fear-fallout-of-us-china-trade-war.html#hTJ3WHW3tuhibpqp.97

เวียดนามเห็นโอกาสในการส่งออกข้าวไปอียิปต์

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมการค้าต่างประเทศ เผยว่าผู้ประกอบการเวียดนามเห็นโอกาสในการส่งออกข้าวกว่า 20,000 ตัน ไปยังประเทศอียิปต์ โดยทางการอียิปต์ต้องการประมูลปริมาณข้าวขั้นต่ำ 20,000 ตัน (± ร้อยละ 10) ประภทข้าวที่ต้องการ ได้แก่ ข้าวขาวเมล็ดกลางร้อยละ 10-12 หักออกข้าวหัก และวันเวลาสำหรับการเสนอราคา คือวันที่ 30 มีนาคม โดยทางกรมการค้าต่างประเทศมองว่าเป็นโอกาสครั้งสำคัญของผู้ประกอบการเวียดนามในการพัฒนาการส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศ รวมไปถึงภายในปลายปี 2561 อียีปต์จะทำข้อตกลงการนำเข้าข้าวกว่า 1 ล้านตันจากเวียดนาม ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า เนื่องจากอียิปต์ต้องการลด พื้นที่การเพาะปลูกลง จากการขาดน้ำ นอกจากนี้ สมาคมเวียดนาม (VFA) กล่าวว่ามูลค่าการส่งออกข้าวตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื่องจากความต้องการของประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ อียิปต์ มาเลเซีย คิวปา และจีน เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/507837/vn-sees-rice-export-opportunity-to-egypt.html#VKYDV0uXbhHW66Mi.97

27/3/2562