เวียดนามมูลค่าการค้าสูงถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่ามูลค่าการค้ารวมของเวียดนามสูงถึง 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงต้นปีนี้ถึง 19 มีนาคม จากข้อมูลสถิติล่าสุดเผยว่าในช่วงต้นเดือนมีนาคมมีสัดส่วนการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบช่วงครึ่งหลังกุมภาพันธ์ โดยมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมอยู่ที่ 10.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงต้นเดือนมีนาคม ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของประเทศเวียดนามที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงต้นเดือนมีนาคม ได้แก่ โทรศัพท์มือถือและชิ้นส่วนประกอบ เสื้อผ้าและสิ่งทอ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะพบว่า เวียดนามเกินดุลการค้าอยู่ที่ 610 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงต้นเดือนมีนาคม และมีมูลค่าถึง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนมกราคมถึงต้นเดือนมีนาคม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/507731/vns-trade-turnover-reaches-100-billion.html#gduARy7ofc34Q3wX.97

26/3/2562

ธุรกิจ E-commerce เวียดนามมีผู้ใช้กว่า 37 ล้านคน

ในปัจจุบัน การทำธุรกิจในเวียดนามผ่านทาง “E-Commerce” มีศักยภาพสูงและเป็นทางเลือกหนึ่งในการขยายตลาดสินค้าอุปโภคและบริโภคในเวียดนาม โดยเฉพาะทางภาคใต้ เนื่องจากคนเวียดนามชนชั้นกลางมีกำลังซื้อสูง ซึ่งในช่วงปี 2559-2563 ธุรกิจ E-Commerce ในเวียดนามจะเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี และมีมูลค่าสูงถึง 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563 โดยจำนวนผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าออนไลน์ใน 4 เมืองใหญ่ในเวียดนามเพิ่มขึ้น 8.8% จาก 5.4% ในปี 2560 ทำให้นักลงทุนต่างชาติหลายรายสนใจมาลงทุนด้าน E–Logistics ทั้งนี้ 5 อันดับสินค้าและบริการออนไลน์ส่วนใหญ่ที่ขายดีในเวียดนาม ได้แก่ เครื่องแต่งกายและผลิตภัณฑ์ความงาม รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัวเรือน การจองที่พักและตั๋วเครื่องบิน และอุปกรณ์สำนักงาน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเลือกชำระเงินปลายทางเนื่องจากการชำระเงินด้วยเงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่แพร่หลาย สะดวกและเชื่อถือได้มากที่สุด ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วิธีการและขั้นตอนการชำระเงินและรับสินค้าในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยกับเวียดนาม มีบริบทแตกต่างกัน นับว่าเป็นประเทศที่กระแสด้านอีคอมเมิร์ซแรงมากอีกประเทศ ด้านผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซของไทยควรศึกษาโอกาส เพื่อดูลู่ทางทำการค้าในอนาคต

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17759

รวบรวมคำถามที่พบบ่อย (FAQ) เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม)

https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/168642/168642.pdf&title=168642&cate=945&d=0

ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 

เค้าชอบเรา! 5 เหตุผลที่เวียดนามนิยมไทย

จากรายงานของสถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอจิมินห์ เปิดเผยว่าสินค้าของประเทศไทยนับได้ว่าเป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากชาวเวียดนามไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องแต่งกาย รองเท้า อุปกรณ์ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น ถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่าคู่แข่งในตลาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชาวเวียดนามพิจารณาว่าสินค้าของไทยมีคุณภาพและราคาที่สมเหตุสมผลกว่าสินค้าจากประเทศอื่นๆ โดยเหตุผลที่ชาวเวียดนามชื่นชอบสินค้าไทย ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ การลงทุนของกลุ่มผู้ประกอบการไทย,ราคาสมเหตุสมผล,ภาพลักษณ์สินค้าไทยที่มีคุณภาพสูง,บรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม และกระแสนิยมไทย นอกจากนี้เหตุผลข้างต้น ยังมีเหตุผลที่เกื้อหนุนที่ทำให้ชาวเวียดนามนิยมสินค้าไทย เช่น เศรษฐกิจยังพุ่งทะยานสูงขึ้น สังคมเมืองยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ รัฐบาลเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยเหตุนี้ จากปัจจัยดังกล่าว เชื่อว่าคงเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการที่ต้องการขายสินค้าในเวียดนาม ได้กำหนดกลยุทธ์ในการบุกตลาดที่ถูกต้อง

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-thai-products

SME น่าลงทุนเวียดนาม เมื่อคนในประเทศกำลังซื้อสูงขึ้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย เผยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) ที่ชี้ว่า กำลังซื้อของผู้บริโภคเวียดนาม เพิ่มขึ้นกว่า 9.31% ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 61 เมื่อแยกอัตราเงินเฟ้อออกไป โดยในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องใช้ในงานแต่งงาน, อุปกรณ์การเรียนในปีการศึกษาใหม่ และเสื้อผ้าสำหรับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น นอกจากนี้ ชาวเวียดนามยังเพิ่มความต้องการในการปรับปรุงที่พัก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปีใหม่ ซึ่งกำลังซื้อที่สูงขึ้นส่งผลให้ราคาน้ำมันและการขนส่งที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น 3.45% ส่วนตัวเลขดัชนีอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 9.31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ รายได้จากการขายปลีกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 เพิ่มขึ้นกว่า 12.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ประกอบกับผู้บริโภคใช้จ่ายด้านอาหารเพิ่มขึ้น 13.3% รองลงมา คือ เครื่องนุ่งห่ม, เครื่องใช้ภายในบ้าน, ผลิตภัณฑ์เพื่อการศึกษา และยานพาหนะ ตามลำดับ ส่งผลให้มีรายได้จากการให้บริการด้านที่พักอาศัยและอาหาร เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อน รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 15.6% และรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 9.3% โดยเมืองที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ Ho Chi Minh, Hai Phong, Thanh Hoa และ Da Nang เป็นต้น

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/17528

SME เพิ่มโอกาสรวยแบบก้าวกระโดด! บนตลาดกัมพูชากับเวียดนาม

งานสัมมนา “Krungsri Business Talk : กัมพูชา VS เวียดนาม ตลาดไหน ใช่เลย!” มีการนำผู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศมาถ่ายทอดข้อมูลที่สำคัญคือ ประเด็นที่ 1 การเติบโตและสินค้าที่เป็นไปได้ในตลาด กัมพูชาชอบดีทีวีไทยเป็นอย่างมากจึงไม่จำเป็นต้องทำโฆษณาตัวสินค้าไทยเพราะเป็นที่นิยมอยู่แล้ว ส่วนเวียดนาม มี FTA เชื่อมต่อการส่งออกของไทยและนิยมสินค้าอย่างเครื่องสำอางและไอที ประเด็นที่ 2 พฤติกรรมผู้บริโภค กัมพูชาเปิดรับสินค้าทุกอย่าง ไม่สนใจว่าฉลากจะเป็นภาษาไหนแต่ถ้าเป็นภาษาไทยจะยิ่งมีความเชื่อมั่น ส่วนเวียดนามมีรสนิยมในสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้น ชอบผลิตภัณฑ์ที่มีกิมมิคและแปลกใหม่ ประเด็นที่ 3 การจับจ่ายและกฎระเบียบ การเข้าไปทำธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศจะคล้ายคลึงกันคือหาคู่ค้าและตัวแทนจำหน่าย ด้านกฎระเบียบของเวียดนามจะมีความอ่อนไหวมากกว่าเพราะเปลี่ยนแปลงบ่อย สิ่งที่นักลงทุนพึงตระหนักคือการติดตามข้อมูลข่าวสาร นโยบายและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศอยู่ตลอด

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/1258896

19 เมษายน 2561

ธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ : โอกาสที่ไม่ควรมองข้าม

ปัจจุบันเวียดนามกลายเป็นแหล่งส่งออกกาแฟกว่า 1.4 ล้านเมตริกตัน เป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล (2.5 ล้านเมตริกตัน) คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟวันละหลายแก้ว การบริโภคเฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นถึง 1.5 กิโลกรัม/ปี เพราะปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคกาแฟแบบเดิมเปลี่ยนไปและชนชั้นกลางที่มากขึ้น อย่างร้านกาแฟ/คาเฟ่ที่ได้รับความนิยมในนครโฮจิมินห์มักจะมีการตกแต่งที่ทันสมัย มีบริการ Wifi และเครื่องปรับอากาศ เป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางสังคม อีกทั้งการกินกาแฟยังมีแตกต่างกันออกไปโดยแบ่งเป็นภาคเหนือและภาคใต้ โอกาสของธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ 1) ภาคใต้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและมีชนชั้นกลางจำนวนมาก เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจแฟรนไซส์กาแฟเพราะทั้งรายได้ประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 2.) พฤติกรรมการบริโภคที่เร่งรีบมากขึ้น กาแฟแคปซูล จึ่งเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะมีการเติบโต 11% และกำลังตีตลาดในอาเซียน 3) กาแฟสำเร็จรูปของไทยมีคุณภาพและมีโอกาสที่จะทำตลาดได้ 4) อุตสาหกรรมสนับสนุนหรือธุรกิจต่อยอด เช่น การนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

เมษายน 2561

ทำไมคนเวียดนามในภาคใต้จึงนิยมบริโภคสินค้าไทย ?

ปัจจุบันชนชั้นกลางเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจของเวียดนาม ด้วยกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจึงมีคุณภาพมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าไทยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยราคาสมเหตุสมผลคุณภาพทัดเทียมกับสินค้าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ปัจจัยที่พิสูจน์ว่าสินค้าไทยมีดีอย่างไร คือ 1) การเต็มใจจ่ายซื้อสินค้า 2) การซื้อสินค้าไม่เอาราคาเป็นที่ตั้ง 3) สัญลักษณ์ Made in Thailand สามารถการันตีได้ถึงคุณภาพ แม้ปัจจุบันจำนวนคู่แข่งจะมากขึ้นแต่โอกาสยังสดใสอยู่ โดยเฉพาะเมืองอย่างโฮจิมินห์ ดานัง และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เพราะกำลังซื้อที่เพิ่มถึง 10% ในปี 2560 และคาดว่าในปี 2563 มูลค่าการค้าปลีกจะอยู่ที่ 180,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หนทางสำหรับสินค้าไทยยังมีอยู่มากจากความชื่นชอบสินค้าไทยในคุณภาพ ภาพลักษณ์ และราคา และการที่ปัจจัยทางด้านการคมนาคมที่เชื่อมกัน รวมถึงระบบโลจิสติกส์มีความเข้มแข็ง สินค้าที่มีศักยภาพในการเติบโตในภาคใต้เวียดนาม ได้แก่ สินค้าด้านการดูแลสุขภาพ เครื่องสำอาง อาหารและเครื่องดื่ม และการศึกษา

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

21 กันยายน 2560

จับตา “เบียร์คราฟท์”: ธุรกิจเกิดใหม่ที่โดดเด่นในภาคใต้ของเวียดนาม โอกาสของผู้ผลิตเบียร์จากไทย

ปัจจุบันวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ที่นิยมเป็นอย่างมากในหมู่ผู้บริโภครุ่นใหม่และจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มมากขึ้น อัตราการบริโภคเบียร์เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย มูลค่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ การบริโภคอยู่ที่ 4.84 ล้านลิตรต่อปี ในนครนครโฮจิมินห์เมืองพบว่ามีธุรกิจการผลิต “เบียร์คราฟท์” มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่เป็นของชาวตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษ และมีชาวเวียดนามหันมาทำธุรกิจนี้มากขึ้น เพราะการบริโคของชนชั้นกลางหรือรุ่นใหม่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังตั้งตัวเองเป็นเมืองหลวงแห่งเบียร์คราฟต์ของภูมิภาคอาเซียน อาศัยความได้เปรียบในการผลิต ต้นทุนไม่สูง ใช้วัตถุดิบในประเทศ โอกาสของผู้ประกอบการคือ การจัดตั้งธุรกิจง่าย ไม่ยุ่งยาก ตลาดสามารถเติบโตได้อีก ที่ตั้งประเทศสามารถกระจายสินค้าได้ดี นักลงทุนไทยสามารถเข้ามาเปิดโรงงานผลิตหรือรับจ้างผลิตลักษณะ OEM เพื่อนำไปขายได้ทั้งในและต่างประเทศได้

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์

2 มีนาคม 2561

ไขกุญแจความสำเร็จโครงการมิกซ์ยูสในสิงคโปร์ สู่โอกาสการลงทุนในเวียดนาม

โครงการมิกซ์ยูสกำลังเป็นที่น่าสนใจของเวียดนามในตอนนี้ โดยมี 3 ส่วนที่ร่วมกันผลักดันคือ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใช้ชีวิตแบบ (live – work – play) ในสถานที่เดียว สำหรับปัจจัยความสำเร็จคือ การผสมผสานกันของประเภทอสังหาฯ ทำเล และระบบขนส่งสาธารณะ ยกตัวอย่างของ Marina Bay Sands ในสิงคโปร์ โดยรัฐบาลเวียดนามเล็งการพัฒนาโครงการที่แขวงถูเทียม นครโฮจิมินห์ เพื่อรองรับการขยายพื้นที่ CBD (Central Business District) มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมและลดระยะเวลาของเมืองถูเทียมกับ CBD เช่น สร้างอุโมงค์และสะพาน ส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่ง 40% แต่สิ่งที่พึงระวังคือ การลงทุนเป็นโครงการขนาดใหญ่ มูลค่าการลงทุนสูงและมีความซับซ้อน ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการจัดการเงินทุน เลือกผู้ร่วมลงทุนที่สอดคล้องกับประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุน ส่วนการลงทุนในต่างประเทศควรดูเงื่อนไขการลงทุน กฎหมาย การจัดการที่ดิน และมาตรการการส่งเสริมภาครัฐเป็นสำคัญ