กัมพูชาและเวียดนามร่วมพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการค้าชายแดน

นายกรัฐมนตรีประจำประเทศเวียดนามได้ออกแผนการดำเนินการบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาและการเชื่อมต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าชายแดนระหว่างเวียดนามและกัมพูชา โดยการดำเนินการเริ่มต้นในวันที่ 19 สิงหาคม และจะมีผลจนถึงเดือนตุลาคม 2022 ซึ่งกระทรวงที่เกี่ยวข้องถูกกำหนดให้จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านการสื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักในเนื้อหาของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการค้าชายแดนเวียดนาม – กัมพูชา เพื่อส่งเสริมการค้ากับกัมพูชา และแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน รวมถึงจัดหลักสูตรการฝึกอบรม ซึ่งในปี 2021 และ 2022 ทั้งสองประเทศจะทำการสำรวจการสร้างตลาดชายแดน ดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักธุรกิจเวียดนามและกัมพูชาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าชายแดน เพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่เกี่ยวข้อง และ บริษัท สนับสนุนในการแนะนำและกระจายสินค้าที่ตลาดชายแดน ศูนย์การค้า และงานแสดงสินค้า โดยเวียดนามและกัมพูชามีพรมแดนทางบกยาวเกือบ 1,137 กม. ผ่าน 10 จังหวัดของเวียดนาม และ 9 จังหวัดของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755887/cambodia-and-vietnam-to-develop-infrastructure-to-facilitate-border-trade/

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

การค้าข้ามพรมแดนของไทยลดลงร้อยละ 9.18 เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงครึ่งปีแรกเนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ และสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ชะลอตัว มีเพียงกัมพูชาซึ่งเป็น 1 ใน 4 ประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย โดยเป็นชาติเดียวที่มีการเติบโตทางด้านการค้า แต่เติบโตแบบชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 2.27 ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งกรมการค้าต่างประเทศรายงานภาพรวมการค้าข้ามพรมแดนรวมมีมูลค่า 627 พันล้านบาท ในเดือนมกราคมถึงมิถุนายน โดยมาเลเซียเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดคิดจากมูลค่าการค้า จากตัวเลขทั้งหมดการส่งออกอยู่ที่ 365 พันล้านบาทลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ 9.98 สู่ 262 พันล้านทำให้เกินดุลการค้าอยู่ 103 พันล้านบาท ซึ่งผู้อำนวยการใหญ่กรมการค้าต่างประเทศกล่าวว่ามาตรการ ป้องกันการระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการค้าและการท่องเที่ยว รวมถึงเศรษฐกิจโดยรวมทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50755682/cross-border-trade-between-cambodia-and-thailand-shows-marginal-increase/

นายกฯ มอบ มท.-พาณิชย์จัดการ แก้ปัญหาขนส่งสินค้าข้ามเขต ชี้เคอร์ฟิวเป็นเหตุน้ำพริกบูด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รมว.กลาโหม มอบหมายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้หน่วยงานกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทยและฝ่ายความมั่นคง ร่วมกันหาทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่จำเป็นต้องส่งสินค้าข้ามจังหวัดในช่วงที่มีการเคอร์ฟิว หลังพบการร้องเรียนจากผู้ประกอบธุรกิจหลายรายว่า แต่ละจังหวัดมีมาตรการการตรวจสอบไม่เหมือนกัน ทำให้การขนส่งสินค้าไม่สะดวก โดยผลการประชุมสำคัญเรื่องแรกเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 มาตรการการกีดกันการเคลื่อนย้ายพรมแดนควรขึ้นอยู่กับการพิจารณาด้านสาธารณสุข ไม่ควรมีการจำกัดการค้าในภูมิภาคโดยไม่จำเป็น รวมถึงได้ข้อตกลงร่วมกันเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาด พร้อมเห็นชอบในหลักการการลดค่าธรรมเนียมการให้บริการโทรศัพท์ข้ามแดนระหว่างประเทศให้เป็นอัตราเดียวกันในอาเซียน โดยรอผลการพิจารณาจากองค์กรรายสาขาที่เกี่ยวข้อง และยังเห็นชอบให้มีการลงนามความตกลงยอมรับร่วมสาขายานยนต์อาเซียนภายใน ส.ค.63 นี้

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1827079

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามยังคงที่ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชากับเวียดนามได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดแม้จะมีการหยุดการเข้าและออกของประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันที่ถูกเรียกว่า COVID-19 โดยการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเวียดนาม Truong Cong Nhan ของแผนกศุลกากรที่ด่านชายแดน Khanh Binh ภายใต้สำนักงานศุลกากรจังหวัด Giang กล่าวว่าการขนส่งสินค้าผ่านช่องทาง Khanh Binh – Chrey Thom ยังคงดำเนินต่อไปตามปกติ รถบรรทุกต่อวันเทียบเท่ากับจำนวนก่อนที่คำสั่งระงับการเข้า – ออกจะมีผลในวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้มาตรการกักกันทางการแพทย์ได้ถูกนำไปใช้อย่างเคร่งครัดกับรถบรรทุกที่เข้าสู่เวียดนามเพื่อรับสินค้าที่ส่งออกไปยังกัมพูชา โดยกองกำลังทั้งสามของกัมพูชารวมถึงหน่วยแพทย์ชายแดนและด่านศุลกากรได้ทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อปฏิบัติตามขั้นตอนการกักกันอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้ขับขี่ จากนั้นคนขับจะรอในห้องกักกันขณะที่โหลดสินค้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707441/trade-across-cambodia-vietnam-border-remains-stable-amid-covid-19-outbreak/

COVID-19 พ่นพิษค้าชายแดนเมียนมา – อินเดีย อ่วม

การค้าชายแดนอินเดีย – เมียนมาชะลอตัวลงหลังการปิดประตูชายแดนในมิโซรัมและมณีปุระประเทศอินเดียเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ระบาดไปทั่วโลก รัฐชินและเขตซะไกง์ของเมียนมาซึ่งมีพรมแดนติดกับมณีปุระและมิโซรัมของอินเดียถูกสั่งปิดประตูชายแดนทั้งสามแห่งตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม การค้าชายแดนแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียส่วนใหญ่ผ่าน Htantalan และ Reed camps ในรัฐชิน และตะมู่ในเเขตซะไกง์ ธุรกิจที่พึ่งพาการค้าชายแดนกำลังชะงัก นักท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเดินทาง และการส่งออกสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าการค้าชายแดนตะมู่ในปีงบประมาณ 2561-2562 อยู่ที่ 96.667 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 95.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 1.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการค้าชายแดนรีดในช่วงเวลาเดียวกันคือ 104.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 82.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 22.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการค้าผ่านประตูชายแดนตะมู่ในช่วงสามเดือนของปีงบประมาณ 2561-2562 ถึงธันวาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 19.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 19.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 29,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันปริมาณการค้าโดยรวมผ่านทางโพสต์การซื้อขายชายแดน Reed อยู่ที่ 14.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 13.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 1.311 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-trade-hit-border-closures.html

ค้าชายแดนเมียนมาสูงถึง 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 4 เดือน

ปริมาณการค้าชายแดนสูงกว่า 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 31 มกราคมในปีงบประมาณนี้มากกว่า 590 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน รายได้ 1.896 พันล้านเหรียญสหรัฐจากเขตการค้าชายแดนมูเซ ซึ่งมากกว่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กระทรวงพาณิชย์คาดจะมีรายรับ 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 62 – 63 และจะส่งออกสินค้ามูลค่า 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมียนมากำลังส่งเสริมทั้งคุณภาพและปริมาณของสินค้าส่งออกเพื่อปรับปรุงการค้าและจะนำเข้าสินค่าที่สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจได้ในระยะยาว

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/border-trade-amount-reaches-to-over-us37-b-within-four-months

เมียนมาเล็งหาตลาดส่งออกใหม่หลังการระบาดของไวรัสโคโรน่าในจีน

เมียนมาเร่งขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ เพื่อชดเชยต้องการที่ของจีนซึ่งกำลังได้รับผลดระทบจากไวรัสโคโรนา ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 14,000 คนและเสียชีวิตกว่า 300 รายส่วนใหญ่มาจากมณฑลหูเป่ย ปัจจุบันการส่งออกแตงหยุดชะงักและราคาได้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง ดังนั้นจึงมีการเตรียมการที่จะส่งสินค้าไปยังตลาดอื่น ๆ มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของอุปสงค์จากจีน โดยมีการวางแผนในการส่งออกสินค้าทางอากาศและทางทะเลเพื่อชดเชยการค้าที่ชายแดนที่ลดลง นับตั้งแต่มีการระบาดของโคโรนาไวรัสจีนได้หยุดการนำเข้าแตงและเก็บสต๊อกผลไม้ในมณฑลยูนนาน ประมาณ 80 %ของการค้าชายแดนทั้งหมดเกิดขึ้นที่ด่านมูเซ ปริมาณการค้าชายแดนทั้ง 2 ประเทศอยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่างวันที่ 1 ตุลาคมถึง 24 มกราคมของปีงบประมาณปัจจุบัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-hedge-against-slower-china-trade-due-coronavirus.html

กัมพูชาและเวียดนามพยายามส่งเสริมการค้าผ่านชายแดนระหว่างกัน

ขณะนี้กัมพูชาและเวียดนามเริ่มดำเนินการร่วมกันเกี่ยวกับจุดตรวจชายแดนเพื่อส่งเสริมการการค้าการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะขออนุญาตจากรัฐบาลของพวกเขาในการร่างข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับประตูชายแดนที่ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการค้าข้ามพรมแดน ซึ่งมองว่าทั้งสองประเทศมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาด่านหรือประตูชายแดนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้ามพรมแดนเพิ่มมากขึ้นเพื่อจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าบริการและการลงทุนระหว่างจังหวัดชายแดนกัมพูชาเวียดนาม โดยในที่ประชุมเห็นชอบที่จะหาทางพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาที่แท้จริงในแต่ละท้องที่รวมทั้งสอดคล้องกับกฎหมายและแผนพัฒนาของแต่ละประเทศ ซึ่งปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชาและเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีที่แล้วมีมูลค่าสูงถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยสูงกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลทั้งสองตั้งเป้าไว้ในปี 2563 ซึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเรียกร้องให้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมตามแนวชายแดนเวียดนาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50679157/cambodia-vietnam-seek-to-promote-border-trade

รัฐบาลเมียนมาตั้งเป้าคุมการค้าผิดกฎหมาย

รัฐบาลจะเพิ่มการกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายโดยการวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ จากการเปิดเผยระหว่างการประชุมคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชนเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา การค้าที่ผิดกฎหมายผ่านบริเวณชายแดนมีผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในท้องถิ่น และเพื่อจัดการกับปัญหารัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา จากข้อมูลล่าสุดพบว่าเมียนมาอยู่ในอันดับต่ำสุดของดัชนีสภาพแวดล้อมการค้าโลกผิดกฎหมายในปี 61 จากข้อมูลการนำเข้าพบว่ามูลค่าการค้ารวมของสินค้าอุปโภคบริโภคหกรายการมีมูลค่า 2.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากทั้งหมด 6.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าผิดกฎหมายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการลักลอบขนของผ่านเส้นทางการค้าชายแดน ศุลกากรและหน่วยงานรัฐฯ ยึดสินค้าที่ลักลอบนำเข้าจากท่าเรือ สนามบิน และชายแดนมูลค่าเกือบ 34.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (25.14 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีที่แล้วคิดเป็นเพียง 0.4% ของการค้าที่ผิดกฎหมายตัวขับเคลื่อนหลักของการค้าที่ผิดกฎหมายคือ กำไรจากการเลี่ยงภาษี สาเหตุอีกประการหนึ่งคือข้อการจำกัดการนำเข้าสินค้า คณะกรรมการพัฒนาเอกชนได้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมายในเก้ารัฐและภูมิภาค สามารถป้องกันการลักลอบขนสินค้า 1,065 มูลค่ามูลค่ารวม 15.645 พันล้านจัต จากกันยายน 61 ถึงตุลาคม 62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/government-sets-sights-curbing-illegal-trade.html

ยอดนักท่องเที่ยวผ่านชายแดนเมียนมามากว่า 1.1 ล้านคน

ตั้งแต่เดือน ม.ค. ถึง 21 พ.ย.62 มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 1.1 ล้านคนเดินทางมาเมียนมาผ่านประตูชายแดนท่าขี้เหล็ก นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงสนามบิน ท่าเรือ และประตูด่านชายแดนระหว่างเดือน ม.ค. ถึงเดือน ก.ย. ของปีนี้เพิ่มขึ้นกว่า 600,000 คนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในปี 61 เดือน ม.ค. ถึงเดือ ธ.ค. นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนกว่า 3.5 ล้านคน และ 3.4 ล้านคนในปี 60 ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้ประตูชายแดนเพื่อเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/over-11-m-tourists-visit-myanmar-via-border