สัมมนาดิจิตอล 2020 ในกัมพูชาต้องเลื่อนออกไปจากการระบาดของ COVID-19

กัมพูชากำลังประสบกับปัญหาการระบาดของ Covid-19 นำไปสู่การเลื่อนจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่สำคัญหลายอย่างที่มีกำหนดที่จะจัดขึ้นในเดือนนี้ในกัมพูชารวมถึงงาน Digital Cambodia 2020 ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดสำหรับภาคดิจิตอลที่กำลังขยายตัวในปีนี้ ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 มีนาคมที่ผ่านมา ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า Diamond Island ในกรุงพนมเปญ มีบริษัทเกือบ 200 แห่ง ทั้งในและต่างประเทศในภาคดิจิตอลและสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะดึงดูดชาวกัมพูชาและนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 30,000 คน แต่ต้องทำการเลื่อนออกไปจากการแพร่ระบาดของไวรัสในปัจจุบัน โดยงานสัมมนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลุ่มคนที่มีความสามารถซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภาคเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตของกัมพูชา แต่ด้วยการระบาดของ Covid-19 แผนทั้งหมดจึงจำเป็นที่จะต้องถูกเลื่อนออกไปก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705451/pandemic-means-that-digital-2000-postponed/

กลยุทธ์ส่งออก ฝ่าโควิด-19 ดันสินค้า Essential-Online Exhibition

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการค้าโลก ทำให้โอกาสที่การส่งออกปี 2563 จะขยายตัว 3% ตามเป้าหมาย เริ่มจะห่างไกลออกไป แม้ว่าจะเปิดฉากมาในเดือนมกราคม 2562 ที่บวกถึง 3.35% แต่ล่าสุดสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) รายงานว่า การส่งออกไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2563 มูลค่า 20,641 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.47% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 16,745 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.30% ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุล 3,897 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยพิจารณาการส่งออกรายสินค้าพบว่า สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 3.0% จากการหดตัวของการส่งออกข้าว ในตลาดสหรัฐและจีน ผัก ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป หดตัวจากตลาดจีน ส่วนสินค้าที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งปรุงรสอาหาร ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป จากผลพวงปัญหาการระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ตลาดส่งออกสำคัญหลายตลาดหดตัว อาทิ จีน ติดลบ 2% ฮ่องกง ลบ 3% ญี่ปุ่น ลบ 7% ขณะที่สหรัฐ ลดลง 37% ต่ำสุดเนื่องจากฐานการส่งออกของสหรัฐในปีที่ผ่านมาขยายตัวจากการส่งออก “อาวุธ” และเป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดอาเซียนภาพรวม ขยายตัว 6.1% โดยเฉพาะตลาด CLMV ขยายตัว 5.8%

ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 – 29 มี.ค. 2563

สถานการณ์ร้านค้าปลีกในกัมพูชาระหว่างการแพร่ระบาด COVID-19

การกักตุนสินค้าได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในกรุงพนมเปญ เนื่องจากการปิดชายแดนกัมพูชาจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดความกังวลว่าจะขาดแคลนอาหารภายในประเทศ ส่งผลให้ราคาสินค้าหลักประเภทอาหารเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศว่าจะดำเนินการเพื่อหยุดการกระทำของผู้ค้ากลุ่มที่กำลังแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งผู้ขายอาหารในท้องถิ่นกล่าวว่าปลาแห้งราคาเพิ่มขึ้นจาก 25,000 riels (6.25 ดอลลาร์) เป็น 35,000 riels (8.75 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัมเนื้อหมูเพิ่มขึ้นจาก 19,000 riels (4.75 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัมเป็นประมาณ 30,000 riels (7.5 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัมทันที ส่วนเส้นก๋วยเตี๋ยวเพิ่มขึ้นจาก 20,000 riels (5 ดอลลาร์) เป็น 32,000 riels (8 ดอลลาร์) ต่อกล่องเป็นต้น โดยกระทรวงมีความกังวลเป็นอย่างมากเกี่ยวกับราคาของสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มงวดเพื่อทำการควบคุมราคาของสินค้าในตลาด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705054/retailers-told-to-not-price-gouge-from-panic-buying/

แรงงานเมียนมาเดินทางกลับจากไทยต้องถูกกักที่โรงพยาบาลโมนยวา

ในวันที่ 23 มีนาคม กรมอนามัยเขตเมืองสกายออกประกาศ คนงานที่เดินทางกลับจากประเทศไทยถูกกักกันที่โรงพยาบาลโมนยวา สมาคมสุขภาพและสมาคมสวัสดิการสังคมกำลังร่วมมือกันตรวจสุขภาพของแรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับจากประเทศไทย พบว่าหนึ่งในแรงงานมีอุณหภูมิร่างกายสูงและถูกส่งตัวไปโรงพยาบาล ส่วนคนงานอื่น ๆ ถูกกักตัวอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 14 วัน แรงงานอพยพทั้งหมด 15 คนยังโมนยวาทั้งที่มาจากประเทศไทย เมืองอะยาดอ เมืองกะนี เมืองซ่าลี่นจี้ เมืองดีแบ้ยี่น และเมืองโมนยวา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/a-worker-returned-from-thailand-keeps-in-quarantine-at-monywa-hospital

ธนาคารกลางเมียนมาหั่นดอกเบี้ยลงอีก 1%

ธนาคารกลางของเมียนมา(CBM) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 1% ในวันนี้ (24 มีนาคม) โดยลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 1.5%ภายในระยะเวลาสองสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารจะลดลงอย่างน้อย 6.5% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะไม่เกิน 11.5pc สำหรับสินเชื่อที่มีหลักประกันและ 14.5% สำหรับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันอื่น ๆ ภายหลังหนึ่งวันหลังมีรายงานผู้ป่วย COVID-19 สองรายเป็นครั้งแรก CBM ปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรก 0.5pc ในวันที่ 13 มีนาคมอัตรามีผลบังคับใช้ 16 มีนาคม ตั้งแต่วันนี้ถึง 1 เมษายนอัตราเงินฝากขั้นต่ำจะเป็น 7.5% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยจะไม่เกิน 12.5% สำหรับสินเชื่อที่มีหลักประกันและ 15.5%สำหรับสินเชื่อที่มีการค้ำประกันอื่น ๆ การผ่อนคลายนโยบายการเงินของ CBM เกิดขึ้นหลังจากโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าหลายแห่งปิดตัวลงเนื่องจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานและวัตถุดิบ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีโรงงานอย่างน้อย 20 แห่งจาก 500 แห่งที่ปิดกิจการทำให้มีผู้ว่างงานมากกว่า 10,000 คน เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19 ด้านประกอบการท้องถิ่นกล่าวว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยสามเดือนก่อนที่จะเห็นผลกระทบของอัตราที่ลดลงหลังจากนั้นอาจจำเป็นต้องลดลงต่อไปอีก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-central-bank-cuts-interest-rate-further-1.html

เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์พุ่งสูงขึ้นไปยังสหรัฐฯ ในช่วง 2 เดือนแรก

จากรายงานของกรมศุลกากร เผยว่าเวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังสหรัฐฯ ด้วยปริมาณอยู่ที่ 17,900 ตัน คิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 126.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21, 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยราคาส่งออกเฉลี่ยของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในช่วง 2 เดือนแรก อยู่ที่ 7,046 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับตลาดสหรัฐฯ เนเธอแลนด์และจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ สมาคมเม็ดม่วงหิมพานต์เวียดนาม ระบุว่าอุตสาหกรรมเม็ดมะม่วงหิมพานต์ของเวียดนาม คาดว่าจะได้รับความลำบากในการส่งออกช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสินค้าล้นตลาด ซึ่งการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าว มีความเสี่ยงหลายประการด้วยกันและเกิดความผันผวนของตลาดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ ทางหน่วยงานแนะนำให้ผู้ประกอบการประเมินอย่างรอบด้านก่อนที่จะทำสัญญาซื้อเม็ดมะม่วงหิมพานต์(ดิบ) โดยไม่มีทางออก และควรติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนการผลิตเป็นไปอย่างเหมาะสมและตั้งเป้าแผนธุรกิจในปีนี้ รวมถึงแนะนำให้อุตสาหกรรมในประเทศพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องและค่อยปรับปรุง/ซ่อมแซ่มเครื่องจักร อุปกรณ์ เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/654034/viet-nams-cashew-exports-to-us-up-in-two-months.html

“นักลงทุนต่างชาติ” เข้าไปลงทุน 8.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเวียดนาม ช่วงไตรมาสแรก

จากรายงานของหน่วยงานการลงทุนในต่างประเทศ (FIA) เปิดเผยว่าตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 30 มี.ค. นักลงทุนต่างชาติได้เข้าไปลงทุนด้วยมูลค่า 8.55 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.1 ของช่วยเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีโครงการใหม่ที่ได้รับอนุญาตการลงทุน 758 โครงการ มูลค่าการลงทุน 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนที่เหลือเทไปยังโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยมูลค่า 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และซื้อหุ้นราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง ในชวันที่ 20 มี.ค. เวียดนามมีเงินทุนจดทะเบียนรวม 370 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนการลงทุน 31,665 โครงการ และโครงการที่มาจาก FDI มีมูลค่า 215.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.3 ชองเงินทุนจดทะเบียนรวม ทั้งนี้ เกาหลีใต้ยังคงเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยจำนวนลงทุน 8,702 โครงการ และมีมูลค่าเงินทุนจดทะเบียนสะสมรวม 68.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นต้น ขณะที่ โฮจิมินห์, ฮานอย, บิ่ญเซือง, ด่งนายและหวุงเต่า ล้วนเป็นจุดมุ่งหมายชั้นนำในการลงทุนจากต่างชาติ นอกจากนี้ การคาดการณ์ของกระทรวงวางแผนและการลงทุน มองว่าในปี 2563 เวียดนามจะดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างชาติ 38.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถ้าสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ยังคงดำเนินจนถึงสิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ และมูลค่า 38.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หากไวรัสดังกล่าวดำเนินไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่สอง ซึ่งเทียบกับปี 2562 ที่มีมูลค่า FDI อยู่ที่ 38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุนี้ เวียดนามตั้งเป้าดึงดูดเม็ดเงินทุนจากต่างชาติในปี 2563 อยู่ที่ 39.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อระงับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/654053/foreign-investors-pour-855b-in-vn-in-q1.html

ธนาคารช่วยเหลือลูกค้าจากผลกระทบของโควิด-19

รองผู้ว่าการธนาคารกลางเวียดนาม (State Bank of Vietnam) เรียกร้องให้ธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 จากตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ของเวียดนาม อาทิ Agribank, VietinBank, Vietcombank และ BIDV ให้พิจารณาถึงสถานการณ์ของตนเองในอีกอนาคตข้างหน้า เพื่อที่จะรองรับกับไวรัสต่อไป ซึ่งภาคธนาคารทั้งหมดจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกับธุรกิจเพื่อที่จะผ่านความยากลำบาก และทางผู้ว่าฯ มอบหมายธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง ได้แสดงบทบาทในการผลักดันตลาดและการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้และขยายเวลา ขณะที่ การประเมินความสูญเสียจากการแพร่ระบาดไปยังลูกค้านั้น ธุรกิจควรจะให้ความสนใจถึงสภาพแวดล้อมและจัดลำดับความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก การผลิตและการจัดจำหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าจำเป็นและสวัสดิการสังคม ทั้งนี้ ผู้อำนวยการฝ่ายสินเชื่อของธนาคารกลาง ได้ชี้ให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของไวรัส ส่งผลกระทบต่อการหยุดชะงักของกิจกรรมการดำเนินงานในธุรกิจและการเก็บหนี้ รวมถึงธนาคารทุกแห่งจำเป็นที่จะต้องดูแลการดำเนินงานขององค์กร บริษัทและลูกค้าอื่นๆ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/banks-support-customers-affected-by-covid19-411673.vov

น้ำมันดิ่ง-โควิด ทุบยอดส่งออก ก.พ.2563 พลิกเป็นลบ 4.47% จากเดือนก่อนบวก 3.35%

ส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลง 4.47% ผลจากราคาน้ำมันลดลง แต่ทั้งนี้ ยังเชื่อมั่นทั้งปี 2563 ว่าการส่งออกไทยยังมีโอกาสขยายตัวเป็นบวกได้ รับปัญหาโควิด-19 ยังประเมินทิศทางผลกระทบส่งออกเร็วไปรอติดตามสถานการณ์สักระยะ การส่งออกไทยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ลดลง 4.47% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าอยู่ที่ 20,641 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการราคาน้ำมันปรับตัวลดลง และฐานการส่งออกอาวธในช่วงซ้อมรบในปีก่อน แต่หากดูเฉพาะมูลค่าการส่งออกถือว่ามูลค่าการส่งออกของไทยยังทรงตัวดีมีมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังอยู่ที่ 19,871 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างปี 2558-2562 อย่างไรก็ดี หากหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย การส่งออกของไทยในเดือนนี้ยังขยายตัวอยู่ที่ 1.51% ขณะที่ การนำเข้ามีมูลค่า 16,745 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 4.30% ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุล 3,897 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี การส่งออก 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี 2563 ไทยส่งออกส่งออกลดลง 0.81% มีมูลค่าอยู่ที่ 40,267 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้การค้าไทยเกินดุลอยู่ที่ 2,341 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัว 3.0% สินค้าที่ยังขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา อาหารสัตว์เลี้ยง สิ่งปรุงรสอาหาร ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป ส่วนสินค้าที่หดตัว เช่น ข้าว ผลจากตลาดสหรัฐและจีน ผัก ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป หกตัวจากตลาดจีน น้ำตายทราย เป็นต้น ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว 5.2% สินค้าที่ยังขยายตัวดี เช่น ทองคำ ขยายตัวทุกตลาด เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิเตอร์และส่วนประกอบ ผลิตภันฑ์ยาง สินค้าที่ส่งออกหดตัว เช่น อาวุธ กระสุน รวมทั้งส่วนประกอบ ซึ่งหดตัวจากตลาดสำหรับ สิงคโปร์ อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน โดยจะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันโลกผันผวนปรับตัวลดลง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภันฑ์ เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับการส่งออกไปในตลาดสำคัญในช่วงปัญหาโควิด-19 นั้น หดตัวไปในหลายตลาด เช่น สหรัฐ เนื่องจากปีที่ผ่านมาฐานการส่งออกอาวุธสูง แต่ในปี 2563 ลดลง ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น อย่างไรก็ดี สำหรับทิศทางการส่งออกในเดือนมีนาคม 2563 แม้อาจจะลอตัวอยู่บ้างแต่เชื่อว่าการส่งออกในครึ่งปีแรก 2563 จะกลับมาขยายตัวดี จากสถารการณ์ของจีนดีขึ้นจะมีผลต่อการเร่งนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรและอาหาร และชดเชยจากการส่งออกในตลาดสหรัฐและยุโรป เริ่มชะลอตัวลงจากปัจจัยเรื่องของโควิด-19 ทั้งนี้ หากจะให้การส่งออกของไทยทั้งปี 2563 ต้องการให้ขยายตัวอยู่ที่ 0% ไทยต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือน 20,598 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหากต้องการให้โต 2% ไทยต้องส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 21,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-436313

รัฐบาลมีแผนจะออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

รัฐบาลสปป.ลาวจะมีการออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายที่เศรษฐกิจได้รับ ถึงแม้สปป.ลาวจะเป็นประเทศในอาเซียนที่การแพร่ระบาดจะยังไม่หนักเหมือนประเทศต่างๆ ในอาเซียน แต่รัฐบาลก็ตระหนักถึงผลกระทบ เนื่องจากประเทศคู่ค้าที่สำคัญหลายๆประเทศไม่ว่าจะเป็น จีน ไทย สิงคโปร์ ฯลฯ  ทำให้การค้าต้องชะลอตัวลงส่งผลต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวโดยรัฐบาลสปป.ลาว ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดูแลเฉพาะด้านเศรษฐกิจในช่วงนี้ขึ้นมาซึ่งจะมีการออกมาตรา 13  อย่างออกมาแก้ปัญหาโดยจะมี การรับรองการจัดการรถไฟลาว – ​​จีน,โครงการก่อสร้างทางด่วน,โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ,การอำนวยความสะดวกในการนำเข้า – ส่งออกสินค้า,การควบคุมค่าครองชีพที่มีแนวโมเพิ่มตัวต่อเนื่องจากราคาสินค้าบริโภคที่มีการปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมมากนักเพราะจะต้องมีการประชุมเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งก่อนที่จะประกาศใช้จริง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Stimulus_58.php