คน.ถกผู้ผลิตสินค้ารับมือชาวบ้านแห่กักตุน

กรมการค้าภายในเชิญผู้ประกอบการสินค้าหาแนวทางรับมือประชาชนกักตุนอาหาร ชี้ผู้ผลิตยืนยันยังเหลือกำลังการผลิตอีก 30% วอนประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้า ขณะนี้มีข่าวลือเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19  จนทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมามีประชาชนเข้าไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่าปกติ จนทำให้ชั้นวางสินค้าในบ้างห้างบ้างช่วงเวลาขาดแคลน จึงได้เรียกผู้ประกอบการค้าปลีกเข้ามาสอบถามสถานการณ์อีกครั้งเพื่อหาแนวทางในการดูแลไม่ให้สินค้าขาดแคลน เบื้องต้น  ได้รับการยืนยันจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคว่ามีกำลังการผลิต 70% ยังเหลือกำลังการผลิตอีก 30% ที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ทันที หากความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ปริมาณสินค้าอย่างใกล้ชิดหลังจากที่มีประชาชนวิตกกังวลจากปัญหาโรคโควิด-19 จนทำให้เร่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ไปกักตุน จนหายออกไปจากชั้นวางในห้างต่างๆ  อย่างไรก็ตามยืนยันว่า ประเทศไทย เป็นฐานการผลิตสินค้าอุปและบริโภคสำคัญของโลก โดยเฉพาะเป็นผู้ผลิตอาหาร ทั้งอาหารสำเร็จรูป และผู้ปลูกข้าวรายใหญ่ จึงไม่ต้องกลัวอาหารขาดแคลน รวมถึงสินค้าอุปโภค เช่น  กระดาษชำระที่ยังมีวัตถุดิบการผลิตเพียงพอ ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องกักตุนสินค้า ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ของประเทศกว่า 40 ราย ต่างยืนยันสินค้ามีเพียงพอต่อความต้องการบริโภคของคนในประเทศไม่มีการขาดแคลนอย่างแน่นอน  โดยตอนนี้ผู้ผลิตสินค้าได้ใช้กำลังการผลิต 70% ยังเหลืออีก 30%   จึงไม่มีความจำเป็นต้องซื้อสินค้าไปกักตุนไว้ และได้ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตและห้างสรรพสินค้าทุกรายของประเทศแล้วให้ช่วยกันดูแลสินค้าภายในห้างให้มีเพียงพอต่อความต้องการให้มากที่สุดด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/763212

COVID-19 ส่งผลกระทบต่อแรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชา

การระบาดทั่วโลกของ COVID-19 กำลังส่งผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลง รวมถึงส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาค ซึ่งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากประเทศจีน ในขณะที่การผลิตลดลงในประเทศจีนเจ้าของโรงงานในกัมพูชาได้เริ่มหยุดดำเนินการและตัดทอนแรงงานลง ซึ่งโรงงาน 10 แห่งในกัมพูชาแจ้งรัฐบาลว่าจะระงับการผลิต และคาดว่าจะมีโรงงานอีกกว่า 200 แห่งในภาคอุตสาหกรรมที่จะหยุดการดำเนินงานหรือลดกำลังการผลิตลง โดยจากแหล่งข่าวรายงานว่าแรงงานกัมพูชา 5,000 คนตกงานแล้ว ซึ่งโรงงานที่หยุดการดำเนินงานจะต้องจ่ายค่าแรง 60% ของค่าแรงขั้นต่ำ ในช่วงพักงานพนักงานจะต้องได้รับการฝึกอบรมที่จัดทำโดยกระทรวงแรงงานและอาชีวศึกษาในสถานที่ทำงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50701601/covid-19-impacts-garment-workers-in-cambodia/

ยอดขายซุปเปอร์มาร์เก็ตพุ่งสูงขึ้น ขณะที่ตลาดสดดิ่งลง

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่ารายได้ของธุรกิจภาคการค้าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้มีความต้องการสินค้าจำเป็นมากยิ่งขึ้น โดยสินค้าส่วนใหญ่ที่คนซื้อ คือกลุ่มอาหารที่จำเป็น ได้แก่ ปศุสัตว์และเนื้อสัตว์ปีก ไข่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและผัก เป็นต้น สำหรับทางฝั่งซุปเปอร์มาร์เก็จยังคงต้องส่งเสริมช่องทางอีคอมเมิร์ซ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของผู้คนเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว เพราะว่าราคาอาหารในซุปเปอร์มาร์เก็ตหลังจากช่วงปีใหม่ ยังมีเสถียรภาพอยู่และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตลาดสด สำหรับปริมาณขายสินค้าของตลาด ลดลงร้อยละ 50-70 ขณะที่รายได้ลดลงร้อยละ 50-80 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดไวรัส นอกจากนี้ ลูกค้ายังคงกังวลที่จะไปยังสถานที่แออัด ดังนั้น รายได้จากอีคอมเมิร์ซของบางธุรกิจนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20-30

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sales-at-supermarkets-surge-wet-markets-drop/170116.vnp

เมียนมาตั้งทีมงานเยียวยาเศรษฐกิจสำหรับ Covid-19

เมียนมาได้ตั้งคณะทำงานเพื่อร่างแผนการแก้ไขผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจาก Covid-19 โดยร่วมมือระหว่างกระทรวงและองค์กรของรัฐบาลเมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการมีหน้าที่หกประการ มีเป้าหมายเพื่อใช้มาตรการฉุกเฉินและร่างแผนระยะสั้นและระยะยาว เพื่อลดปัญหาทั้งจากการค้าและการท่องเที่ยว สร้างงานใหม่สำหรับคนที่ว่างงานทำและฝึกอบรมสายอาชีพให้ หาวิธีการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศอื่น ๆ แทนที่จะพึ่งพาจีน เนื่องจากเหตุการณ์ที่คล้ายกัน เช่น Covid-19 ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในระยะยาว บริษัทจำเป็นต้องนำระบบซัพพลายเชนมาใช้โดยการจัดตั้งอุตสาหกรรมการทอผ้า การถัก การย้อม และการตัดเย็บ คณะกรรมการจะยื่นข้อเสนอต่อสำนักงานประธานาธิบดีเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีและการลดหย่อนภาษีหาก Covid-19 มีผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมในท้องถิ่น เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 รัฐบาลได้สั่งห้ามให้มีการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคมถึง 30 เมษายน 2563

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-president-office-forms-economic-remedy-committee-for-covid-19

COVID-19 พ่นพิษ แรงเมียนมาตกงานกว่า 4,000 คน

กระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากรของเมียนมาชี้มีแรงงานกว่า 4,000 คนตกงานตั้งแต่ต้นปีเนื่องจากการปิดตัวและลดจำนวนแรงงานใน 15 โรงงาน และมีโรงงานอีก 20 แห่งที่ยื่นคำร้องขอระงับการดำเนินการ เหตุผลหลักๆ คือการขาดวัตถุดิบและไม่มีคำสั่งซื้อของสินค้า จากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 และปัญหาการเช่าที่ดิน สำหรับโรงงานที่ได้รับผลกระทบ 15 แห่ง ปิดอย่างถาวรไปแล้ว 9 แห่ง ปิดชั่วคราว 6 แห่ง และอีก 2 แห่งลดจำนวนแรงงานลง คนงานที่ว่างงานจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพขึ้นอยู่กับเงินสมทบประกันสังคม แต่ไม่ใช่สวัสดิการการว่างงาน โรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตย่างกุ้ง, พะโคและเขตอิรวดีโดยส่วนใหญ่ผลิตกระเป๋า รองเท้า และเครื่องนุ่งห่ม ในบรรดาผู้ที่ตกงานเป็นชาวจีนและชาวเกาหลีที่ทำในโรงงานเหล่านี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าตั้งแต่ต้นปีโรงงานเปิดใหม่สร้างงานได้ถึง 6,000 ตำแหน่ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/4000-workers-myanmar-unemployed-over-shutdown-workforce-reduction.html

ประชาชนตื่นรับมือวิกฤติโคโรนาแห่ซื้อสินค้าจำเป็นเข้าบ้าน ข้าวสาร น้ำดื่ม อาหารกระป๋อง ทิชชูยอดฮิต

จากการสำรวจของ”ฐานเศรษฐกิจ” ในช่วงสุดสัปดาห์ พบว่าจากกระแสที่ประชาชนเริ่มกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19ว่าจะกินระยะเวลายาวไปนานแค่ไหนยังไม่มีใครตอบได้ อีกทั้งการแพร่ระบาดก็เพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนจำนวนมากออกมาจับจ่ายซื้อสินค้าจำเป็นในช่วงสุดสัปดาห์  โดยพบว่ามีสินค้าที่วางขายตามห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างค้าปลีก บางประเภทเริ่มขาด  เช่น น้ำดื่ม บางยี่ห้อ ข้าวสาร อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำตาลทราย  และกระดาษทิชชูบางยี่ห้อ   จากการสอบถามของพนักงานขายที่ร้านโมเดิร์นเทรดแห่งหนึ่งในย่านลาดพร้าว  ยอมรับว่าช่วงวันหยุดสินค้าจำเป็นหลายอย่างขายดี บางช่วงขาดต้องรอมาเติมเป็นระยะ

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/424832?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

สหรัฐอเมริกาสนับสนุนงบประมาณแก่สปป.ลาวในการป้องกัน Covid-19

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนงบประมาณ 1.9 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในการช่วยเหลือสปป.ลาว .ในการป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 และยังมีการพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขของสปป.ลาวเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพด้านสาธารณสุขมากขึ้น โดยโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกรมควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯ (DCDC)และกระทรวงสาธารณสุขสปป.ลาวภายใต้การสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) อีกด้วย ทำให้การดำเนินการดังกล่าวมีประสิทธิภาพ ในปัจจุปันนอกจากปัญหาเรื่องความยากจนที่เป็นปัญหาเรื้อรังของสปป.ลาวที่กำลังเผชิญอยู่ ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไขคือปัญหาการเข้าถึงระบบสาธารณสุขต่างๆ ของสปป.ลาวที่ในปัจจุบันมีประชากรมากกว่าร้อยละ 50 ที่ได้รับการรักษาที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการได้รับเงินสนับสนุนดังกล่าวไม่เพียงเป็นการช่วยสนับสนุนการป้องกันไวรัส Covid-19 แต่จะทำให้ระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวมีความั่นคงและประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_USA_53.php

COVID-19 พ่นพิษค้าชายแดนเมียนมา – อินเดีย อ่วม

การค้าชายแดนอินเดีย – เมียนมาชะลอตัวลงหลังการปิดประตูชายแดนในมิโซรัมและมณีปุระประเทศอินเดียเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ระบาดไปทั่วโลก รัฐชินและเขตซะไกง์ของเมียนมาซึ่งมีพรมแดนติดกับมณีปุระและมิโซรัมของอินเดียถูกสั่งปิดประตูชายแดนทั้งสามแห่งตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม การค้าชายแดนแดนระหว่างเมียนมาและอินเดียส่วนใหญ่ผ่าน Htantalan และ Reed camps ในรัฐชิน และตะมู่ในเเขตซะไกง์ ธุรกิจที่พึ่งพาการค้าชายแดนกำลังชะงัก นักท่องเที่ยวต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเดินทาง และการส่งออกสินค้าเกษตรได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน กระทรวงพาณิชย์ระบุว่าการค้าชายแดนตะมู่ในปีงบประมาณ 2561-2562 อยู่ที่ 96.667 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 95.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 1.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการค้าชายแดนรีดในช่วงเวลาเดียวกันคือ 104.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 82.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 22.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปริมาณการค้าผ่านประตูชายแดนตะมู่ในช่วงสามเดือนของปีงบประมาณ 2561-2562 ถึงธันวาคมมีมูลค่าทั้งสิ้น 19.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 19.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 29,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกันปริมาณการค้าโดยรวมผ่านทางโพสต์การซื้อขายชายแดน Reed อยู่ที่ 14.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยมีมูลค่าการส่งออก 13.42 ล้านดอลลาร์สหรัฐและนำเข้า 1.311 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-trade-hit-border-closures.html

ความกลัวการระบาดของ Covid-19 ทำให้การเช่ารถลดลง

ธุรกิจจำนวนมากที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้องในสปป.ลาว กังวลหลังจากการระบาดของ coronavirus (Covid-19) การระบาดของโรคได้ก่อให้เกิดการยกเลิกการจองโรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งกำลังขาดทุนและบริการรถเช่ากำลังสูญเสียลูกค้า โดยการจองรถเช่าลดลงอย่างมาก เนื่องจากลูกค้ายกเลิกการเดินทางไปสปป.ลาวและประเทศเพื่อนบ้าน บริษัท R W Car Rental & Cleaning Service จำกัด ในกรุงเวียงจันทน์นั้นแทบจะไม่ได้ทำธุรกิจกับลูกค้าหลายรายที่ยกเลิกการจองรถ มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญและโดยตรงกับธุรกิจรถเช่าเพราะบริการประเภทนี้พึ่งพาการจองของลูกค้าเป็นอย่างมาก หลายบริษัทให้บริการที่คล้ายกันเนื่องจากจำนวนลูกค้าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะเดียวกันบริษัท the Phouphieng Bolaven Travel จำกัด ในแขวงจำปาศักดิ์กำลังเผชิญสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันและได้เห็นลูกค้าลดลงอย่างมาก การท่องเที่ยวหลายแห่งในสปป.ลาวก็ประสบกับการลดจำนวนผู้เยี่ยมชม นอกจากนี้รัฐบาลได้ยกเลิกกิจกรรมระดับชาติที่สำคัญหลายประการ เที่ยวบินถูกระงับชั่วคราวหรือยกเลิก แม้ว่าจะไม่มีการยืนยัน Covid-19 ในสปป.ลาว แต่เทศกาลและกิจกรรมอื่น ๆ ได้ถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไปตามมาตรการป้องกันไว้ก่อน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/fear-covid-19-outbreak-causes-cuts-car-rentals-115470

Covid-19 ส่งผลต่อยอดขายของภาคธุรกิจในสปป.ลาว

ผู้ค้าปลีกในเวียงจันทน์กำลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งทำให้ยอดขายลดลงและยังส่งผลให้มีการเลื่อนงานแสดงสินค้าและนิทรรศการออกไปหลายงาน แม้ว่าห้างสรรพสินค้ากำลังดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด แต่ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มจำนวนผู้มาเที่ยวห้าง โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมายอดขายของผู้ประกอบการลดลงร้อยละ 70 ในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบช่องทางการชายไปเน้นทางการขายออนไลน์มากขึ้น ในปีนี้ภาคธุรกิจต้องรับมือกับสถานการณ์ที่อาจมีผลต่อธุรกิจ ทั้งการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 และการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจทั่วโลกล้วนมีผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอยของคนในสปป.ลาว ภาครัฐควรมีนโยบายในการเข้ามาช่วยสนับสนุนธุรกิจในขณะนี้ทั้งนี้ในส่วนธุรกิจเองก็ควรมีการรับมือและปรับตัวให้สามารถผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้  

ที่มา  : http://annx.asianews.network/content/covid-19-vendors-unable-sell-wares-make-profit-115471