จับสัญญาณเศรษฐกิจไทยปี’63 ระวังปัจจัยเสี่ยงการเมืองภายใน

สัญญาณสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐมีทิศทางดีขึ้น ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจ การค้าโลก และตลาดการเงินโดยรวม คาดทำให้จีดีพีโลก ค้าโลกขยายตัวเพิ่มในปีหน้า การลงทุนในตลาดการเงินโลกคึกคักมาก ส่งผลดีต่อเนื่องกับเศรษฐกิจไทย ภาคส่งออก และภาคการท่องเที่ยวทั้งระบบ ขณะที่การเจรจาเรื่อง Brexit มีความชัดเจนขึ้นเช่นเดียวกัน หลังทราบผลการเลือกตั้งในประเทศอังกฤษ ลดความไม่แน่นอนจากผลกระทบเรื่อง Brexit ได้ในระดับหนึ่ง ขณะที่การลดภาษีนำเข้าจากจีนของสหรัฐจะทำให้ไทยได้ประโยชน์ลดลงจากการเบี่ยงเบนทางการค้า (trade diversion) เนื่องจากสินค้าจีนจะกลับเข้าไปในตลาดสหรัฐมากขึ้น ส่วนกลุ่มสินค้าส่งออกไทยที่ทดแทนสินค้าจีนได้ดีในช่วงที่ผ่านมาจากการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ได้แก่ สินค้าเกษตรกรรม อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป เคมีภัณฑ์และเม็ดพลาสติก เหล็กและอะลูมิเนียม และของใช้ในบ้านและสำนักงาน คงได้รับผลกระทบบ้าง แต่การขยายตัวของส่งออกไปทั่วโลกจะดีขึ้น และภาพรวมของการส่งออกไปสหรัฐ และจีนจะเพิ่มขึ้นจากการเติบโตที่สูงขึ้นในปีหน้า ส่วนการเจรจาเรื่อง Brexit ที่มีความชัดเจนขึ้นหลังทราบผลการเลือกตั้ง ช่วยลดความไม่แน่นอนจากผลกระทบ ซึ่งไทยควรเตรียมการในการเจรจาเชิงรุกเพื่อจัดทำเอฟทีเอกับสหราชอาณาจักร พร้อมกับการเจรจาทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป แนวโน้มปีหน้า ปัจจัยภายนอกจะเป็นบวกมากขึ้น แต่ปัจจัยภายในโดยเฉพาะความเสี่ยงทางการเมือง ผลกระทบเชิงลบเหล่านี้จะหักล้างปัจจัยบวกจากสัญญาณการฟื้นตัวของการค้าโลก และทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสจากการกระเตื้องขึ้นของเศรษฐกิจโลกได้ นอกจากนี้ การย้ายฐานการลงทุนบางส่วนมายังอาเซียนจากปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนอาจมีการทบทวนใหม่ ซึ่งจะสัมพันธ์กับ สงครามทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาจะยืดเยื้อหรือไม่และออกมาในรูปแบบใด หลังการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา จะมีส่วนสำคัญความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ แต่ภูมิภาคอาเซียนโดยรวมนั้นยังคงเป็นภูมิภาคที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจอยู่ เนื่องจากมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉลี่ยสูงกว่าภูมิภาคอื่น อยู่ในระดับที่แข่งขันได้ โดยเฉพาะมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย แม้ไทยนั้นจะมีปัญหาเรื่อง rule of law และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม เพราะประเด็นนี้จะเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด

ที่มา: https://www.prachachat.net/columns/news-403998

รัฐมนตรีชื่นชมการมีส่วนร่วมของสหรัฐฯในการพัฒนาเศรษฐกิจในกัมพูชา

กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินของกัมพูชากล่าวว่าความร่วมมือระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาโดยให้เงินช่วยเหลือสนับสนุนหลายล้านเหรียญสหรัฐ โดยความช่วยเหลือนี้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นในหลายภาค ซึ่งโดยเฉพาะด้านการศึกษา สุขภาพ การเกษตรและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันบริษัทจากสหรัฐฯจำนวนมากทำการลงทุนและการค้าเพิ่มขึ้นทุกปีในกัมพูชา โดยจากข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าสูงถึง 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งข้อมูลจากการจัดส่งของกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 38% สู่ 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มูลค่าการนำเข้าจากสหรัฐฯอยู่ที่ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24% ซึ่งกัมพูชาส่วนใหญ่ส่งออกสิ่งทอ, รองเท้า, สินค้าการท่องเที่ยวและสินค้าเกษตรไปยังสหรัฐอเมริกาในขณะที่การนำเข้าส่วนใหญ่ของกัมพูชาเป็นยานพาหนะ, อาหารสัตว์และเครื่องจักรมายังกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670375/minister-praises-us-contribution-to-kingdoms-economic-development/

สหรัฐฯ ส่งเสริมภาคเกษตรในรัฐคะฉิ่น

เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาได้พบปะกับสมาชิกภาคเกษตรของรัฐคะฉิ่นกว่า 60 คนในเมืองมิตจีเกี่ยวกับกิจกรรมของหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ในการพัฒนาการเกษตรและการพัฒนาระบบอาหาร ในการปรับปรุงความเป็นอยู่ของเกษตรกร กิจกรรมพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเป็นโครงการเกษตรซึ่งเป็นครั้งแรกของ USAID ที่ขยายไปสู่รัฐคะฉิ่น โครงการมีระยะเวลาห้าปีมูลค่า 38 ล้านเหรียญสหรัฐคาดเข้าถึงประชาชนกว่า 125,000 คนในรัฐคะฉิ่น รัฐฉาน และเขตแห้งแล้งส่วนกลาง การสนับสนุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขายและบริษัทเกษตรในพื้นที่ โดยเงินทุน 42 ล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนภาคเอกชนอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐและช่วยสร้างงานได้ 3,500 ตำแหน่ง แนวทางดังกล่าวคาดจะสร้างโอกาสการทำมาหากินมากขึ้นสำหรับชุมชนที่หลากหลายในรัฐคะฉิ่น ซึ่งสหรัฐอเมริกามุ่งมั่นที่จะดำเนินการโครงการอย่างเปิดและเผยโปร่งใส

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/us-promotes-inclusive-agriculture-led-growth-kachin-state.html

การค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 37% ในช่วงเก้าเดือนแรก

ข้อมูลล่าสุดจากรัฐบาลสหรัฐแสดงให้เห็นว่าการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าสูงถึง 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นกว่า 37% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2562 โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกันยายนกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 38% เป็น 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่การนำเข้าจากสหรัฐฯมีมูลค่าอยู่ที่ 400 ล้านเหรียญเพิ่มขึ้น 24% ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่ทำการส่งออกไปยังสหรัฐฯคือสิ่งทอ, รองเท้า, สินค้าทางการท่องเที่ยว, และสินค้าเกษตร ส่วนของสินค้าที่กัมพูชานำเข้าส่วนมากจะเป็นยานพาหนะ, อาหารสัตว์ และเครื่องจักร  โดยในเดือนกรกฎาคม 2559 กัมพูชาได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับการส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวไปยังสหรัฐฯภายใต้สิทธิ GSP ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯมีมูลค่าถึง 4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657709/cambodia-us-trade-up-37-pct-in-first-nine-months/

เซรามิกอ่วมแน่!!! สหรัฐฯตัดสิทธิ GSP กระทบกว่า 4,000 ล.บาทต่อปี

กลุ่มเซรามิกส.อ.ท.มึน มาตรการระงับการให้สิทธิ GSP ของสหรัฐอเมริกา หลัง 25 เม.ย63 จะทำให้ผลิตภัณฑ์เซรามิก มีผลกระทบเป็นมูลค่า 4,185 ล้านบาทต่อปี เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ว่าการที่ สหรัฐอเมริกาประกาศจะระงับการสิทธิ GSP มีผลบังคับใช้ 25 เมษายน 2563 นั้น ทำให้ผลิตภัณฑ์เซรามิกมีผลกระทบเป็นมูลค่า 4,185 ล้านบาทต่อปี และมีผลกระทบกับมูลค่าการส่งออก เซรามิกของไทยเฉลี่ยสูงกว่า 20% ของมูลค่าส่งออกไปยังทั่วโลก โดยผลกระทบมากสุดคือเครื่องสุขภัณฑ์เซรามิกส่งออกไปยังสหรัฐฯมูลค่า 1,949.42 ล้านบาท หรือ 32% ของมูลค่าส่งออกของไทยไปยังทั่วโลก ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซรามิกประสบปัญหาหลายด้านอยู่แล้ว เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น วัตถุดิบในประเทศมีคุณภาพลดลง แต่มีราคาสูงขึ้น, ขาดแคลนวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ต้นทุนการผลิต อื่นๆ สูงขึ้น เป็นต้น  ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงและเมื่อระงับการให้สิทธิ GSP ยิ่งเป็นการซ้ำเติมต่ออุตสาหกรรมเซรามิก จึงขอให้ภาครัฐช่วยแก้ไขปัญหาโดยขอให้ ภาครัฐออกมาตรการใช้ผลิตภัณฑ์เซรามิก ส่งเสริมการใช้สินค้าไทย (Made in Thailand), มีมาตรการป้องกันสินค้าเซรามิกด้อยคุณภาพจากต่างประเทศที่ ส่วนการส่งออก ขอให้ภาครัฐแก้ไขปัญหาสิทธิ GSP ช่วยควบคุมค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ แต่ถ้าเป็นไปได้ก็ขอให้ค่าเงินบาทอยู่ในช่วง 31-33 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ, เร่งเจรจา FTA เพื่อเปิดตลาดกับประเทศเป้าหมาย

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/413096

11 เดือนของปีบัญชีปัจจุบันเมียนมาส่งออกหยก 356 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานของกระทรวงพาณิชย์มูลค่าการส่งออกหยกอยู่ที่ 356 ล้านเหรียญสหรัฐจากปริมาณการส่งออก 1,548.452 ตัน ใน 11 เดือนของปีบัญชีปัจจุบัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 866.606 ล้านเหรียญสหรัฐจากปริมาณการส่งออก 3,128.501 ตัน ซึ่งลดลงถึง 509.730 ล้านเหรียญสหรัฐ หยกมีความเกี่ยวข้องกับงานประมูลอัญมณีเป็นอย่างมาก ยิ่งรัฐบาลมีงานประมูลอัญมณีมากเท่าไหร่จะทำให้การส่งออกหยกยิ่งมากขึ้น จากข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จากงานประมูลอัญมณีของเมียนมาในปี 62 การเก็บภาษีหยกดิบจะอยู่ที่ 15% ส่วนทับทิม ไพลินและอัญมณีที่มีค่าอื่นอยู่ที่ 10%

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/jade-export-volume-reaches-us-356-million-in-11-months-in-current-fy

สหรัฐอเมริกาส่งออกไปยังตลาดเวียดนามอย่างแข็งแกร่ง

สหรัฐอเมริกาส่งออกไปยังเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา จากสถิติการค้าระหว่างประเทศ พบว่าในปี 2561 สหรัฐอเมริกาส่งออกไปยังเวียดนามประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้น 4 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันเวียดนามถือว่าเป็นตลาดสำคัญของสหรัฐอเมริกาที่เติบโตได้รวดเร็วที่สุด โดยสินค้าส่งออกสำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ฝ้าย เครื่องจักร ผลไม้ ถั่วเหลือง และธัญพืช เป็นต้น ในขณะที่ สินค้าเกษตรของทั้งสองประเทศถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยในปี 2561 มูลค่าการค้าอยู่ที่ 8.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่งผลให้เวียดนามเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ อยู่ในอันดับที่ 7 ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ทางสถานกงสุลสหรัฐอเมริกา ประจำนครโฮจิมินห์ ระบุว่าศักยภาพการค้าระหว่างสองประเทศนั้น จะขยายตัวมากยิ่งขึ้นไปอีกในอนาคต และจะมุ่งเน้นในการลดอุปสรรค/ปัญหาในการค้าระหว่างประเทศ

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20190814/us-exports-to-vietnam-see-strong-growth-data/50980.html