บริษัทและโรงงานกว่า 1,700 แห่งแข่งขันเพื่อขอรับการรับรอง GACC

ตามข้อมูลของแผนกการค้าในประเทศ (ทีม GACC) ขององค์กรส่งเสริมการค้าเมียนมาภายใต้กระทรวงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2021 ถึง 11 เมษายน 2025 บริษัทแปรรูปอาหารและโรงงานในเมียนมารวม 1,727 แห่งได้ยื่นใบสมัคร 3,583 ใบต่อสำนักงานบริหารศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) โดยผ่านกรมเกษตร (3,411 ใบ) กรมประมง (149 ใบ) กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ (14) และกรมอาหารและยา (9 ใบ) ตามพระราชกฤษฎีกา GACC ฉบับที่ 248 และ 249 ที่กำหนดให้ผู้ส่งออกอาหารต้องลงทะเบียน GACC เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 เป็นต้นไป เพื่อวางสินค้าของตนในตลาดจีน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการขึ้นทะเบียนกับ GACC ได้แก่ กิจการน้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดพืช ผลิตภัณฑ์ขนมอบสอดไส้ รังนกที่รับประทานได้และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชที่รับประทานได้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่สีเมล็ดพืชและมอลต์ ผักสดและแห้ง ถั่วแห้ง พันธุ์พืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟและเมล็ดโกโก้ที่ยังไม่คั่ว อาหารพิเศษเฉพาะทางที่ไม่รวมนมผง อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำรวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อาหารสัตว์ และธุรกิจปศุสัตว์ กรมเกษตร กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ กรมประมง และกรมอาหารและยา ทั้งนี้ ผู้ส่งออกสามารถเข้าถึงระบบ China International Trade Single Window ได้โดยตรงผ่าน https://cifer.singlewindow.cn เพื่อสร้างบัญชีสำหรับกลุ่มอาหารที่ไม่อยู่ใน 18 กลุ่มดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในส่วนของการขึ้นทะเบียนบริษัทผู้นำเข้านั้น กรมกักกันสัตว์และพืชภายใต้ GACC จะตรวจสอบการเข้าออกด่านกักกันสำหรับเมล็ดพืชที่นำเข้า (เมล็ดกาแฟดิบ เมล็ดโกโก้ ผักสดและอบแห้ง เครื่องปรุงรสพืช (เครื่องเทศพืช) เมล็ดพืชที่รับประทานได้ ถั่วแห้ง เมล็ดพืชน้ำมัน (พืชน้ำมัน) และผลิตภัณฑ์จากสัตว์และพืชสมุนไพรเพื่อระบุแหล่งที่มา บริษัทต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการขึ้นทะเบียนโดยตรงได้และจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนนี้ผ่านหน่วยงานที่มีอำนาจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยส่งอีเมลมาที่  dapq@customs.gov.cn  หรือยื่นจดหมายถึงสถานทูตจีนประจำเมียนมาหรือสถานทูตเมียนมาประจำประเทศจีน

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/1700-firms-factories-vie-for-gacc-certification/#article-title

การค้าชายแดนจีน-เมียนมาเติบโตใน 9 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาร์และจีนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน-ธันวาคม) ของปีการเงินปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 จาก 2.076 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 525.6 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้ว อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับจีนผ่านทางด่านมูเซ, โลจิ, ชินฉ่วยฮ่อ, กัมปะติ และ เชียงตุง โดยด่านมูเซมีมูลค่าการค้าสูงสุดที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาเป็นด่านชินฉ่วยฮ่อ 703.06 ล้านดอลลาร์, ด่านกัมปะติ  95.546 ล้านดอลลาร์, ด่านโลจิ 70.111 ล้านดอลลาร์ Lweje และ ด่านเชียงตุง 24.086 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร ปศุสัตว์ การประมง แร่ธาตุ ป่าไม้ การผลิต และสินค้าอื่นๆ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าการผลิต และวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sino-myanmar-border-trade-sees-growth-in-9-months/#article-title

เส้นทางส่งออก พะโม-ลแวแจ สร้างความเสียหายให้กับการขนส่งแตงโมไปยังประเทศจีน

เส้นทางส่งออกแตงโมของเมียนมาร์ไปยังจีนได้เปลี่ยนมาใช้เส้นทางมัณฑะเลย์-รัฐฉาน (เหนือ) -เชียงตุง-เมืองลา ท่ามกลางปัญหาการค้าที่ชายแดนมูเซ ซึ่งการปิดชายแดนมูเซ ส่งผลให้ผู้ส่งออกแตงโมบางรายต้องย้ายไปยังเส้นทางพะโม-ลแวแจ อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 2021 เกิดข้อจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 ทำให้การส่งออกแตงโมและแตงไทยของเมียนมาร์ไปยังจีนยากขึ้น เนื่องจากระเบียบศุลกากรจีนเข้มงวดมากขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในจีน ทำให้เกิดความล่าช้าในการขนส่งและเกิดความเสียหายต่อคุณภาพแตงโม ในขณะที่จีนซึ่งถือเป็นตลาดหลักของเมียนมาร์ในการส่งออกแตงโมง จากรายงานเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีเพียงรถบรรทุกนับเป็นสัดส่วน 1 ใน 5 คันเท่านั้นที่ สามารถข้ามไปเพื่อส่งสินค้าได้ ส่งผลให้แตงโมถูกจำหน่ายหมดคลังทางฝั่งจีน ในขณะที่รถบรรทุกมากกว่า 500 คันเข้าคิวรอขนส่งในฝั่งเมียนมาร์ ทำให้ผู้ค้าของเมียนมาร์จำเป็นต้องคำนึงถึงเวลาในการจัดส่ง ราคา และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากแตงโมเป็นผลไม้ที่เน่าเสียง่าย ขณะเดียวกันก็พยายามสำรวจตลาดใหม่นอกเหนือจากประเทศจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bhamo-lweje-export-route-damages-watermelon-shipments-to-china/