ธุรกิจแปรรูปอาหารเมียนมายื่นขอ GACC

ตามข้อมูลของกรมการค้าภายในประเทศ (ทีม GACC) ขององค์กรส่งเสริมการค้าเมียนมา ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า บริษัทและโรงงานแปรรูปอาหารในเมียนมารวม 1,650 แห่งได้ยื่นใบสมัคร 3,358 ใบต่อสำนักงานบริหารศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2021 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2025 ผ่านกระทรวงเกษตร (3,194 ใบ) กระทรวงประมง (141 ใบ) กระทรวงปศุสัตว์และสัตวแพทย์ (14 ใบ) และกระทรวงอาหารและยา (9 ใบ) โดย ณ วันที่ 3 มกราคม 2025 ได้มีการลงทะเบียนใบสมัครกับ GACC สำเร็จแล้วทั้งหมด 1,079 ใบ ทั้งนี้ ตามประกาศพระราชกฤษฎีกา GACC ฉบับที่ 248 และ 249 การลงทะเบียน GACC ถือเป็นข้อบังคับสำหรับผู้ส่งออกอาหารตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 ที่ประกอบกิจการน้ำมันพืช น้ำมันเมล็ดพืช ผลิตภัณฑ์ขนมอบสอดไส้ รังนกที่รับประทานได้และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชที่รับประทานได้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ทำการสีธัญพืชและมอลต์ ผักสดและอบแห้ง ถั่วแห้ง พันธุ์พืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟและเมล็ดโกโก้ที่ยังไม่คั่ว อาหารพิเศษที่ไม่รวมนมผง อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำรวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ อาหารสัตว์ และธุรกิจปศุสัตว์ต้องยื่นขอใบอนุญาต GACC เพื่อวางสินค้าในตลาดจีน ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทะเบียนบริษัทนำเข้า กรมกักกันสัตว์และพืชภายใต้ GACC จะตรวจสอบการเข้าถึงการกักกันสำหรับเมล็ดพืชที่นำเข้า (เมล็ดกาแฟดิบ เมล็ดโกโก้ ผักสดและอบแห้ง เครื่องปรุงรสพืช (เครื่องเทศพืช) เมล็ดพืชที่รับประทานได้ ถั่วแห้ง เมล็ดพืชน้ำมัน (พืชน้ำมัน) และผลิตภัณฑ์จากสัตว์สมุนไพรหรือพืชที่ระบุแหล่งกำเนิดสำหรับยาแผนโบราณของจีน บริษัทต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการลงทะเบียนโดยตรงได้ และต้องดำเนินการตามขั้นตอนนี้ผ่านหน่วยงานที่มีอำนาจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยส่งอีเมลมาที่  dapq@customs.gov.cn  หรือส่งจดหมายถึงสถานทูตจีนประจำเมียนมาหรือสถานทูตเมียนมาประจำประเทศจีน

ที่มา : http://• https://www.gnlm.com.mm/trade-dept-1650-myanmar-food-processing-businesses-apply-for-gacc/#article-title

บริษัทและโรงงานอาหารกว่า 1,550 แห่งยื่นขอ GACC ในช่วง 2 ปีครึ่ง

ตามการระบุของกระทรวงพาณิชย์ ในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ตามพระราชกฤษฎีกา GACC 248 และ 249 โดยผู้ส่งออกอาหารจำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาต GACC เพื่อนำสินค้าเข้าสู่ตลาดจีน โดยระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2021 ถึง 5 พฤษภาคม 2024 โรงงาน 1,550 แห่งได้รับการส่งต่อคำขอ 3,092 รายการไปยัง GACC ผ่านกรมวิชาการเกษตร (คำขอ 2,935 รายการ) กรมประมง (134 รายการ) กรมพันธุ์สัตว์และสัตวแพทย์ปศุสัตว์ (14 รายการ) และหน่วยงานอาหารและยา ฝ่ายธุรการ ซึ่งประกอบด้วยกิจการ แปรรูปน้ำมันสำหรับบริโภค เมล็ดพืชน้ำมัน ผลิตภัณฑ์ขนมอบยัดไส้ รังนกที่บริโภคได้ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชที่บริโภคได้ การสีธัญพืช ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และมอลต์ ผักสดและอบแห้ง ถั่วแห้ง ชนิดพืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟไม่คั่วและเมล็ดโกโก้ อาหารพิเศษไม่รวมนมผง อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ผึ้ง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และอาหารสัตว์ และธุรกิจปศุสัตว์ อย่างไรก็ดี ผู้ส่งออกสามารถเข้าถึง China International Trade Single Window ได้โดยตรงผ่าน https://cifer.singlewindow.cn โดยการสร้างบัญชีสำหรับกลุ่มอาหารที่ไม่อยู่ใน 18 กลุ่มที่กล่าวถึงข้างต้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/1550-food-companies-factories-apply-for-gacc-in-2-5-years/#article-title

บริษัทโรงสีข้าวและโกดังเมียนมา 448 ราย ยื่นขึ้นทะเบียนกับ GACC ช่วงครึ่งแรกปี 2566

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา รายงานว่าในปีนี้ มีบริษัท 145 ราย โรงสีข้าว 161 ราย และคลังสินค้า 182 ราย เข้าขอยื่นขึ้นทะเบียนกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) และหากเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว มีเพียงบริษัท 62 ราย โรงสีข้าว 79 ราย และคลังสินค้า 19 ราย ทั้งนี้ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) เป็นสิ่งที่จำเป็นในการส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ รวมถึงตลาดจีน โดยข้าวเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของภาคการส่งออกของเมียนมา ดังนั้น กลุ่มสหพันธ์ข้าวของเมียนมาจึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ตระหนักถึงมาตรการสุขอนามัยทางชีวภาพ รวมไปถึงการศึกษากฎหมายและกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า และความปลอดภัยของอาหารในประเทศ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้นายจ้างและผู้ที่เกี่ยวข้องกับโกดังข้าวและคลังสินค้า ทำการจัดเก็บข้าวอย่างเป็นระบบและตรวจสอบกฎระเบียบตามการส่งออกของต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/banking-transactions-for-imports-on-myanmar-china-border-to-commence-1-august/#article-title

“เมียนมา” ชี้ธุรกิจอาหารแปรรูป 1,270 แห่ง ขึ้นทะเบียน GACC ภายใน 18 เดือน

กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่ามีบริษัทและโรงงานอาหารแปรรูปในเมียนมา จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,270 แห่ง ทำการยื่นขอจดทะเบียนกับศุลกากรจีน (GACC) ประกอบไปด้วย 2,200 รายการ ภายในระยะเวลาเพียง 18 เดือน โดยการขึ้นทะเบียนตามระเบียบ 248 และ 249 ผู้ส่งออกอาหารจำเป็นต้องขึ้นทะเบียน GACC ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 ทั้งนี้ จากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2564 – 28 เม.ย. 2566 พบว่ามีโรงงานทำการยื่นคำขอจดทะเบียน GACC จำนวน 1,270 แห่ง และจำนวนรายการวมทั้งสิ้น 2,279 รายการที่มาจากกรมส่งเสริมการเกษตร 2,136 รายการ ตามมาด้วยกรมประมง 120 รายการ, กรมปศุสัตว์ 14 รายการ และสำนักงานอาหารและยา 9 รายการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-1270-myanmar-food-processing-businesses-apply-for-gacc-within-18-months/#article-title

เมียนมา ผลักดันบริษัทมากกว่า 600 แห่ง ยื่นจดทะเบียนกับ GACC เพื่อส่งออกสินค้าเกษตรไปจีน

บริษัทและวิสาหกิจในเมียนมามากกว่า 600 แห่ง รวมถึงบริษัทส่งที่ออกข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด และกล้วย กำลังพยายามยื่นนจดทะเบียนกับกรมศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) เพื่อส่งออกสินค้ามากกว่า 1,600 รายการ โดยหน่วยงานของภาครัฐต่างๆ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ กรมประมง และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กำลังยื่นมือเข้าช่วยเหลือบริษัท วิสาหกิจ องค์กร และนิติบุคคล ที่กำลังขึ้นทะเบียนกับ GACC สำหรับสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวหัก ข้าวโพด และกล้วย ซึ่งสินค้าเกษตรของเมียนมาที่มีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล (G2G) นั้นมีส่วนแบ่งการตลาดที่เติบโตค่อนข้างแข็งแกร่ง ทั้งนี้บริษัทหรือวิสาหกิจที่จะทำการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวกับ น้ำมันเพื่อการบริโภค เมล็ดพืชน้ำมัน ขนมยัดไส้ รังนกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ธัญพืชและมอลต์ ผักสดและแห้ง ถั่วแห้ง พันธุ์พืช ถั่วและเมล็ดพืช ผลไม้แห้ง กาแฟที่ยังไม่ได้คั่วและเมล็ดโกโก้ อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และอาหารสัตว์ จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตจาก GACC เพื่อวางขายสินค้าในตลาดจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/over-600-local-companies-eye-registering-with-gacc-to-export-agri-products/#article-title