YCDC ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซมีเทน ที่มาจากการฝังกลบ

ตามที่คณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (YCDC) ระบุว่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน ที่โรงแรมชาเทรียมในย่างกุ้ง มีการอภิปรายเน้นย้ำถึงความร่วมมือของ YCDC และ GES Co., Ltd. ของเกาหลี ในการทำงานเพื่อทำการฟอกก๊าซมีเทนจากแหล่งทิ้งขยะขั้นสุดท้าย ในการฝังกลบขั้นสุดท้าย เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้า ทั้งนี้ ยังมีกระบวนการทำปุ๋ยหมักเพื่อลดปริมาณขยะเนื่องจากที่ดินหายาก นอกจากนี้ มีรายงานว่าก๊าซมีเทนจากหลุมฝังกลบจะถูกปล่อยออกทางท่อเพื่อป้องกันการเกิดเพลิงไหม้เนื่องจากความร้อน ดังนั้น การอภิปรายจึงมุ่งเน้นไปที่การใช้ก๊าซมีเทนอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปริมาณขยะในเมืองย่างกุ้งเพิ่มขึ้นทุกปี และทั้งเมืองสามารถกำจัดขยะได้ 2,500 ตันต่อวัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ycdc-to-generate-electricity-with-methane-gas-from-landfills/#article-title

MIC อนุมัติ 6 โครงการใหม่ การประกอบรถ EV การผลิตไฟฟ้า

คณะกรรมการการลงทุนเมียนมา (MIC) อนุมัติโครงการลงทุนใหม่ 6 โครงการในระหว่างการประชุมครั้งที่ 4/2567 ที่จัดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์เมื่อวานนี้ โดยโครงการลงทุนทั้ง 6 โครงการอยู่ในภาคอุตสาหกรรม โรงแรมและการท่องเที่ยว และไฟฟ้า รวมถึงการขยายเงินทุนเริ่มต้นของโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งการลงทุนโดยรวมมีมูลค่า 33.911 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 545,500 ล้านจ๊าด สร้างโอกาสในการทำงาน 1,349 ตำแหน่ง ทั้งนี้ โครงการที่ได้รับไฟเขียว ได้แก่ การประกอบและการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าภายใต้ภาคการลงทุนและการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี สิงคโปร์ จีน และไทย เป็นนักลงทุนที่โดดเด่นที่สุด จาก 53 ประเทศที่ลงทุนในเมียนมาจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2567 นอกจากนี้ ในบรรดาภาคธุรกิจ 12 กลุ่มนั้น การลงทุนในด้านไฟฟ้า อยู่ที่ร้อยละ 28.48 ของการลงทุนทั้งหมด ในขณะที่ร้อยละ 24.44 อยู่ในน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และร้อยละ 14.43 อยู่ในภาคการผลิต

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mic-approves-6-new-projects-ev-assembly-power-generation-included/

เมียนมา และจีนลงนามข้อตกลงซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ

ตามการแถลงของสถานเอกอัครราชทูตจีนในเมียนมา การลงนามข้อตกลงระหว่างเมียนมาและจีนในการซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเนปิดอว์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน โดยคำแถลงระบุว่า กำลังการผลิตรวมของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 3 โครงการของ Kyeon Kyeewa, Kinda และ Sedoktaya ในเขต Magway และ Mandalay ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Power China Resources Ltd. และกระทรวงพลังงานไฟฟ้าของเมียนมา อยู่ที่ 90 เมกะวัตต์ ซึ่งเพียงพอสำหรับรองรับการพัฒนาของ ภูมิภาค ด้านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานไฟฟ้าแห่งสหภาพ ชื่นชมความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และหารือทัศนคติที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านไฟฟ้าจีน-เมียนมาต่อไป เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาของทั้งสองประเทศ และดึงดูดความสนใจของประชาชนเมียนมามากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการตามผลข้อตกลงของการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation ครั้งที่ 3 การพัฒนาการเชื่อมต่อไฟฟ้าระหว่างจีน-เมียนมา ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา “ความต้องการไฟฟ้า” ของเมียนมา และรองรับการก่อสร้าง ระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-sign-agreement-to-purchase-electricity-from-three-solar-power-plant-projects/#article-title

‘เวียดนาม’ ขึ้นแท่นผู้นำอาเซียนด้านผลิตไฟฟ้า

หลังจากเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า 3,420 เมกะวัตต์ในปีที่แล้ว ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านผลิตไฟฟ้า ด้วยกำลังการผลิต 76,620 เมกะวัตต์ นาย Tran Dinh Nhan ผู้อำนวยการการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) กล่าวว่าระดับความสามารถในการขยายกำลังการผลิต เพิ่มขึ้น 9.8% อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังวลว่าแหล่งพลังงาน 27% มาจากพลังงานหมุนเวียน และสัดส่วนดังกล่าวที่อยู่ในระดับสูงนั้น ทำให้เกิดอุปสรรคของการจัดจำหน่ายไฟฟ้า อีกทั้ง เมื่อปีที่แล้ว การผลิตไฟฟ้า 60% มาจากพลังงานหมุนเวียดนาม แต่เนื่องจากความต้องการลดลง สาเหตุจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ทั้งนี้ นาย Nguyen Quoc Trung รองผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าแห่งชาติของเวียดนาม กล่าวว่าการผลิตและนำเข้าพลังงานในปี 2565 จะเพิ่มขึ้น 275.5 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้น 7.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคาดว่าเวียดนามจะเล็งซื้อพลังงานจากจีนราว 380 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ภายในเดือน พ.ย. และ มิ.ย. 2565

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-leads-asean-in-power-production-39389.html

กระทรวงไฟฟ้าฯ เมียนมา เดินหน้าผลิดไฟฟ้าเพื่อบริการประชาชน

การประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ที่เนปิดอว์เมื่อวันที่ 15 และ 16 พฤษภาคม 64 ที่ผ่านมา กระทรวงไฟฟ้าและพลังงาน เผย กำลังพยายามผลิตไฟฟ้าจาก โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้ารีไซเคิล และโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซแอลเอ็นจีพร้อมแหล่งอื่นๆ เพื่อสร้างความมั่นใจในการผลิตไฟฟ้าที่ปลอดภัยและมั่นคงให้กับประชาชนในประเทศและต้องมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคมน้อยที่สุด ซึ่งตอบสนองความต้องการไฟฟ้าของประเทศในปี 2573 ทั้งยังสอดคล้องกับการใช้พลังงานไฟฟ้าแห่งชาติปี 2573 ตามแผนไฟฟ้าแห่งชาติของเมียนมา หรือ National Electrification Plan (NEP)

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/electricity-and-energy-ministry-focuses-on-better-supply-of-electricity/#article-title

สปป.ลาวกำลังให้ความสำคัญกับการขายไฟฟ้าให้กัมพูชามากขึ้น

แขวงจำปาสักในสปป.ลาวอาจขยายการผลิตการไฟฟ้าให้กัมพูชาได้มากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในการพัฒนาไฟฟ้าในพื้นที่ชายแดน Mr. Bounleud Keophasouk เจ้าหน้าที่สถานีย่อยหาดในเขตโขงกล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่าน “ปริมาณไฟฟ้าที่ขายให้กัมพูชาอาจเพิ่มขึ้นในอนาคตเนื่องจากสายส่งที่มีอยู่มีความสามารถในการบรรจุพลังงานได้มากขึ้น แต่ผมไม่สามารถพูดได้ว่าในเวลานี้จะมีมากน้อยเพียงใด” ผู้ลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังน้ำมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐคือ บริษัท Mega First Corporation Berhad ซึ่งเป็น บริษัท สัญชาติมาเลเซียซึ่งมีส่วนแบ่งร้อยละ 80 ในขณะที่ EDL-Gen (Electricite du Laos Generation Public Company) ที่เป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจถือหุ้นร้อยละ 20 การร่วมมือของบริษัทแนวหน้าจะทำให้การผลิตไฟฟ้าของสปป.ลาวมีกำลังมาขึ้นและเป็นส่วนช่วยที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้า ปัจจุบันอุตสาหกรรมไฟฟ้าพลังน้ำของสปป.ลาวกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในปี 2548 มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพียง 9 แห่งทั่วประเทศมีกำลังการผลิตติดตั้งอยู่ที่ 680 เมกะวัตต์ผลิตไฟฟ้าได้ 3,237 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ปัจจุบันเขื่อน 78 แห่งเปิดให้บริการโดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 9,972 เมกะวัตต์ซึ่งสามารถผลิตได้ 52,211 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos231.php

ไทยเรียกร้องหน่วยงานสปป.ลาวศึกษาผลกระทบเขื่อนชนะคาม

รองนายกรัฐมนตรีประวิทย์วงษ์สุวรรณวอนขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือและหาแนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการเขื่อนชนะคามในสปป.ลาว ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของเขื่อนเนื่องจากอยู่ห่างจากชายแดนไทยเพียง 2 กิโลเมตรดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับคำสั่งให้มุ่งเน้นและวิเคราะห์ผลกระทบของเขื่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสมบูรณ์ของโครงสร้างถึงแม้โครงการดังกล่าวจะเป็นของสปป.ลาว แต่เพื่อร่วมกันจัดการแม่น้ำโขงในลักษณะที่ยั่งยืนในฐานะทรัพยากรร่วมประเทศสมาชิกที่วางแผนจะสร้างโครงการตามแม่น้ำโขงต้องดำเนินการปรึกษาหารือล่วงหน้ากับผู้อยู่อาศัยและหน่วยงานท้องถิ่นก่อน เขื่อนชนะคามเป็นโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 6 โครงการล่าสุดที่รัฐบาลสปป.ลาววางแผนไว้ ผู้พัฒนาคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเขื่อนได้ในปีนี้ เมื่อเขื่อนนี้แล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 684 เมกะวัตต์จะมีมูลค่าประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (62.4 พันล้านบาท) และจะขายไฟฟ้าที่ผลิตให้ประเทศไทยเป็นหลัก 

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1962023/agencies-told-to-find-ways-to-mitigate-laos-dam-impact

การผลิตไฟฟ้าในประเทศลาวส่งออก 6,457MW ในการส่งออก

ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559-ปัจจุบัน กำลังการผลิตไฟฟ้าของสปป.ลาวสามารถผลิตได้มากถึง6,457MW จากจำนวนโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เพิ่มขึ้น 63 แห่งโดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 7,213 เมกะวัตต์ /โรงงาน ทำให้มีไฟฟ้าเพื่อส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 145 สร้างรายได้แก่ประเทศมากกว่า 1.3 พันล้านกีบหรือเพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันเมื่อ 5 ปีก่อน (2554-2558) ซึ่งปัจจุบันสปป.ลาวมีการขยายสายส่งไฟฟ้าเพิ่มติมเพื่อให้เอื้อต่อการตอบสนองอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้นและอุปสงค์ของภาคต่างประเทศที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นไทย กัมพูชา พม่าที่เป็นคู่ค้าพลังงานไฟฟ้าที่สำคัญของสปป.ลาวโดยมีการคาดการณ์ว่าประเทศเล่านี้จะมีความต้องการพลังงานาไฟฟ้าในอีก 5 ปีข้างหน้าเพิ่มเติมจากเดิมไปอีก เป็นผลดีแก่ภาคพลังงานไฟฟ้าที่จะสร้างรายได้แก่ประเทศมากขึ้นดังนั้นเศรษฐกิจของสปป.ลาวที่มีภาคพลังงานค่อยขับเคลื่อนก็จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของภาคพลังงานไฟฟ้า

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/electricity-generation-laos-sparks-6457mw-exports-113257

กัมพูชาทำข้อตกลงขยายการผลิตไฟฟ้าถ่านหินในสปป.ลาว

กัมพูชาตั้งเป้าที่จะขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าตามข้อตกลงกับสปป.ลาว เป็นเวลา 30 ปีมูลค่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อเข้าสู่โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในสปป.ลาว สามารถเข้าถึงไฟฟ้าที่ 2,400 เมกะวัตต์ที่ 7.7 เซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อชั่วโมงและเป็นราคาที่ต่ำกว่าการนำเข้าจากไทยและเวียดนาม ADB ระบุกำลังการผลิตทั้งหมดของกัมพูชาอยู่ที่ 2,175 เมกะวัตต์ในปี 61 คิดเป็น 62% จากพลังงานน้ำและ 36% จากเชื้อเพลิงฟอสซิล บริษัท TSBP Sekong Power and Mineral มีกำลังการผลิต 600 เมกะวัตต์ ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเซกงจะมีกำลังการผลิต 1,800 เมกะวัตต์ ปัจจุบันการลงทุนเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะภาคก่อสร้าง ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้พลังงานในปี 62 และปีต่อ ๆ มาสูงกว่าที่คาดไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหนึ่งวันก่อนการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนและนายกรัฐมนตรีลาวทองลุน สีสุลิด ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยคิดจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนถ่านหินเพราะราคาที่สูงและถือเป็นอุปสรรคทางเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://en.vodhotnews.com/electricity-capacity-to-expand-with-laos-coal-deal/

รายได้จากการผลิตไฟฟ้าย่างกุ้งเพิ่ม 65%

ข้อมูลจากย่างกุ้งอีเล็คทริคคอร์ปอเรชั่น (YESC) นครย่างกุ้งมีรายได้ 36 พันล้านจัต จากการจ่ายกระแสไฟฟ้าในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 65% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากกระทรวงไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าขอขึ้นค่าไฟฟ้าไปเมื่อวันที่ 1 ก.ค.เพื่อลดภาระของรัฐบาลในการอุดหนุนภาษี ย่างกุ้งซึ่งใช้ไฟฟ้ามากกว่าครึ่งของประเทศมีปริมาณการใช้กว่า 91 พันล้านจัตในเดือน ก.ค.เทียบกับ 55 พันล้านจัตในเดือนมิ.ย. ตามข้อมูลจากกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานรัฐบาลแยกใช้เงินมากกว่า 400 พันล้านจัตในการอุดหนุนภาษีของปีงบประมาณ 59-60 และมากกว่า 600 พันล้านจัตในปีงบประมาณ 60-61 คาดว่าจะเกิน 500 ล้านจัตในปีงบประมาณ 61-62 เพื่อบรรลุเป้าหมายในการจัดหาไฟฟ้าทั้งหมดภายใน ธ.ค. 63 รัฐบาลย่างกุ้งวางแผนที่จะใช้จ่ายมากกว่า 100 ล้านจัตระหว่างปีงบประมาณ 61-62และ 63-64 เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yangon-electricity-revenues-65pc.html