เปิดตัวโครงการที่ร่วมกับกองทุนความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 6

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้มีพิธีเปิดตัวโครงการที่จะดำเนินการโดยกองทุนพิเศษ ของความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 6 จัดขึ้นที่กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการชลประทาน ในเมืองเนปิดอว์ นาย U Min Naung รัฐมนตรีสหภาพเกษตร ปศุสัตว์ และการชลประทาน กล่าวว่าการบรรเทาความยากจนและการพัฒนาชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวชนบทในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงมีความสำคัญ และด้วยการสนับสนุนของกองทุนพิเศษ โครงการต่างๆ ที่จะดำเนินไป โดยกระทรวงจะดำเนินการในสาขาที่เกี่ยวข้องและจะดำเนินการให้สำเร็จ ภายในงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงความคืบหน้ากิจการที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการกองทุนพิเศษเมื่อปี 2564 และ 2565 หลังพิธี รัฐมนตรีสหภาพและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง รองเลขาธิการสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน และแขกรับเชิญ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับโครงการที่ดำเนินการร่วมกับกองทุนพิเศษความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง โดยกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานได้รับอนุญาตให้ดำเนินโครงการ 35 โครงการ ด้วยเงินทุนรวมกว่า 12.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากกองทุนพิเศษความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้าง อย่างไรก็ดี โครงการที่จะดำเนินการร่วมกับกองทุนปี 2566 ได้แก่ ภาคเกษตรกรรมและภาคสุขภาพ โดยหวังว่าจะลดความยากจนของชาวชนบท

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/projects-launched-with-6th-lancang-mekong-cooperation-fund/

เมียนมาและอินเดียลงนามบันทึกความเข้าใจภายใต้โครงการ Quick Impact Project (QIP)

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ 3 ฉบับระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดียภายใต้โครงการ Quick Impact (QIP) ประกอบด้วย บันทึกความเข้าใจเรื่องการจัดหาน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในเขตแห้งแล้งตอนกลางของเมียนมา บันทึกความเข้าใจสำหรับโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัด และบันทึกความเข้าใจเพื่อการใช้พลังงานไฟฟ้าของหมู่บ้านในชนบทด้วยพลังงานลมขนาดเล็กในเมืองกูนจานโกน ย่างกุ้ง ซึ่งจัดขึ้นที่กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ กรุงเนปิดอว์ โดยมี ดร.คาน ซอ รัฐมนตรีสหภาพว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ นายดอ ตัน ทัน ลิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการเงิน นายอู ลวิน อู รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดร. วาวา หม่อง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ดร. Htain Lin Oo รัฐมนตรีช่วยว่าการและรองอัยการสูงสุดฝ่ายกฎหมาย เจ้าหน้าที่อาวุโสจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้ง นาย Ashish Sharma รองหัวหน้าคณะผู้แทนสถานทูตอินเดีย และเจ้าหน้าที่จากสถานทูตอินเดีย เข้าร่วมในพิธี โดยรัฐบาลอินเดียจะมอบเงินช่วยเหลือให้โครงการ Quick Impact (QIP) โครงการละ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ รวม 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเงินช่วยเหลือนี้จะนำไปบริจาคให้กับการประปาโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในเขตแห้งแล้งตอนกลางของเมียนมา และโครงการที่คล้ายกันจะต้องได้รับการเจรจากับรัฐบาลอินเดีย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-india-sign-mous-under-quick-impact-projects-qip/

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากรแห่งสหภาพเมียนมา ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจีน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองและประชากร U Myint Kyaing ให้การต้อนรับสมาชิกสภาแห่งรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีน และนาย Wang Xiaohong รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงสาธารณะ และคณะฯ ที่กรุงเนปิดอว์ วานนี้ โดย ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเรื่องการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนเข้าเมืองเพื่อความมั่นคงและสันติภาพในพื้นที่ชายแดน ทำให้ประชาชนของทั้งสองประเทศสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างสะดวกสบาย โดยจัดตั้งด่านชายแดนระหว่างจีน-เมียนมามากขึ้น รวมทั้งขยายความร่วมมือในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคนเข้าเมือง จัดการประชุมระดับอธิบดีเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายเรื่องการสนับสนุนของจีนเพื่อตอบสนองความต้องการทางเทคโนโลยี และการสำรวจสำมะโนประชากรและครัวเรือนของเมียนมา และระบบ e-ID ที่เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศของ เมียนมา จีน ไทย และลาว เพื่อป้องกันการอพยพข้ามแดนอย่างผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการพนันออนไลน์ การฟื้นฟูเสถียรภาพอย่างเร่งด่วนในพื้นที่ชายแดนจีน-เมียนมารซึ่งมีการสู้รบปะทุขึ้น และความพยายามในการรักษาความสัมพันธ์ทวิภาคีฉันมิตรที่ยั่งยืนระหว่างเมียนมาและจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moip-union-minister-receives-chinese-delegation/

เมียนมา จีน ตัดสินใจเสริมสร้างความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง

พลโท Yar Pyae สมาชิกสภาบริหารแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมียนมา จัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการกับสมาชิกสภาบริหารแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และนาย Wang Xiaohong รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคง ในเมืองเนปิดอว์ เมื่อ 30 ตุลาคม 2566 นอกจากนี้ พวกเขายังได้จัดการประชุมรัฐมนตรีเมียนมา-จีน ครั้งที่ 7 ว่าด้วยการบังคับใช้กฎหมายและความร่วมมือด้านความมั่นคง โดยในการประชุม ได้มีการหารือเกี่ยวกับสันติภาพและความสงบในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ การส่งเสริมความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายและความมั่นคง การเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือด้านความมั่นคงสาธารณะระดับโลก (เหลียนหยุนกัง) และการประชุมสถาบันตำรวจจีน-อาเซียน การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปีว่าด้วยความร่วมมือล้านช้าง-แม่น้ำโขง (พ.ศ. 2566-2570) การดำเนินการต่อต้านการค้ามนุษย์ การฉ้อโกงออนไลน์ อาชญากรรมในโลกไซเบอร์ การฟอกเงิน การพนันข้ามพรมแดน คดียาเสพติด ความร่วมมือในกิจกรรมด้านความปลอดภัยล้านช้าง-แม่น้ำโขง และกิจกรรมบังคับใช้กฎหมาย อย่างไรก็ดี ยังได้หารือความสัมพันธ์ทวิภาคีในการจับกุมผู้ลี้ภัยชาวจีน การสื่อสารระหว่างองค์กร การวิจัยร่วมด้านอาชญากรรมบริเวณชายแดน และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย และการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ระหว่างทั้งสองกระทรวง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-decide-to-strengthen-promotion-of-law-enforcement-security-cooperation/#article-title

สปป.ลาว หารือร่วมเวียดนาม หลังเข้าร่วมประชุม GCC ที่ซาอุดีอาระเบีย

สอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีแห่ง สปป.ลาว หารือทวิภาคีร่วมกับ ฝั่ม มิญ จิ๊ญ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ในวาระเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนกับคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC Summit) ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาและเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างลาวและเวียดนาม ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องที่จะผลักดันการดำเนินการตามความตกลงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์เวียดนาม-ลาวในช่วงปี 2564-2573 ข้อตกลงความร่วมมือทวิภาคีลาวและเวียดนาม ในช่วงปี 2564-2566 และการลงนามข้อตกลงและแผนในด้านต่างๆ อีกทั้งได้ตกลงร่วมกันที่จะมุ่งเน้นการขจัดอุปสรรคสำหรับโครงการความร่วมมือที่สำคัญ เช่น การพัฒนาท่าเรือหวุงอังหมายเลข 1, 2 และ 3 รวมถึงโครงการที่เชื่อมต่อการจราจรทางถนนและทางรถไฟในทิศทางตะวันออก-ตะวันตก เป็นต้น

ที่มา : https://kpl.gov.la/EN/detail.aspx?id=77599

UMFCCI และรัฐบาลฉงชิ่ง จับตาดูระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่

ดร. วิน ซี ทู รองประธาน สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) และนาย Zhao Yin ผู้อำนวยการสำนักงานการต่างประเทศ นครฉงชิ่ง ประเทศจีน หารือประเด็นด้านการลงทุนและความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างเมียนมาร์ และจีน (ฉงชิ่ง) และความเป็นไปได้ในการดำเนินกิจกรรมการค้าบนระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ ในวันที่ 24 ตุลาคม ณ ห้องโถงของ UMFCCI โดยระเบียงการค้าเชื่อมทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่เป็นเส้นทางการค้าและโลจิสติกส์ที่สำคัญที่เชื่อมโยงจีน (ฉงชิ่ง) และอาเซียน โดยส่งเสริมการขนส่ง การค้า และการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคเหล่านั้น ที่ประชุมเน้นย้ำความร่วมมือกับเมียนมาในการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่งตามแนวระเบียงการค้าดังกล่าว อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายได้มีการพูดคุยถึงรายละเอียดเกี่ยวกับความร่วมมือสำหรับกิจกรรมการพัฒนาบนระเบียงการค้า การผลิต การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/umfcci-chongqing-govt-eye-trade-boost-on-new-land-sea-trade-corridor/

การส่งเสริมการค้า และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รัสเซีย-เมียนมา

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) ระบุว่า ได้รับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและเศรษฐกิจจะระหว่างเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และเมียนมา ในภาคส่วนสินค้าประเภท ข้าวและถั่วพัลส์ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เฟอร์นิเจอร์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาลเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย นาย Grigoriev Evgeny Dmitrievich และสมาชิกได้พบกับนักธุรกิจชาวเมียนมารจากภาคส่วนต่างๆที่สำนักงาน UMFCCI โดย Grigoriev Evgeny Dmitrievich กล่าวว่า ปัจจุบัน ข้าว ถั่ว ข้าวโพด งา เฟอร์นิเจอร์ และการประมงเป็นธุรกิจที่ทำกำไรให้กับเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มีสิทธิพิเศษสำหรับทั้งสองประเทศ รวมทั้ง ผู้ส่งออกจากภาคส่วนเหล่านี้ได้หารือถึงความยากลำบากที่พบในการส่งออกสินค้าไปยังรัสเซีย ทั้งในเรื่องของระบบการชำระเงินสำหรับการส่งออกโดยตรงไปยังรัสเซีย และเงื่อนไขสำหรับโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าของรัสเซียที่จะเข้ามาลงทุนในเมียนมาร์ อย่างไรก็ตาม คณะผู้แทนรัสเซียยังได้เชิญนักธุรกิจชาวเมียนมาร์มาลงทุน ที่เมืองท่าครอนชตัดท์ ซึ่งมีเทคโนโลยีล่าสุดในการส่งออกและนำเข้าสินค้าทางทะเล การตรวจสอบสินค้านำเข้าและการคืนสินค้า ทำให้ประหยัดเวลา มีความราบรื่นของเส้นทางการขนส่ง และเทคโนโลยีล่าสุดในการขนถ่ายสินค้า

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/russia-myanmar-trade-and-economic-cooperation-to-be-promoted/

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพเมียนมา ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตจีน

อู ตาน ส่วย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหภาพเมียนมา ให้การต้อนรับนายเฉิน ไห่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเมียนมา ณ กรุงเนปิดอว์ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความก้าวหน้าของ “ความสัมพันธ์การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์รอบด้าน” บนพื้นฐานมิตรภาพ ความสัมพันธ์ “ฉันพี่น้อง” (Pauk-phaw) ที่มีอยู่ การเร่งดำเนินโครงการทวิภาคี ระหว่างเมียนมา-จีนที่กำลังดำเนินอยู่ภายใต้กรอบความคิดริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน การธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และหลักนิติธรรมตามแนวชายแดนระหว่างเมียนมาและจีน การส่งผู้พลัดถิ่นที่ได้รับการตรวจสอบกลับประเทศจากรัฐยะไข่ และการสนับสนุนเชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องของจีนต่อความพยายามในการพัฒนาของเมียนมา ตลอดจนความร่วมมือในเวทีภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอาเซียนและ สหประชาชาติ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dpm-mofa-union-minister-receives-chinese-ambassador-2/

คณะผู้แทนรัสเซียเข้าพบนักธุรกิจที่ UMFCCI

คณะผู้แทนนำโดย Mr. Grigoriev Evgeny Dmitrievich ประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ภายนอก สมาชิกของรัฐบาลเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในสหพันธรัฐรัสเซีย เข้าพบนักธุรกิจที่สำนักงานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (UMFCCI) ในย่างกุ้ง เมื่อ 22 ตุลาคม 2566 โดยได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างรัสเซียและเมียนมาร์ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ทางทะเล ผลิตผลทางการเกษตร และภาคการส่งออกอื่นๆ ตลอดจนภาคส่วนต่างๆ เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางธุรกิจ รวมทั้งยังมีการพูดคุยเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์และการผลิตชารัสเซีย ภาคไฟฟ้าจากพลังงานน้ำขนาดเล็ก และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ นักธุรกิจที่เข้าร่วมงานได้หารือประเด็นทางเศรษฐกิจที่จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ และประธานคณะกรรมการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ชี้แจงถึงภาคส่วนที่จะเชื่อมโยงกับภาคการส่งออกข้าว ภาคผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ การขนส่งและวิชาการ ภาคประมงทะเลน้ำลึก และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/russian-delegation-meets-businesspersons-at-umfcci/#article-title

UMFCCI และ YPGCC หนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ยูนนาน-เมียนมาร์

เจ้าหน้าที่สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) เข้าพบคณะผู้แทน นำโดยประธานหอการค้าทั่วไปมณฑลยูนนาน (YPGCC) เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 โดยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจทวิภาคีและการยกระดับการค้า ด้านประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา กล่าวว่า ยูนนานถือเป็นท่าเรือบกที่สำคัญในด้านความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจกับเมียนมา และได้ขอให้ทางหอการค้ายูนนานช่วยเหลือเมียนมาในเรื่องของข้อบังคับและกฎระเบียบการนำเข้าของจีน รวมทั้งได้เชิญชวนให้ยูนนานลงทุนในภาคพลังงาน และภาคส่วนอื่นๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและกิจกรรมส่งเสริมการค้า ด้าน ดร.เกา เฟิง ประธาน YPGCC กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเยือนเมียนมาครั้งนี้ เพื่อสร้างบันทึกความร่วมเมือ ที่ลงนามระหว่างยูนนานและเมียนมาร์ ในภาคพลังงานและเหมืองแร่ การบรรเทาภัยพิบัติ การท่องเที่ยว การบรรเทาความยากจน และยกระดับระเบียงเศรษฐกิจเมียนมาร์-จีน นอกจากนี้ การประชุมยังได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาการลงทุนแบบทวิภาคี การพัฒนาการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูล การเสริมสร้างความร่วมมือเชิงปฏิบัติ ธุรกิจท่าเรือ อุปทานสินค้าข้าวและปุ๋ย การส่งออกสินค้าเกษตร การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการค้าข้ามพรมแดน

อย่างไรก็ดี ผู้แทนจากทั้งสองสภายังหารือเกี่ยวกับโอกาสความร่วมมือที่อาจเกิดขึ้นและความคิดเห็นเกี่ยวกับภาคเหมืองแร่ เหล็กและเหล็กกล้า การขนส่ง อีคอมเมิร์ซ การท่องเที่ยว เกษตรกรรม เภสัชกรรม อ้อย น้ำตาล ถั่วลิสง ผัก การประมง ผลิตภัณฑ์อาหาร การวิจัย และสารเคมีทางการเกษตร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/umfcci-ypgcc-to-bolster-yunnan-myanmar-economic-cooperation/