วงล้อเศรษฐกิจ – ซ้ำเติมผู้บริโภค

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก (คิดเป็น 28.5% ของปริมาณการส่งออกขอโลก) ดันราคาข้าวสาลีพุ่งสูงสุดในรอบหลายปี ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรโลกให้ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของราคาข้าวสาลีในตลาดโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อไทยในแง่ต้นทุนวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้ข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบอย่างอาหารคน และอาหารสัตว์ ทำให้มีราคาปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ในปี 2565 ทั้งต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุนโลจิสติกส์จะอยู่ในระดับที่สูง รวมถึงราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น ซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงที่สุดแล้ว จะส่งผลกระทบไปยังราคาอาหารปลายทางที่ต้องจ่ายสูงขึ้นด้วย เช่น เนื้อสัตว์ หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป/ขนมปัง ตามราคาข้าวสาลีและราคาธัญพืชทดแทนที่ปรับเพิ่มขึ้น เป็นต้น

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6951461

‘เวียดนาม’ เผยอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสงครามยูเครน-รัสเซีย

บริษัท Agribank Securities JSC (Agriseco) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมปศุสัตว์เวียดนาม มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบและราคาอาหารสัตว์ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่เกิดความขัดแย้งของสมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน โดยประเทศรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีชั้นนำของโลกและอยู่ในอันดับที่ 3 ของผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก ทำให้ระดับราคาสูงขึ้น 17.8% อีกทั้ง ยูเครนเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก หรือคิดเป็นสัดส่วน 22% ของอุปทานทั่วโลก ดังนั้นราคาข้าวโพดจึงเพิ่มขึ้น 8.4% นับตั้งแต่เริ่มเกิดสงคราม ทั้งนี้ ตามรายงานของ Agriseco ชี้ว่าความตึงเครียดของสงครามยูเครนและรัสเซีย ส่งผลกระทบอย่างมากต่อราคาอาหารทั่วโลก โดยทั้งสองประเทศมีสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลี 29% ของการส่งออกทั่วโลก และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 19% ในขณะที่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ในประเทศส่วนใหญ่จะนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ตั้งแต่ข้าวสาลีไปจนถึงธัญพืช ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่าราคาอาหารที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของธุรกิจปศุสัตว์และอาหารสัตว์ในท้องถิ่น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1161595/russia-ukraine-crisis-hits-local-livestock-industry.html