“สปป.ลาว” ใช้งบ 20 พันล้านกีบ เร่งป้องกันน้ำท่วม

นครเวียงจันทร์เตรียมใช้เงินวงเงินกว่า 20 พันล้านกีบ จะเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝนที่ทำให้ท่อระบายน้ำอุดตัน รวมถึงซ่อมแซมและขยายช่องระบายน้ำ จัดการกับพืชและเศษซากต่างๆ ที่อุดตันท่อระบายน้ำและควบคุมระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการและขนส่งของนครเวียงจันทร์ กล่าวว่าสำนักงานกำลังร่วมมือกับสำนักงานจัดการและบริการเมืองเวียงจันทร์ และเจ้าหน้าที่จากเขต 9 ของเมืองในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาว อย่างไรก็ตาม ตัวเลขของงบประมาณข้างต้นนั้นยังเป็นการประมาณการเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากงานบางส่วนที่วางแผนไว้อาจไม่สามารถทำได้ในช่วงฤดูฝน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten163_City.php

ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม 2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจ ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม 2564 จากกลุ่มตัวอย่างหอการค้าจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วม จำนวน 138 ราย ผลการสำรวจ ดังนี้

ผลการสำรวจ พบว่า ระดับของผลกระทบอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 34.2 พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือ พื้นที่เพาะปลูกทางด้านเกษตร คิดเป็นร้อยละ 65.9 โดยพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายคิดเป็นร้อยละ 22 ของพื้นที่จังหวัด และทำให้บ้านเสียหาย คิดเป็นร้อยละ 74.3 โดยผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจังหวัดอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 43.6 และ กระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 39.5 ขณะที่ผลกระทบต่อธุรกิจในจังหวัดอยู่ในะระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 44.5 ขณะที่ความรุนแรงเมื่อเทียบกับปี 54 พบว่ารุนแรงน้อยกว่าปี 54 คิดเป็นร้อยละ 83.38 และสร้างความเสียหายน้อยกว่าปี 54 คิดเป็นร้อยละ 83.38 ซึ่งจากกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.4 มองว่า สถานการณ์น้าท่วมจะลดลงและเข้าสู่สภาวะปกติ ไม่เกิน 7 วัน ส่วนข้อเสนอแนะที่ต้องการให้รัฐบาลด้าเนินการ ได้แก่ 1.ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เช่น การชดเชยผลผลิตทางการเกษตรหรือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อนำมาซ่อมแซมกิจการที่ได้รับความเสียหาย 2.เงินชดเชยน้ำท่วมโดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมาก และ 3. ควรมีมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมและควรประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยให้เร็วมากกว่านี้ เป็นต้น

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ความเสียหายจากน้ำท่วมในนาข้าวปีนี้ผลกระทบน้อยกว่าปีที่แล้ว

ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน (MOALI) ระบุว่าพื้นที่นาข้าวกว่า 600,000 เอเคอร์ถูกน้ำท่วมขังในช่วงฤดูมรสุมในปีนี้ ซึ่งมีพื้นที่ทั้งหมด 130,000 เอเคอร์หรือ 21% ที่ได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ที่เสียหายในปีนี้มีพื้นที่กว่า 30,000 เอเคอร์เหมาะสำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดู จากข้อมูลของ MOALI คาดว่าผลผลิตข้าวในปีนี้จะลดลง 700,000 ตัน  การเพาะปลูกข้าวมากกว่า 70% อยู่ในช่วงฤดูมรสุม ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่พะโคและอิรวดี แต่ความเสียหายของปีนี้น้อยกว่าเมื่อปีที่แล้ว ในปี 61 พื้นที่นาข้าวมากกว่า 1,300,000 เอเคอร์ถูกน้ำท่วมเสียหายกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/less-flood-damage-local-paddy-fields-year-moali.html

น้ำท่วมพิษพายุโพดุลส่งผลราคาข้าวและเนื้อหมูในภาคใต้ของ สปป.ลาว เพิ่มขึ้น

ราคาเนื้อหมูและข้าวเพิ่มขึ้นในจังหวัดทางภาคใต้ของ สปป.ลาวลาวที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม แต่อยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้เนื่องจากการควบคุมของรัฐบาล ราคาข้าวเพิ่มขึ้นประมาณ 500 กีบ เป็น 1,000 กีบต่อกิโลกรัม ส่วนเนื้อหมูเพิ่มขึ้นประมาณ 5,000 กีบต่อกิโลกรัม เนื่องจากผู้ค้าประสบปัญหาในการขนส่งสินค้า ถนนถูกน้ำท่วมท่วมและเสียหาย อย่างไรก็ตาม ราคาเนื้อหมูในปัจจุบันอยู่ในระดับปกติ เนื่องจากหน่วยงานในจังหวัดได้เข้ามาควบคุมราคา ผลกระทบพายุโซนร้อน”โพดุล” ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมไปยังหกจังหวัดของแขวงคำม่วน สะหวันเขต อัตตะปือ สาละวัน จำปาสัก และเซกอง ฟาร์มปศุสัตว์ ระบบชลประทาน และบ่อปลาก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน ปีที่แล้วมีข้าวนาปรัง 101,000 เฮกตาร์ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 12% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 817,800 เฮกตาร์ ประมาณการมีข้าว 66,000 เฮคตาร์ที่ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมในปีที่แล้วส่งผลให้ราคาข้าวเพิ่มขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จาก 1,000 กีบเป็น 2,000 กีบต่อกิโลกรัม ปัจจุบันผู้ประสบอุทกภัยยังต้องการอาหาร น้ำดื่ม อุปกรณ์ครัว ผ้าปูที่นอน และของใช้จำเป็นอื่น ๆ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/floods-lead-increase-prices-rice-and-pork-southern-provinces-103889