หอการค้าไทย-จีนหนุนผู้ประกอบการรุก “CIIE 2024” เพิ่มโอกาสส่งออกตลาดจีน

นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า งานมหกรรมสินค้านำเข้านานาชาติจีน ครั้งที่ 7 (China International Import Expo-CIIE 2024) หรือ CIIE จะเป็นการเปิดโอกาสให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดจีน ขณะที่นายยรรยง พวงราช ที่ปรึกษารองนายกัฐมนตรี กล่าวว่า งาน CIIE 2024 เป็นการเปิดโอกาสให้นักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยได้รับฟังศักยภาพของงาน CIIE รวมถึงแนวคิดการจัดงาน CIIE ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการส่งเสริมการนำเข้าสินค้าตามนโยบายเปิดกว้างทางเศรษฐกิจของจีน และเป็นเวทีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีนกับนานาประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นเวทีส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าสินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสู่ตลาดจีน รวมถึงเป็นโอกาสในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐผ่านการเยือนของผู้บริหารระดับสูงของไทย และเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางผลักดันการค้า การลงทุนระหว่างผู้แทนภาครัฐและภาคเอกชนไทย-จีน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/economy/586466

เอกชน ลุ้นดิจิทัลวอลเล็ตเดินหน้าได้ดัน GDP

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2566 เติบโตได้น้อยกว่าที่คาด โดยในช่วง 9 เดือนแรกเติบโตได้เพียง ร้อยละ 1.9 ซึ่งการส่งออกยังชะลอตัวตามทิศทางประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะจีน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวอย่างต่อเนื่องและชะลอการผลิตเพื่อเติมสินค้าคงคลัง นอกจากนี้ รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 28 ล้านคน แทนที่จะเป็นราว 30 ล้านคน การใช้จ่ายต่อหัวก็ลดลงเหลือเพียง 4.3 หมื่นบาท จากที่เคยประมาณการ 4.55 หมื่นบาท และเศรษฐกิจโลกปี 2567 มีแนวโน้มชะลอตัว จากภาวะการเงินที่ยังตึงตัวต่อเนื่อง ส่วนเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตไม่ถึง ร้อยละ 5 เนื่องจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ที่ ร้อยละ 2.8-3.3 และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะโตได้น้อยกว่า ร้อยละ 3 เนื่องจากต้องเผชิญทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และปัจจัยความเปราะบางในประเทศ เช่น หนี้ครัวเรือน หนี้ของภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs รวมถึงผลกระทบต่อการเข้าถึงสินเชื่อในระบบจากการเริ่มใช้มาตรการการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบของธปท.ที่เน้นเรื่องวินัยการไม่สร้างหนี้เกินกำลัง โดยมีปัจจัยบวกสำหรับปี 2567 ได้แก่ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 33 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นอีก 5 ล้านคนจากปี 2566 ทั้งนี้ หากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตดำเนินการได้เต็มวงเงิน 5 แสนล้านบาท ประเมินว่าจะช่วยเพิ่มการเติบโตของ GDP ได้อีกอย่างน้อย ร้อยละ 1.0-1.5

ที่มา INN News : https://www.innnews.co.th/news/politics/news_650643/

‘หอการค้าไทย’ แนะรบ.ใหม่เร่งกระตุ้นศก. ดูแลปากท้องประชาชน จี้ทบทวนแจกเงินดิจิทัล

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หากพิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบัน หอการค้าไทยยังมีความมั่นใจว่าประเทศน่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ได้ในกรอบเดือน ส.ค.-ก.ย. 2566 โดยมองว่าไทยควรมีรัฐบาลชุดใหม่ให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาภาคเอกชนติดตามความคืบหน้าการจัดตั้งรัฐบาลอย่างใกล้ชิด และเห็นทิศทางที่ชัดเจนมากขึ้น เมื่อพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะแกนนำจัดตั้งรัฐบาลสามารถรวบรวมเสียงได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แต่สิ่งสำคัญ คือเสถียรภาพของรัฐบาลที่จะต้องมีเสียงเพียงพอและเข้มแข็ง เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายเป็นไปอย่างราบรื่น และมีความต่อเนื่อง ทั้งนี้ มีข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลใหม่ในการดูแลเศรษฐกิจ โดยครอบคลุม 3 ระยะ ได้แก่ 1.ระยะเร่งด่วนโดยสิ่งที่รัฐบาลใหม่จำเป็นต้องดูแลทันที คือ การแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน ผ่านนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นโยบายลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และลดต้นทุนภาคเอกชน รวมถึงแก้ปัญหาภาคการส่งออกที่ชะลอตัว และเร่งส่งเสริมภาคท่องเที่ยว 2.ระยะกลาง ต้องวางแผนและป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลใหม่จำเป็นต้องเตรียมแผนบริหารจัดการทั้งพื้นที่ และการกักเก็บน้ำที่เหมาะสม รองรับความต้องการของภาคการเกษตร ภาคบริการ และภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนสานต่อข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ 3.ระยะยาว ต้องเริ่มปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจของทุกภาคส่วน ถึงประเด็นการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/431818/

ผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจไทย

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566  รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี ร่วมกับผศ.ดร.วชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจต่อภาคธุรกิจไทย โดยสำรวจผู้ประกอบ 600 ราย ระหว่างวันที่ 1-15 มีนาคม 2566 พบว่า ผู้ประกอบการมีความกังวลและสภาพธุรกิจส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากต้นทุนที่สูงขึ้น มีผลต่อยอดขายและกำไรลดลง แต่ภาระหนี้เพิ่มขึ้น

 

ซึ่งปัจจัยเชิงลบสำคัญ คือ ภาวะเงินเฟ้อสูง  และมองว่าเงินเฟ้อที่เหมาะสมควรสูงไม่เกิน 2-3% อัตราดอกเบี้ยที่สูงกระทบต่อโอกาสผิดนัดชำระหนี้ อัตราค่าจ้างแรงงานกว่า 22% มองว่าเหมาะสมอยู่ที่ 325 บาท/วัน จากเฉลี่ยอยู่ที่ 328-354 บาท/วัน หากปรับขั้นค่าแรงอีก 10% กว่า 50% ระบุว่าอาจต้องปรับขึ้นราคาสินค้า และเลิกจ้างแรงงานบางส่วน

 

ด้านค่าไฟฟ้าส่วนใหญ่เห็นว่าอัตราค่าไฟฟ้าที่จะลดจาก 5.69 บาทต่หน่วน เหลือ 5.33 บาทต่อหน่วยยังสูง ที่เหมาะสมมองที่ 3.94 บาทต่อหน่วย เช่นเดียวกับภาระค่าน้ำมันดีเซลที่สูง ธุรกิจ 80% ระบุว่าจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาสินค้าทันที ขณะที่ส่วนใหญ่ 95% ไม่ได้เตรียมรับมือเงินบาทผันผวน

 

สำหรับผลกระทบจากแบงก์สหรัฐล้ม ส่วนใหญ่เกือบ 90% ระบุว่าได้รับผลกระทบน้อยถึงไม่ได้รับผลกระทบ รวมถึงไม่ได้รับผลกระทบและได้รับผลกระทบน้อยจากการส่งออกหรือนำเข้า แต่อย่างไรก็ตาม บางส่วนกังวลในปานกลางหากผลกระทบแบงก์ล้มจะขยายวงกว้างกว่านี้ ส่วนปัจจัยเชิงบวกต่อธุรกิจวันนี้ คือ การกลับมาท่องเที่ยวไทยของชาวจีนภายหลังจากการเปิดประเทศ

 

ส่วนการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ผู้ประกอบการมองว่าจะฟื้นตัวได้เร็วขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4/2566 และจีดีพีทั้งในปีนี้ขยายตัวได้ 3.35-3.82% แม้ธุรกิจ 37% ยังมองเศรษฐกิจปีนี้โตต่ำกว่า 3% โดยยังกังวลถึงเสถียรภาพการเมืองไทยและปัจจัยเสี่ยงใหม่ๆ ภายนอกประเทศ

 

สำหรับข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่ต้องการให้รัฐบาลใหม่ช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่

  • ดูแลต้นทุนการผลิตของภาคเอกชนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่สูงเกินไป โดยเฉพาะในช่วงที่ เศรษฐกิจกาลังฟื้นตัว ณ ปัจจุบัน เช่น ไม่ปรับขึ้นค่าพลังงาน ต้นทุนอัตราดอกเบี้ย ค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นต้น
  • เร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่มีรัฐบาลรักษาการ และยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากต่างประเทศและในประเทศให้เหมาะสม เพื่อเป็นปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ฟื้นตัวในขณะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่แน่นอน
  • ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพและอ่อนค่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการส่งออกให้ขยายตัว
  • ดูแลสถานการณ์หนี้ครัวเรือนโดยเฉพาะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจ โลกถดถอยโดยให้ธุรกิจและประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้อย่างดีและมีเงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้ หากมีปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น

 

ที่มา: https://bit.ly/42nzc1f

หอการค้าชี้รับได้ขึ้นค่าแรง 5-8% เติมเงินให้คนรายได้น้อยสู้ของแพง ย้ำชัดห้ามปรับราคาเดียว

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีกระทรวงแรงงานเตรียมปรับอัตราค่าแรงงานเพิ่ม 5-8% ซึ่งหอการค้าไทยเห็นด้วย เนื่องจากค่าครองชีพสูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อสูง ถ้าไม่ปรับค่าแรง และสินค้าปรับตัวสูงขึ้นจะส่งผลโดยตรงต่อแรงงานที่มีรายได้น้อยได้รับผลกระทบมาก แต่สิ่งที่ไม่เห็นด้วย คือ การปรับค่าแรงงานเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศ ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงต้องผ่านคณะกรรมการไตรภาคีของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากที่สุด และที่ผ่านมาหอการค้าไทยพยายามผลักดันให้รัฐออกมาตรการเยียวยากระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น คนละครึ่งเฟส 5 ซึ่งเป็นรูปทรงที่ดีที่ทำมาตรการในช่วงเศรษฐกิจกำลังดีขึ้น และมาตรการช่วยดูแลส่วนที่เป็นแรงงาน หากไม่เข้าไปดูแลส่วนนี้จะเกิดปัญหาต่อสังคม

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/1338687/

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 2/2565

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ (FBCI) ว่า จากการสำรวจหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 12 ประเทศ ระหว่างเดือนเม.ย.-มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา หรือในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ในภาพรวมกว่า 60 % ของกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศไทย มุมมองต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย มุมมองต่อภาคบริการของประเทศไทย สภาพการจ้างงานในประเทศไทย และมุมมองต่อภาคการค้าระหว่างประเทศไทย (นำเข้า-ส่งออก) และมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก มีเพียง สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศไทย และมุมมองต่อภาคบริการของประเทศไทย ที่มีแนวโน้มดีขึ้น

ด้านประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่กลุ่มตัวอย่างต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ

  • ปัญหาเกี่ยวกับเงินเฟ้อและราคาพลังงาน ที่ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและกำลังซื้อของผู้บริโภค
  • การขาดทุนหมุนเวียนในการดาเนินธุรกิจของ SMEs และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่า (Soft Loan) ที่ยากลำบาก
  • ข้อจำกัดและมาตรการที่เข้มงวดในการรับมือโควิด-19 ส่งผลต่อความยากลำบากในการลงทุนและดำเนินธุรกิจ
  • สภาวะเศรษฐกิจซบเซาจากการระบาด COVID 19 และการปิดประเทศ
  • การว่างงานของแรงงานจากสถานการณ์ COVID 19 ส่งผลต่ออำนาจซื้อ
  • ทักษะแรงงานไม่สอดรับกับความต้องการของผู้ประกอบการ

ขณะที่ผลการสำรวจด้านธุรกิจในภาพรวมในปัจจุบันเพื่อเทียบกับปีก่อนพบว่าส่วนใหญ่ ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งรายได้ของธุรกิจ   ราคา สินค้า / บริการ ของธุรกิจ  คำสั่งซื้อ สินค้า / บริการ ภายในประเทศ คำสั่งซื้อ สินค้า / บริการ ต่างประเทศ คาสั่งซื้อ สินค้า / บริการ โดยรวมของธุรกิจ ผลกำไรของธุรกิจสมาชิก การลงทุนในธุรกิจของสมาชิก สภาพการจ้างงานของธุรกิจ สภาพคล่องของธุรกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจ และภาระหนี้สินของธุรกิจ มีเพียงค่าใช้จ่ายโดยรวมของธุรกิจ เท่านั้นที่อยู่ในระดับแย่ลง ส่วนสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน พบว่า ไม่เปลี่ยนแปลง ในทุกๆ ประเด็น

โดยประเด็นปัญหาของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่คือ

  • ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น อาทิเช่น ค่าขนส่ง ค่าเงินที่ผันผวน ภาระทางภาษี และการขาดแรงงานในการผลิต
  • ตลาดซบเซา คำสั่งซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางด้านคำสั่งซื้อ
  • ค่าเงินบาทไม่ค่อยมีความเสถียรภาพ
  • ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงควบคุมไม่ได้
  • ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันทางการเงินได้ รวมถึงขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ
  • ธุรกิจคู่ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

จากผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศภาพรวมในไตรมาส 2 ปี 2565 อยู่ที่ 50.0 เท่ากับการสำรวจครั้งล่าสุดในไตรมาส 1 ปี 2564.1 และทุกดัชนีทั้งปัจจุบันและอนาคตอยู่ในระดับมากกว่า 50 นั่นแสดงว่าภาพรวมของเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น จากการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว และการคลี่คลายของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVIID-19  การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาน์ และการยกเลิก Test & Go ตั้งแต่  1  พฤษภาคม 2565 ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น ซึ่งตั้งแต่ 1 มิถุนายนนี้ จะมีการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ การเดินทางเข้าประเทศไทยไม่ต้องกักตัวทุกรูปแบบ

สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลไทยสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน คือ

  • ควบคุมราคาสินค้า เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
  • ควบคุมราคาสินค้า เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทนเพื่อดึงดูดนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนจากต่างประเทศ
  • กำหนดมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • นโยบายให้เงินอุดหนุน ค่าจ้าง ค่าเช่า ฯลฯ ต่อภาคธุรกิจและ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ

  • ลดหย่อนหรือยกเว้นการเก็บภาษีทุกรูปแบบ ต่อผู้ได้รับผลกระทบ
  • จัดแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิเช่น มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  • สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน ภายใต้ประสิทธิภาพ
  • สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสาหรับนักธุรกิจชาวต่างชาติ
  • สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนซอฟต์โลน และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ แก่ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งธุรกิจไทยและต่างประเทศ
  • ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอ Visa และ Work Permit ง่ายขึ้น

ในขณะที่ ทัศนคติต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน พบว่า ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ COVID 19 ของนักธุรกิจอยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 39.6) เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง ส่วนสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 พบว่า จะมีการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในช่วง 2.1  ถึง 5.0% (ร้อยละ 60.0)

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3T80VNL

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 1/2565

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ(FBCI)ว่า จากการสำรวจหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 29 ประเทศ ระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา หรือในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ในภาพรวมกว่า 70 % ของกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจไทย มุมมองต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย มุมมองต่อภาคการค้าของประเทศไทย มุมมองต่อภาคบริการของประเทศไทย สภาพการจ้างงานในประเทศไทย และมุมมองต่อภาคการค้าระหว่างประเทศไทย (นำเข้า-ส่งออก)  และมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก

ด้านประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่กลุ่มตัวอย่างต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ

  • ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่ซบเซาจากการระบาด COVID 19 และการปิดประเทศทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้
  • การขาดทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของ SMEs และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ที่ยากลำบาก
  • ข้อจากัดและมาตรการที่เข้มงวดในการรับมือโควิด-19 ส่งผลต่อความยากลำบากในการลงทุนและดำเนินธุรกิจ
  • สภาวะเศรษฐกิจซบเซาจากการระบาด COVID 19 และการปิดประเทศ
  • การว่างงานของแรงงานจากสถานการณ์ COVID 19 ส่งผลต่ออำนาจซื้อ
  • ภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวจากราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น

ขณะที่ผลการสำรวจด้านธุรกิจในภาพรวมในปัจจุบันเพื่อเทียบกับปีก่อนพบว่าส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงทั้งรายได้ของธุรกิจ  คำสั่งซื้อจากในและต่างประเทศลดลง การลงทุนในธุรกิจของสมาชิก สภาพการจ้างงานของธุรกิจ สภาพคล่องของธุรกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจ และภาระหนี้สินของธุรกิจ เป็นต้น และยังมองว่าสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นค่าใช้จ่ายโดยรวมของธุรกิจ ที่มีแนวโน้มแย่ลง

โดยประเด็นปัญหาของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่คือ

  • ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น อาทิเช่น ค่าขนส่ง ค่าเงินที่ผันผวน ภาระทางภาษี และการขาดแรงงานในการผลิต
  • ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันทางการเงินได้ รวมถึงขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ
  • ธุรกิจคู่ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน
  • ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงควบคุมไม่ได้
  • ผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ เช่น ข้อจำกัดในการเดินทาง รวมถึงความไม่แน่นอนของการเปิดประเทศ
  • ตลาดซบเซา คำสั่งซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางด้านคำสั่งซื้อ

จากผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศภาพรวมในไตรมาส 1 ปี 2565 อยู่ที่ 50.1 ลดลงจากการสำรวจครั้งล่าสุดในไตรมาส 3 ปี 2564 ที่อยู่ในระดับ 54.1 แต่ทุกดัชนีทั้งปัจจุบันและอนาคตอยู่ในระดับมากกว่า 50 นั่นแสดงว่าภาพรวมของเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น จากการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว และการคลี่คลายของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVIID-19  และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาน์

สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลไทยสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน คือ

  • มีแผนควบคุม Covid 19 ที่ชัดเจนและเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว
  • นโยบายให้เงินอุดหนุน ค่าจ้าง ค่าเช่า ฯลฯ ต่อภาคธุรกิจและ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
  • แก้ไขกฎระเบียบที่ซับซ้อนในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติรวมถึงสนับสนุนสิทธิประโยชน์ในการลงทุน
  • การจัดหาวัคซีนเพื่อนำมาฉีดให้ประชาชนในประเทศให้เร็วและทั่วถึงที่สุด
  • ผ่อนปรนมาตรการ Covid 19 เพื่อใหภาคธุรกิจดำเนินกิจการได้สะดวกขึ้น
  • กาหนดมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทนเพื่อดึงดูดนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนจากต่างประเทศ

สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ

  • ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอ Visa และ Work Permit ง่ายขึ้น
  • สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนซอฟต์โลน และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ แก่ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งธุรกิจไทยและต่างประเทศ
  • ลดหย่อนหรือยกเว้นการเก็บภาษีทุกรูปแบบ ต่อผู้ได้รับผลกระทบ
  • จัดแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิเช่น มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  • ผ่อนคลายมาตรการการกักกันโรค เพื่ออานวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ
  • เปิดประเทศภายใต้มาตรการความปลอดภัย
  • สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน ภายใต้ประสิทธิภาพ

ในขณะที่ ทัศนคติต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน พบว่า ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ COVID 19 ของนักธุรกิจอยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 39.6) เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง ส่วนสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 พบว่า จะมีการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในช่วง 0.1 ถึง 3.0% (ร้อยละ 57.1)

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3fVMgaj

หอการค้าไทยผลักดันการค้าชายแดน รวมถึงกัมพูชา

รัฐบาลไทยเร่งกระตุ้นการค้าชายแดน และจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยหอการค้าไทยกล่าวถึงความเสี่ยงในตลาดโลก อาทิเช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ วิกฤตด้านพลังงาน และการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบทางการเกษตร ซึ่งทั้งหมดนี้ จะทำให้ต้นทุนการผลิตในภาคการผลิตและราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ด้าน สุรงค์ บูลกุล รองประธานสภาฯ กล่าวเสริมว่า รัฐบาลไทยได้เสนอให้เร่งเปิดด่านพรมแดนระหว่างไทยกับ มาเลเซีย สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา เพื่อเพิ่มการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์การค้าชายแดนขยายตัวร้อยละ 5 ในปีนี้ หรือคิดเป็น 1.08 ล้านล้านบาท แต่ในช่วง 4 เดือนแรกของปี การค้าชายแดนของไทยหดตัวร้อยละ 0.04 เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็นมูลค่า 314,000 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการปิดด่านชายแดนที่สำคัญของจีนเพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโควิด-19 ภายใต้นโยบาย Zero-Covid

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501106160/thai-chamber-pushes-border-trade-including-with-cambodia/

ไทย-จีนชื่นมื่น “สนั่น” นำหอการค้าฯผนึก ”ดอน” เยือนจีนครั้งแรกหลังโควิด

เมื่อวันที่ 1-2 เมษายน 2565 นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ร่วมคณะนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนำคณะผู้แทนด้านเศรษฐกิจไทยเยือน เมืองหวงซาน มณฑลอานฮุย สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำเชิญของ นายหวังอี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อกระชับความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างไทยกับจีน มีเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน และความเชื่อมโยงด้านการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งความเชื่อมโยงระหว่าง EEC กับเขตเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta: YRD) ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจของจีน เพื่อหารือความร่วมมือในกรอบทวิภาคี อนุภูมิภาค (แม่โขง-ล้านช้าง) และภูมิภาค (อาเซียน-จีน) และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคร่วมกัน

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-902585

หอการค้า จี้รัฐเปิดด่านชายแดน 3 จังหวัดอีสาน เชื่อมการค้า-ท่องเที่ยว ‘ลาว-เขมร’ ตั้งเป้าดันมูลค่าการค้าปีนี้แตะ 3 หมื่นล.

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ประชุมร่วมกับหอการค้าอุบลราชธานี อำนาจเจริญ และยโสธร ว่า ในปี 2564 ไทยมีมูลค่าการค้าชายแดนบริเวณด่านศุลกากรช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี กว่า 2 หมื่นล้านบาท และคาดว่าปี 2565 จะโตเพิ่มขึ้น 30-40% หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง อุปกรณ์การเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค ส่วนสินค้านำเข้า คือ มันสำปะหลัง และผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ โดยที่ประชุมเสนอให้เร่งเปิดจุดผ่านแดนถาวร ช่องอานม้า อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ที่ติดกับกัมพูชา, เปิดจุดผ่อนปรนการค้า บ.ยักษ์คุ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ที่ติดกับ สปป. ลาว ซึ่งจะช่วยให้เกิดการขยายตัวของการค้าในพื้นที่ และส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน สอดคล้องกับนโยบาย Trade and Travel ของหอการค้าไทย

ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6967429