ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 2/2565

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ (FBCI) ว่า จากการสำรวจหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 12 ประเทศ ระหว่างเดือนเม.ย.-มิ.ย.2565 ที่ผ่านมา หรือในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ในภาพรวมกว่า 60 % ของกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศไทย มุมมองต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย มุมมองต่อภาคบริการของประเทศไทย สภาพการจ้างงานในประเทศไทย และมุมมองต่อภาคการค้าระหว่างประเทศไทย (นำเข้า-ส่งออก) และมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก มีเพียง สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศไทย และมุมมองต่อภาคบริการของประเทศไทย ที่มีแนวโน้มดีขึ้น

ด้านประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่กลุ่มตัวอย่างต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ

  • ปัญหาเกี่ยวกับเงินเฟ้อและราคาพลังงาน ที่ส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและกำลังซื้อของผู้บริโภค
  • การขาดทุนหมุนเวียนในการดาเนินธุรกิจของ SMEs และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่า (Soft Loan) ที่ยากลำบาก
  • ข้อจำกัดและมาตรการที่เข้มงวดในการรับมือโควิด-19 ส่งผลต่อความยากลำบากในการลงทุนและดำเนินธุรกิจ
  • สภาวะเศรษฐกิจซบเซาจากการระบาด COVID 19 และการปิดประเทศ
  • การว่างงานของแรงงานจากสถานการณ์ COVID 19 ส่งผลต่ออำนาจซื้อ
  • ทักษะแรงงานไม่สอดรับกับความต้องการของผู้ประกอบการ

ขณะที่ผลการสำรวจด้านธุรกิจในภาพรวมในปัจจุบันเพื่อเทียบกับปีก่อนพบว่าส่วนใหญ่ ไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งรายได้ของธุรกิจ   ราคา สินค้า / บริการ ของธุรกิจ  คำสั่งซื้อ สินค้า / บริการ ภายในประเทศ คำสั่งซื้อ สินค้า / บริการ ต่างประเทศ คาสั่งซื้อ สินค้า / บริการ โดยรวมของธุรกิจ ผลกำไรของธุรกิจสมาชิก การลงทุนในธุรกิจของสมาชิก สภาพการจ้างงานของธุรกิจ สภาพคล่องของธุรกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจ และภาระหนี้สินของธุรกิจ มีเพียงค่าใช้จ่ายโดยรวมของธุรกิจ เท่านั้นที่อยู่ในระดับแย่ลง ส่วนสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน พบว่า ไม่เปลี่ยนแปลง ในทุกๆ ประเด็น

โดยประเด็นปัญหาของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่คือ

  • ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น อาทิเช่น ค่าขนส่ง ค่าเงินที่ผันผวน ภาระทางภาษี และการขาดแรงงานในการผลิต
  • ตลาดซบเซา คำสั่งซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางด้านคำสั่งซื้อ
  • ค่าเงินบาทไม่ค่อยมีความเสถียรภาพ
  • ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงควบคุมไม่ได้
  • ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันทางการเงินได้ รวมถึงขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ
  • ธุรกิจคู่ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน

จากผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศภาพรวมในไตรมาส 2 ปี 2565 อยู่ที่ 50.0 เท่ากับการสำรวจครั้งล่าสุดในไตรมาส 1 ปี 2564.1 และทุกดัชนีทั้งปัจจุบันและอนาคตอยู่ในระดับมากกว่า 50 นั่นแสดงว่าภาพรวมของเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น จากการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว และการคลี่คลายของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVIID-19  การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาน์ และการยกเลิก Test & Go ตั้งแต่  1  พฤษภาคม 2565 ทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในไทยมากขึ้น ซึ่งตั้งแต่ 1 มิถุนายนนี้ จะมีการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ การเดินทางเข้าประเทศไทยไม่ต้องกักตัวทุกรูปแบบ

สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลไทยสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน คือ

  • ควบคุมราคาสินค้า เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
  • ควบคุมราคาสินค้า เพื่อบรรเทาปัญหาภาวะเงินเฟ้อ
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทนเพื่อดึงดูดนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนจากต่างประเทศ
  • กำหนดมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • นโยบายให้เงินอุดหนุน ค่าจ้าง ค่าเช่า ฯลฯ ต่อภาคธุรกิจและ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ

  • ลดหย่อนหรือยกเว้นการเก็บภาษีทุกรูปแบบ ต่อผู้ได้รับผลกระทบ
  • จัดแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิเช่น มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  • สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน ภายใต้ประสิทธิภาพ
  • สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสาหรับนักธุรกิจชาวต่างชาติ
  • สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนซอฟต์โลน และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ แก่ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งธุรกิจไทยและต่างประเทศ
  • ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอ Visa และ Work Permit ง่ายขึ้น

ในขณะที่ ทัศนคติต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน พบว่า ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ COVID 19 ของนักธุรกิจอยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 39.6) เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง ส่วนสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 พบว่า จะมีการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในช่วง 2.1  ถึง 5.0% (ร้อยละ 60.0)

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3T80VNL

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 1/2565

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ(FBCI)ว่า จากการสำรวจหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 29 ประเทศ ระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา หรือในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ในภาพรวมกว่า 70 % ของกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งการลงทุนจากต่างประเทศ นโยบายเศรษฐกิจไทย มุมมองต่อภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย มุมมองต่อภาคการค้าของประเทศไทย มุมมองต่อภาคบริการของประเทศไทย สภาพการจ้างงานในประเทศไทย และมุมมองต่อภาคการค้าระหว่างประเทศไทย (นำเข้า-ส่งออก)  และมองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันก็ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมากนัก

ด้านประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมที่กลุ่มตัวอย่างต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ

  • ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวที่ซบเซาจากการระบาด COVID 19 และการปิดประเทศทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาได้
  • การขาดทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจของ SMEs และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ที่ยากลำบาก
  • ข้อจากัดและมาตรการที่เข้มงวดในการรับมือโควิด-19 ส่งผลต่อความยากลำบากในการลงทุนและดำเนินธุรกิจ
  • สภาวะเศรษฐกิจซบเซาจากการระบาด COVID 19 และการปิดประเทศ
  • การว่างงานของแรงงานจากสถานการณ์ COVID 19 ส่งผลต่ออำนาจซื้อ
  • ภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวจากราคาสินค้าและบริการที่แพงขึ้น

ขณะที่ผลการสำรวจด้านธุรกิจในภาพรวมในปัจจุบันเพื่อเทียบกับปีก่อนพบว่าส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยนแปลงทั้งรายได้ของธุรกิจ  คำสั่งซื้อจากในและต่างประเทศลดลง การลงทุนในธุรกิจของสมาชิก สภาพการจ้างงานของธุรกิจ สภาพคล่องของธุรกิจ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของธุรกิจ และภาระหนี้สินของธุรกิจ เป็นต้น และยังมองว่าสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบันยังไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นค่าใช้จ่ายโดยรวมของธุรกิจ ที่มีแนวโน้มแย่ลง

โดยประเด็นปัญหาของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่คือ

  • ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น อาทิเช่น ค่าขนส่ง ค่าเงินที่ผันผวน ภาระทางภาษี และการขาดแรงงานในการผลิต
  • ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันทางการเงินได้ รวมถึงขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ
  • ธุรกิจคู่ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน
  • ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงควบคุมไม่ได้
  • ผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ เช่น ข้อจำกัดในการเดินทาง รวมถึงความไม่แน่นอนของการเปิดประเทศ
  • ตลาดซบเซา คำสั่งซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศลดลง เป็นผลมาจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ทำให้เกิดความไม่แน่นอนทางด้านคำสั่งซื้อ

จากผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศภาพรวมในไตรมาส 1 ปี 2565 อยู่ที่ 50.1 ลดลงจากการสำรวจครั้งล่าสุดในไตรมาส 3 ปี 2564 ที่อยู่ในระดับ 54.1 แต่ทุกดัชนีทั้งปัจจุบันและอนาคตอยู่ในระดับมากกว่า 50 นั่นแสดงว่าภาพรวมของเศรษฐกิจมีแนวโน้มดีขึ้น จากการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว และการคลี่คลายของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVIID-19  และการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาน์

สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลไทยสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน คือ

  • มีแผนควบคุม Covid 19 ที่ชัดเจนและเริ่มเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว
  • นโยบายให้เงินอุดหนุน ค่าจ้าง ค่าเช่า ฯลฯ ต่อภาคธุรกิจและ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
  • แก้ไขกฎระเบียบที่ซับซ้อนในการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติรวมถึงสนับสนุนสิทธิประโยชน์ในการลงทุน
  • การจัดหาวัคซีนเพื่อนำมาฉีดให้ประชาชนในประเทศให้เร็วและทั่วถึงที่สุด
  • ผ่อนปรนมาตรการ Covid 19 เพื่อใหภาคธุรกิจดำเนินกิจการได้สะดวกขึ้น
  • กาหนดมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทนเพื่อดึงดูดนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนจากต่างประเทศ

สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ

  • ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอ Visa และ Work Permit ง่ายขึ้น
  • สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนซอฟต์โลน และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ แก่ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งธุรกิจไทยและต่างประเทศ
  • ลดหย่อนหรือยกเว้นการเก็บภาษีทุกรูปแบบ ต่อผู้ได้รับผลกระทบ
  • จัดแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิเช่น มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  • ผ่อนคลายมาตรการการกักกันโรค เพื่ออานวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ
  • เปิดประเทศภายใต้มาตรการความปลอดภัย
  • สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน ภายใต้ประสิทธิภาพ

ในขณะที่ ทัศนคติต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน พบว่า ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ COVID 19 ของนักธุรกิจอยู่ในระดับน้อย (ร้อยละ 39.6) เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลายลง ส่วนสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 พบว่า จะมีการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในช่วง 0.1 ถึง 3.0% (ร้อยละ 57.1)

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เข้าถึงได้จาก https://bit.ly/3fVMgaj

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 3/2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เผย ‘ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ ไตรมาสที่ 3 ปี 2564  (สิงหาคม-ตุลาคม 2564)  ซึ่งสำรวจความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 29 ประเทศ จำนวน 66 ราย พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติโดยรวมอยู่ที่ระดับ 41.7 เพิ่มขึ้นจาก 27.7 ในไตรมาสก่อนหน้า หลังจากรัฐบาลประกาศคลายล็อกดาวน์และเตรียมเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 นี้ ทำให้ความเชื่อมั่นของนักธุรกิจต่างชาติปรับตัวดีขึ้น

ผลสำรวจด้านธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติกำลังเผชิญอยู่พบว่า อันดับแรกคือ ความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากต้นทุนการดำเนินการที่สูงขึ้น อาทิเช่น ค่าขนส่ง ค่าเงินที่ผันผวน ภาระทางภาษี และการขาดแรงงานในการผลิต  (21.7%) รองลงมาคือ ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันทางการเงินได้ รวมถึงขาดการสนับสนุนจากทางภาครัฐ (18.1%) และธุรกิจคู่ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเป็นการชั่วคราวหรือถาวร ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน (15.7%)

ขณะเดียวกันสิ่งที่นักธุรกิจต่างชาติต้องการให้รัฐบาลไทยสนับสนุนและแก้ไขปัญหา คือ 1) มีแผนควบคุมโควิด-19 ที่ชัดเจน  2)นโยบายการให้เงินอุดหนุน ค่าจ้าง ค่าเช่า ฯ ต่อภาคธุรกิจและเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 3) แก้ไขกฎระเบียบที่ซับซ้อนในการเข้ามาลงทุน ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอVisa และWork Permit ให้ง่ายขึ้น และ 4)จัดหาวัคซีนมาฉีดให้ประชาชนให้เร็วที่สุดและทั่วถึงที่สุด และผ่อนปรนมาตรการโควิดเพื่อให้ภาคธุรกิจดำเนินกิจการได้สะดวกขึ้น

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ คือ 1) ปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBA) ให้มีความทันสมัย เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงกระบวนการขอ Visa และ Work Permit ง่ายขึ้น 2) สร้างการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สนับสนุนซอฟต์โลน และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ แก่ผู้ประกอบการที่ได้ผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ทั้งธุรกิจไทยและต่างประเทศ และ 3) สร้างเสถียรภาพทางการเมือง ลดขั้นตอนในการดำเนินงาน

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 2/2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังได้เปิดเผย ‘ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติ’ ในไทย (Foreign Business Confidence Index: FBCI) และผลสำรวจความเห็น ‘ดัชนีนักธุรกิจต่างชาติในไทย’ ประจำไตรมาส 2/64 ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 (พ.ค.- ก.ค.2564) ซึ่งสำรวจความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นหอการค้าต่างประเทศประจำประเทศไทย 35 ประเทศ จำนวน 70 ราย ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม 2564 โดยพบว่าดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติโดยรวมอยู่ที่ระดับ 27.7 ลดลงจาก 33.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นระดับต่ำสุดนับจากเริ่มต้นสำรวจ

ด้านปัญหาทางธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติกำลังเผชิญอยู่พบว่า อันดับแรกคือ คำสั่งซื้อที่ลดลงจากเศรษฐกิจที่ซบเซา (23.54%) รองลงมาคือ ธุรกิจขาดสภาพคล่องและเข้าไม่ถึงมาตรการเยียวยา (18.31%) และผู้บริหารและพนักงานเข้าไม่ถึงวัคซีน (12.33%)

ส่วนการสำรวจความเห็นของนักธุรกิจต่างชาติยังพบด้วยว่า 70% คิดว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีโอกาสเติบโตติดลบ 42.50% มีความเชื่อมั่นต่อมาตรการควบคุมโควิดของภาครัฐน้อย และ 35.70% ไม่เชื่อมั่นเลย 57% มองว่ามาตรการของรัฐบาลในเวลานี้ไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหา และ 27% ยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้ในช่วงใด โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าอย่างเร็วที่สุดคือไตรมาสแรกของปีหน้า

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างชาติในไทย ไตรมาสที่ 1/2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 (ม.ค.- มี.ค.) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักธุรกิจต่างประเทศโดยรวมอยู่ที่ 32.1 ดัชนีความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 27.6 และดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอยู่ที่ 29.8

นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอแนะที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนและแก้ไข ได้แก่ เร่งจัดสรรและดำเนินการฉีดวัคซีนให้ได้ตามแผน จัดหาสินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยต่า (Soft Loan) เพื่อธุรกิจไทยและต่างประเทศ เร่งเปิดประเทศในรูปแบบที่ปลอดภัย เพื่อรับนักท่องเที่ยว แก้ไขข้อจำกัดและกฎระเบียบที่ซับซ้อนในทำธุรกิจในไทย เอื้อสิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่ภาคธุรกิจต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา: สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย