‘อาเซียน’ ส่งสิ่งของช่วยเหลือเมียนมา บรรเทาทุกข์เหยื่อจากพายุไซโคลนโมคา

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) นำส่งมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัยพิบัติฉุกเฉินของอาเซียน (DELSA) ได้อนุมัติวงเงินช่วยเหลือแก่เมียนมา 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน ‘โมคา’ ทั้งนี้ จากการประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว พบว่ามีความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของสาธารณะ รวมถึงมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 145 คน บาดเจ็บไปกว่า 131 คน และผู้คน 912,000 คน ต้องอพยพไปยังสถานที่ปลอดภัย ทั้งนี้ นายเกา กิม ฮวน เลขาธิการอาเซียน แสดงความเสียใจต่อชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตลอดจนพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501297944/asean-delivers-relief-supplies-to-myanmar-to-help-victims-of-cyclone-mocha/

รัฐบาลสปป.ลาววางแผนกองทุนภัยพิบัติเพื่อช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น

รัฐบาลกำลังจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วย การประชุมประจำเดือนของคณะรัฐมนตรีได้มีการอภิปรายเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องกับกองทุนซึ่งร่างโดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้กำหนดหลักการและมาตรการสำหรับการจัดการและการใช้เงินกองทุนตลอดจนกลไกในการระดมความช่วยเหลือทางการเงินและติดตามสถานการณ์ฉุกเฉินและการบรรเทาทุกข์อย่างรวดเร็วสำหรับครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ อธิบดีกรมสวัสดิการสังคมกล่าวว่ากองทุนนี้จะบริหารจัดการในระดับเมือง แขวงและส่วนกลาง คณะกรรมการจัดการภัยพิบัติ สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการใช้กองทุนเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ในกรณีที่สภาพอากาศเลวร้ายได้ในทันที สปป.ลาวมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ปัญหาหลักประการหนึ่งคือเมื่อเกิดอุทกภัยเจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลานานในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับขอบเขตความเสียหายก่อนที่จะขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ กองทุนภัยพิบัติได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้และเร่งการให้การสนับสนุน หน่วยงานท้องถิ่นจะได้รับอนุญาตให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยตรงตามความต้องการที่แท้จริง  ซึ่งช่วยให้ทางการระดมทุนจากภาคส่วนต่างๆได้ดีขึ้น รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณบางส่วนให้กับกองทุนในแต่ละปีและจะระดมทุนจากสังคมมากขึ้น เพื่อให้มีทรัพยากรทางการเงินเพียงพอที่จะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติอย่างรวดเร็ว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt176.php

การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติสู่แผนพัฒนา สปป.ลาว

กระทรวงแผนการและการลงทุนของสปป.ลาวจะให้ความสำคัญและรวมการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2564-2568) เพื่อลดผลกระทบและส่งเสริมการติดตามและคำเตือนขั้นสูงสำหรับภัยพิบัติ อธิบดีกรมวางแผนภายใต้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของสปป.ลาวกล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการประชุมเชิงปฏิบัติการให้คำปรึกษาเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหารือเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เนื่องจากภัยพิบัติได้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาและการดำรงชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำท่วม ภัยแล้งและแผ่นดินไหว ซึ่งประเทศได้รับผลกระทบในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะการพังของเขื่อนปิดกั้นช่องเขาส่วน D ที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเซเปียน – เซน้ำน้อยน้ำท่วมในจังหวัดภาคกลางภาคใต้และภาคเหนือ รวมทั้งโรคสัตว์แมลงศัตรูพืชและการระบาดของ covid -19  ผู้เข้าร่วมได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับร่างแผน 5 ปีถัดไปตามข้อมูลของกระทรวงการวางแผนและการลงทุน ในระหว่างการประชุมผู้แทนกรมสวัสดิการสังคมภายใต้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้นำเสนอกฎหมายว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-08/13/c_139287602.htm