KB Bank รุกหนัก ภาคก่อสร้างเมียนมา

KB Bank พร้อมให้ความสำคัญกับภาคการก่อสร้างของเมียนมา นาย เฮอร์ยิน ประธานกรรมการกล่าวในงานการเปิดตัวในเมียนมามื่อวันที่ 27 มกราคม 64 KB Bank เป็นบริษัทย่อยของ KB Kookmin Bank จากเกาหลีใต้ที่ให้บริการ เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารดิจิทัล ธนาคารสำหรับองค์กรและโครงสร้างพื้นฐานด้านการธนาคาร แต่เป้าหมายคือภาคการก่อสร้าง โดยอย่างยิ่งในด้านการเงินการธนาคารดิจิทัลและที่อยู่อาศัย นี่คือจุดแข็งของ KB Kookmin Bank ซึ่งข้าสู่เมียนมาในปี 56 ด้วยการเปิดตัวสำนักงานใหญ่ในย่างกุ้ง รัฐมนตรีประจำเขตย่างกุ้ง นี่เป็นหนึ่งในหลาย ๆ ด้านของความร่วมมือระหว่างเมียนมาและเกาหลี ศูนย์อุตสาหกรรมเกาหลี – เมียนมา (KMIC) มีโครงการที่อยู่อาศัยทโรงงานและการประชุมเชิงปฏิบัติการ โครงการ Dala Myothit ซึ่งลงนามร่วมกันระหว่างเมียนมากับเกาหลีใต้สามารถสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ KB Kookmin Bank เป็นหนึ่งในธนาคารต่างประเทศอีก 7 แห่งที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการในประเทศ ณ ตอนนี้เป็นธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่ตั้งบริษัทลูกในเมียนมาร์และจะได้รับใบอนุญาตให้เปิดสาขา 10 แห่งทั่วประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/kb-bank-focus-myanmars-construction-sector.html

แรงงานก่อสร้าง บ. โยมา ลุกฮือประท้วง หลังถูกลดเงินเดือน

แรงงานหลายร้อยคนจากโครงการก่อสร้าง Yoma Central มูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในใจกลางเมืองย่างกุ้ง ได้มีการประท้วงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาภายหลังจากได้รับแจ้งว่าในเดือนนี้ถูกลดค่าจ้างและบางรายไม่ได้เงินชดเชยจากประกันสังคม การประท้วงเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่และลากยาวไปจนถึงบ่าย โดยมีการปิดกั้นถนนและการจราจรเริ่มติดขัดในพื้นที่ โครงการโยมาเซ็นทรัลเป็นโครงการพัฒนาแบบผสมผสานที่ เรียกว่า “มิกซ์ยูส” (mixed-use) ซึ่งประกอบด้วยที่พักอาศัยระดับหรู โรงแรมระดับ 5 ดาว เซอร์วิสอพาร์ทเมนท์ และสำนักงาน โครงการนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาภายในสำนักงานใหญ่ Myanma Railways เป็นการร่วมทุนระหว่าง Yoma Strategic Holdings จากสิงคโปร์และ Dragages Singapore คนงานได้ร่วมกันประท้วงเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วเมื่อโควิด -19 ระบาดครั้งแรกในเมียนมาเพื่อเรียกร้องที่ไม่ได้รับค่าจ้างในช่วงวันหยุดเทศกาลตะจาน (Thingyan)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/yoma-central-workers-protest-over-salary-cuts.html

ภาคการก่อสร้างในกัมพูชาประสบปัญหากับการเติบโตที่ต่ำลง

หนึ่งในเสาหลักทางเศรษฐกิจที่สำคัญของกัมพูชาคือภาคการก่อสร้างถูกกำหนดให้มีอัตราการเติบโตติดลบในปีนี้ ซึ่งไม่เคยเห็นมาตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินระหว่างปี 2550 ถึง 2552 โดยภาคนี้มีช่วงการเติบโตที่น่าประทับใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากตัวเลขอย่างเป็นทางการจากกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการพิจารณาคดีการลงทุน มีมูลค่าถึง 11 พันล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 90 เมื่อเทียบกับปี 2561 จำนวน 5.5 พันล้านดอลลาร์ ในแง่ของผลกระทบจาก COVID-19 ภาคนี้คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ติดลบร้อยละ 5.3 ในปี 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 3.3 ในปีหน้าตามรายงานฉบับล่าสุดของกระทรวงเศรษฐกิจ และการเงิน ซึ่งภาคการก่อสร้างที่ลดลงอย่างมากนี้ส่งผลให้คาดการณ์ว่าการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงตามไปด้วย โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีมีการอนุมัติ 1,547 โครงการ เพิ่มขึ้น 322 โครงการในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว มีมูลค่าประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 หรือคิดเป็น 6.8 ล้านตารางเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50736882/construction-suffers-from-low-growth/

ภาคการก่อสร้างในกัมพูชาเริ่มซบเซา

การไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชา (FDI) ลดลงอย่างมากในช่วง 2 เดือนแรกของปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากการลดลงของการลงทุนสำหรับภาคการก่อสร้างและการท่องเที่ยวตามรายงานของธนาคารโลก โดยรายงานระบุว่ามูลค่า FDI ที่ได้รับอนุมัติทั้งหมดของกัมพูชาลดลงร้อยละ 52.2 ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2020 อันเป็นผลมาจากการระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก ซึ่งการระบาดในครั้งนี้ได้ทำลายเศรษฐกิจระหว่างประเทศส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนลงอย่างมาก โดยกัมพูชาได้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 40% จากจีนแผ่นดินใหญ่ซึ่งการลงทุนส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังภาคการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามตามสมาคมก่อสร้างกัมพูชา (CCA) กล่าวว่ามูลค่าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติจริงเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2020 เนื่องจากการลงทุนจากแหล่งในท้องถิ่น ตามรายงานของธนาคารโลก ซึ่งโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของกัมพูชาที่อนุมัติแล้วมีมูลค่าประมาณ 3.5 พันล้านดอลลาร์ โดยธนาคารแห่งชาติของกัมพูชาคาดการณ์ว่า FDI ในกัมพูชาจะเพิ่มขึ้น 10% ในปีนี้ อยู่ที่ 3.95 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50729648/sluggish-construction-sector-causes-sharp-fdi-contraction/