รัฐบาลกัมพูชาทุ่มงบ 2.3 พันล้านดอลลาร์ บรรเทาวิกฤตโควิดเศรษฐกิจ

รัฐบาลกัมพูชาทุ่มงบประมาณมากกว่า 2.3 พันล้านดอลลาร์ ในการกระตุ้นและเยียวยาเศรษฐกิจ หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นระยะเวลากว่า 2 ปี โดย รมว.กระทรวงการคลัง แถลงข่าวไปเมื่อวานนี้ (14 ธ.ค.) ณ สำนักงานคณะรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลกัมพูชากำลังวางแผนกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ ในระหว่างการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนและปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะ 4 ภาคส่วน ที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคการท่องเที่ยว เสื้อผ้าและสิ่งทอ และภาคการผลิต รวมถึงสนับสนุนกลไกทางการเงินในภาคเอกชน ซึ่งรัฐบาลได้เตรียมเงินสำหรับการปล่อยสินเชื่อวงเงินมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์ ผ่านทางธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของกัมพูชา (SMEs) บนอัตราดอกเบี้ยต่ำสำหรับภาคส่วนสำคัญบางกลุ่มในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50988679/govt-spends-over-2-3-bil-to-ease-economic-crisis/

เวียดนามลดค่าไฟ ช่วยประชาชนฝ่าโควิด-19

เมื่อวันที่ 31 ก.ค. นายกรัฐมนตรีได้เห็นขอบมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกที่ 4 และมาตรการเว้นระยะหางทางสังคม ภายใต้คำสั่งข้อที่ 16 ของรัฐบาล ด้วยเหตุนี้ การไฟฟ้าเวียดนามจึงดำเนินปรับลดค่าไฟฟ้าลง 15% (ก่อนหักภาษีมูลค่าเพิ่ม) แก่ผู้บริโภคที่ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า 200 หน่วยต่อเดือน และ 10% (ก่อนหักภาษีมูลค่าเพิ่ม) สำหรับผู้บริโภคที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 200 หน่วยต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/10233502-electricity-prices-to-be-reduced-for-customers-affected-by-pandemic.html

ร้องรัฐจ่ายชดเชยว่างงานต่อ ผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการ

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้รับข้อร้องเรียนจากสมาคมสวนสนุกและสวนพักผ่อนหย่อนใจ สมาคมเพื่อสวนสัตว์ไทย สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และ บมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ถึงผลกระทบจากคำสั่งปิดกิจการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงได้เสนอให้จ่ายชดเชยว่างงาน เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างผู้ประกันตน ซึ่งจะได้รับทดแทนสูงสุดไม่เกิน 90 วัน หลังจากที่รัฐออกคำสั่งปิดกิจการไปแล้วเมื่อเดือน เม.ย.64 และจะครบกำหนดเดือน ก.ค.นี้ ส่วนความคืบหน้ามาตรการในการบรรเทาหนี้ประชาชน และการเข้าถึงสินเชื่อของภาคเอกชน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ออกสินเชื่อวงเงินรวม 90,000 ล้านบาทมาช่วยเหลือแล้ว สำหรับการพักชําระเงินต้นและดอกเบี้ยที่ถึงกําหนดชําระอย่างน้อย 2 เดือน

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/other/2150172

ขยายเวลาจำกัดโควิดและยกเลิกบางมาตรการบรรเทาผลกระทบเศรษฐกิจ

Covid-19 ที่ยังคงระบาดในสปป.ลาวทำให้รัฐบาลขยายมาตรการควบคุมไวรัสตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 15 ออกไปอีก 15 วันจนถึงวันที่ 3 สิงหาคม อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ยกเลิกข้อจำกัดบางประการเพื่อลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของผู้คน การระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรงและการตกงานในประเทศไทย ทำให้ชาวลาวจำนวนมากที่ทำงานที่นั่นต้องกลับบ้าน โดยอย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์ของผู้เดินทางกลับมีผลตรวจเป็นบวก ปัจจัยดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกำลังเผชิญอยู่ภาวะตกต่ำที่สุดในประวติศาสตร์ ถึงแม้ความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนเข็มแรกจะสามารถฉีดไปได้กว่ารอยละ 50 และเข็มสองที่กำลังจะฉีดในเดือนนี้และตั้งเป้าปลายปีจะครอบคลุมร้อยละ 50 ของประชากร เห็นได้ชัดว่าการฉีดวัคซีนก็อาจไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาเดินหน้าได้ มาตรการผ่อนปรนจึงเป็นสิ่งสำคัญและเครื่อมือที่รัฐบาลนำมาปรับใช้เพื่อบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจในสปป.ลาว  

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Covid_restrictions_139.php

30 สมาคมทำจดหมายเปิดผนึกถึง ‘บิ๊กตู่’ จี้ 5 เรื่อง ชะลอเอ็นพีแอลพุ่ง หยุด ศก.พัง 1.5 แสนล้านต่อเดือน

สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยร่วมกับสมาคมการค้าและธุรกิจเอสเอ็มอีกว่า 30 องค์กร ออกแถลงการณ์และส่งหนังสือเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล เบื้องต้นจะมี 5 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก่ 1.ขยายระยะเวลาพักชำระหนี้และไม่คิดดอกเบี้ย 2. ลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับเอสเอ็มอี 3.เร่งรัดการใช้ พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาวิสาหกิจ ภายในไตรมาส 3/64 เปิดโอกาสให้ตัวแทนจากทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน นักวิชาการ ฯลฯ อยู่ในคณะกรรมการเพื่อจะได้หารือมาตรการที่ออกมาใช้ได้ตรงกับสถานการณ์ที่แท้จริง 4.เร่งรัดตั้งกองทุนฟื้นฟูเอ็นพีแอล และ 5.เร่งแก้ปัญหาลดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้สมาพันธ์ฯ ยังประเมินความเสียหายจากการขยายเวลาล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวใน 13 จังหวัด ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจประมาณ 9 ล้านล้านบาทต่อปี ส่วนนี้หากได้รับผลกระทบ 20% จะเสียหายถึง 1.5 แสนล้านบาทต่อเดือน

ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_2837796