เมียนมานำเข้าเวชภัณฑ์มูลค่า 30.519 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตามการรายงานของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ยาและเวชภัณฑ์ 1,300 ตัน คิดเป็นมูลค่า 30.519 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ 26 ประเทศ โดยตั้งแต่เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2566 หอการค้าเมียนมาร์ที่ดูแลกลุ่มอุปกรณ์เภสัชกรรมและอุปกรณ์การแพทย์ (MCCPMD) ได้ประกาศความพยายามที่จะป้องกันการขาดแคลนยา เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นของค่ารักษาพยาบาลที่บ้านและยาจำเป็นในอุตสาหกรรมการแพทย์ อย่างไรก็ดี จากปะกาศดังกล่าวเน้นย้ำว่า MCCPMD ได้นำเข้ายาที่จำเป็นสำหรับประชาชนแล้ว พวกเขากระตุ้นให้บริษัทยา ร้านจำหน่ายยาขายส่ง และร้านค้าปลีก ทำการค้ายาตามปกติต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้ พวกเขายังได้เรียกร้องให้ซัพพลายเออร์ยาเร่งการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ เนื่องจากมีการดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกและปรับปรุงการนำเข้ายา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/us30-519m-worth-of-medical-supplies-imported/

ตลาดยาเมียนมาเข้าสู่ภาวะขาดแคลน

ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ยาให้ข้อมูลว่ายาบางชนิดที่นำเข้าจากอินเดียอาจขาดสต็อกในเมียนมาในไม่ช้า จากข้อมูลอุตสาหกรรมยาพบว่า 75% ของยาที่ขายในเมียนมานำเข้ามาจากอินเดียและปัจจุบันบริษัทยาอินเดียกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับการผลิต การระบาดของโรค coronavirus ในประเทศจีนได้ทำลายห่วงโซ่อุปทานของส่วนผสมและสารเคมีที่ใช้ในการทำยา ทั้งนี้รัฐบาลอินเดียยังจำกัดการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์บางประเภทไปยังประเทศอื่น ๆ เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศ อย่างไรก็ตามการแข็งค่าของเงินจัตเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐนั้นก็ค่อนข้างที่จะส่งผลต่อการขาดแคลนและราคายาให้คงที่ได้เช่นกัน เมียนมานำเข้ายา 80% จากอินเดีย และประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ปากีสถาน บังกลาเทศ จีน เวียดนามฟิลิปปินส์ และยุโรป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/market-conditions-tighten-indian-pharmaceuticals.html