ราคาอ้างอิงขายส่งน้ำมันปาล์มของย่างปรับตัวสูงขึ้นในสัปดาห์นี้

ตามการระบุของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้าและการจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภค อัตราอ้างอิงการขายส่งน้ำมันปาล์มสำหรับตลาดย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 5,250 จ๊าดต่อviss ในสัปดาห์นี้ ซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 24 มีนาคม จากที่บันทึกไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ 5,215 จ๊าดต่อviss อย่างไรก็ดี ทางคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันบริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคา FOB ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด โดยเพิ่มค่าขนส่ง ภาษี และบริการทางธนาคาร เพื่อกำหนดอัตราอ้างอิงตลาดค้าส่งสำหรับน้ำมันบริโภคเป็นรายสัปดาห์ นอกจากนี้ ทางกรมกำลังพยายามร่วมกันควบคุมความผันผวนสูงของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดค้าปลีก และเสนอราคาที่ยุติธรรมมากขึ้นแก่ผู้บริโภค โดยประสานงานกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาและบริษัทนำเข้าน้ำมัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygn-palm-oil-wholesale-reference-price-shows-uptick-this-week/

ราคาอ้างอิงขายส่งน้ำมันปาล์มของย่างกุ้ง แสดงถึงการปรับลดลง

ตามรายงานของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้าน้ำมันบริโภคและ การกระจายสินค้า อัตราอ้างอิงการขายส่งน้ำมันปาล์มสำหรับตลาดย่างกุ้งปรับลดลงเล็กน้อยเป็น 5,275 จ๊าดต่อviss ในช่วงสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 5 ถึง 12 กุมภาพันธ์ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการลดลงเล็กน้อยที่ประมาณ 105 จ๊าดต่อviss ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภคภายใต้กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคา FOB ในมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด โดยเพิ่มค่าขนส่ง ภาษี และบริการทางธนาคาร เพื่อกำหนดอัตราอ้างอิงตลาดขายส่งรายสัปดาห์สำหรับน้ำมันบริโภค อย่างไรก็ตามราคาจริงในตลาดนั้นยังคงสูงกว่าราคาอ้างอิงมาก นอกจากนี้ กระทรวงกำลังพยายามร่วมกันควบคุมความผันผวนสูงของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดค้าปลีก และเสนอราคาที่ยุติธรรมมากขึ้นแก่ผู้บริโภค โดยประสานงานกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาร์และบริษัทนำเข้าน้ำมัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygn-palm-oil-wholesale-reference-price-shows-downtick/#article-title

ราคาน้ำมันปาล์มที่สูงขึ้นในตลาดย่างกุ้ง ส่งผลให้ทางการต้องใช้มาตรการควบคุม

อัตราอ้างอิงขายส่งน้ำมันปาล์มในตลาดย่างกุ้งในสัปดาห์นี้ (ตั้งแต่วันที่ 22-28 มกราคม) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยอยู่ที่ 5,275 จ๊าดต่อviss เทียบกับ 5,250 จ๊าดต่อviss ในสัปดาห์ที่แล้ว (วันที่ 15 – 21 มกราคม) ตามที่รายงานโดย คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันบริโภค ซึ่งสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 25 จ๊าดต่อviss อย่างไรก็ดี ปัจจุบันคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภคกำลังติดตามราคาน้ำมันปาล์มในประเทศอย่างแข็งขันให้มีความสอดคล้องกับราคาตลาดโลก ทั้งนี้ คณะกรรมการกำหนดราคาอ้างอิงเบื้องต้นสำหรับขายส่งน้ำมันปาล์มสำหรับตลาดภายในประเทศ โดยการติดตามราคา FOB รายวันในมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่อย่างครอบคลุม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณที่พิถีพิถันโดยคำนึงถึงต้นทุนทั้งหมด รวมถึงการขนส่ง การธนาคาร รวมถึงภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นๆ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rising-palm-oil-prices-in-yangon-market-prompt-authorities-to-implement-control-measures/

ราคาขายส่งอ้างอิงน้ำมันปาล์มของ ย่างกุ้ง เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม

อัตราอ้างอิงราคาขายส่งน้ำมันปาล์มของตลาดย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ณ วันที่ 30 ตุลาคม ตามการรายงานของคณะกรรมการกำกับดูแลด้านการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันบริโภค โดยราคาขายส่งถูกกำหนดให้ต่ำลงอยุ่ที่ 4,275 จ๊าดต่อ viss เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 ถึง 22 ตุลาคมที่ผ่านมา สำหรับในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม (สิ้นสุด ณ 30 ตุลาคม 2566) ราคาขายส่งถูกกำหนดให้สูงขึ้นเป็น 4,395 จ๊าดต่อ viss ทั้งนี้ ราคาตลาดยังคงสูงกว่าราคาอ้างอิง ด้านคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันบริโภคในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคา FOB ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงค่าขนส่ง ภาษี และบริการทางธนาคาร เพื่อกำหนดอัตราอ้างอิงตลาดขายส่งน้ำมันบริโภคทุกสัปดาห์ และแก้ไขปัญหาราคาที่สูงเกินจริง กรมกิจการผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ร่วมกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาร์และบริษัทนำเข้าน้ำมัน ได้มีการร่วมมือกันในการควบคุมความผันผวนของราคาน้ำมันปาล์มในตลาดค้าปลีก และเสนอราคาที่ยุติธรรมมากขึ้นแก่ผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้ค้าน้ำมันบริโภคแห่งเมียนมาร์ได้จัดตั้งคณะทำงานด้านเสถียรภาพราคาน้ำมันบริโภค และเริ่มแจ้งรายชื่อร้านค้าขายส่ง/ขายปลีกของแต่ละบริษัทตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม รวมถึงที่อยู่ของร้านค้าในเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจำนวนถังที่มีอยู่

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ygn-palm-oil-wholesale-reference-price-slightly-rises-for-week-ending-30-october/

ราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์มขายส่งตลาดย่างกุ้ง พุ่งขึ้น ! ในสัปดาห์นี้

คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันเพื่อการบริโภคของเมียนมา เผย ราคาอ้างอิงน้ำมันปาล์มขายส่งของเมียนมา (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566) ณ ตลาดย่างกุ้ง อยู่ที่ 4,600 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) พุ่งสูงขึ้นจากราคาอ้างอิงของสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ 4,470 จัตต่อ viss เป็นผลมาจากผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียจำกัดการส่งออกน้ำมันปาล์ม ส่งผลให้ราคาซื้อ-ขายในตลาดของเมียนมาอาจพุ่งขึ้นไปถึง 6,000-7,000 จัตต่อ viss ซึ่งสูงกว่าราคาอ้างอิงเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี แต่เมียนมาสามารถผลิตได้เพียง 400,000 ตัน จึงจำเป็นต้องนำเข้าจากมาเลเซียและอินโดนีเซียประมาณ 700,000 ตันต่อปี เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-reference-price-for-yangon-region-rebounds-this-week-ending-5-march/

ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมาปรับตัวสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2565 ราคาน้ำมันปาล์มนอกเขตเมืองย่างกุ้ง ลดฮวบเหลือ 6,300 จัตต่อ viss จากราคาเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2565 ที่ 8,000 จัตต่อ viss เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศมีความผันผวนอย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 9 ถึง 30 มิ.ย ราคาน้ำมันลดลงประมาณ 1,000 จัตต่อ viss เนืองจากความต้องการของจีนที่มีแนวโน้มลดลง และผลผลิตน้ำมันปาล์มของมาเลเซียที่ออกมาล้นตลาด ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ความต้องการในประเทศมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากเรือบรรทุกน้ำมันจะเข้ามาในไม่ช้า และส่งผลให้ราคาในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม ราคาน้ำมันปาล์มจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-prices-on-the-rise/

ราคาน้ำมันปาล์มเมียนมาลดฮวบ 7,000 จัตต่อ viss ผลจากราคานำเข้าดิ่งลง

สมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชเมียนมา เผย ราคาน้ำมันปาล์มนำเข้าที่ลดลงทำให้ราคาในตลาดภายในประเทศปรับตัวลดลง ปัจจุบันราคานำเข้าอยู่ที่ 1,792 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ส่วนราคาขายในประเทศจะอยู่ที่ 7,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งในช่วงต้นเดือนมี.ค. 2565 ราคานำเข้ายังอยู่ที่ 1,881 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน หนุนให้ราคาขายดีดตัวขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 8,000 จัตต่อ viss ซึ่งการบริโภคน้ำมันพืชในประเทศของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี ส่วนการผลิตน้ำมันประกอบอาหารในท้องถิ่นมีประมาณ 400,000 ตัน และเพื่อความพอเพียงในประเทศ เมียนมาจึงต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารอีกประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ราคานำเข้าน้ำมันปาล์ม พุ่งพรวด!! ปรับขึ้นอีก 5,000 จัตต่อ viss

สมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชเมียนมา เผย ราคาน้ำมันปาล์มขยับขึ้นเป็น 5,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในปัจจุบัน ตามราคานำเข้าที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันอยู่ที่ 1,450 ดอลลาร์ต่อตัน ขณะช่วงต้นเดือนม.ค.65 อยู่ที่เพียง 1,360 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ซึ่งบ่งชี้ว่าเพิ่มขึ้น 90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันภายในหนึ่งเดือน ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มพุ่งพรวดขึ้นเป็น 5,150 จัตต่อ viss โดยธนาคารกลางแห่งเมียนมาขายน้ำมันพืช 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับภาคธุรกิจเพื่อจำหน่าย ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันอยู่ที่ 4,500 จัตต่อ viss ซึ่งจัดจำหน่ายโดยรถโมบายจากการประสานงานกับสมาคมฯ ทั้งนี้การบริโภคน้ำมันพืชในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี เป็นการผลิตน้ำมันประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน เพื่อความพอเพียงในตลาดภายในประเทศจึงจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/import-price-elevates-palm-oil-price-to-over-k5000-per-viss/#article-title

ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศดิ่งลง จากราคาที่ลดลง

สมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชเมียนมา เผย ราคาน้ำมันปาล์มในประเทศลดลงเล็กน้อยตามการนำเข้าที่ลดลง น้ำมันปาล์มลดลงเหลือ 995 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในตลาดต่างประเทศ เป็นผลให้ราคาค้าส่งในประเทศอยู่ระหว่าง 2,800-2,900 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ผลจากประเทศผู้ผลิตนำมันปาล์มอย่างมาเลเซียและอินโดนีเซียมีผลผลิตออกมาค่อนข้างมาก จึงมีแนวโน้มที่เมียนมาจะนำเข้าลดลงจนถึงเดือนตุลาคม อีกทั้งสมาคมฯ ได้ประกาศนำเข้าน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนเพื่อความพอเพียงในประเทศ จำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม และมั่นใจได้ว่าจะไม่มีน้ำมันพืชขาดแคลน อึกทั้งยังเฝ้าติดตามราคานำม้ำมันปาล์มอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันปริมาณใช้น้ำมันบริโภคในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี เป็นการผลิตน้ำมันประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน ดังนั้นเพื่อตอบสนองความพอเพียงในประเทศ จึงนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-palm-oil-slips-alongside-drop-in-import-price/