เมียนมาปรับปรุงสนามบินฟะลัมด้วยระบบนำทาง

สนามบินฟะลัม Falam (Surbung) ซึ่งเป็นประตูสู่รัฐชินได้รับการยกระดับด้วยระบบนำทางที่ใช้สำหรับสนามบินในพื้นที่ที่เป็นภูเขาตามที่กรมการบินพลเรือนของเมียนมา (DCA) ระบุ การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 63-64 และเครื่องบิน ATR-72 ชนิดต่างๆ สามารถลงจอดได้ สนามบินตั้งอยู่ในใจกลางของรัฐชิน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำทางที่จะติดตั้ง เช่น สถานีวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศ (DVOR) , เครื่องมือตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWOS), ตัวบ่งชี้เส้นทางแม่นยำ (PAP), ไฟทางวิ่ง, สัญญาณไฟหมุน, ระบบ HF และ VHF โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนของรัฐ กระทรวงของบประมาณ 141,112,000,000 จัต สำหรับโครงการนี้ซึ่งจะรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศและขอสินเชื่อในปีงบประมาณ 62-63 ปี ในปัจจุบันมีรันเวย์ยาวกว่า 4,000 ฟุตจาก 6,000 ฟุตของสนามบินที่สร้างเสร็จ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/falam-airport-upgrades-with-navigation-facilities

สนามบินนานาชาติเตินเซินเญิ้ตให้บริการรองรับผดส. 3.7 ล้านคน ในช่วงเทศกาลเต็ด

จากตัวแทนของสนามบินนานาชาติโฮจิมินห์ซิตีเตินเซินเญิ้ต (Ho Chi Minh City Tan Son Nhat International Airport) เปิดเผยว่ามีจำนวนเที่ยวบินขาเข้าและขาออกประมาณ 965 เที่ยวบิน ในช่วงไฮซีซั่นก่อนที่จะถึงช่วงเทศกาลเต็ด (Tet) ซึ่งตรงกับวันที่ 22 มกราคม และคาดว่ามีผู้โดยสารมากกว่า 3.7 ล้านคนในช่วงเทศกาลปีใหม่ตรงกับตรุษจีน โดยเพื่อตอบสนองต่อการท่องเที่ยวที่มากขึ้นในช่วงเทศกาลดังกล่าวนั้น สิ่งอำนวยทางด้านโครงสร้างพื้นฐานจะได้รับการลงทุนพร้อมกัน ซึ่งสายการบินประจำชาติเวียดนามได้ติดตั้งตู้คิออส (Kiosk) มากกว่า 10 แห่งที่อาคารผู้โดยสารในประเทศ เพื่อให้บริการที่ดียิ่งขึ้นและลดความแออันตรงหน้าเคาน์เตอร์เช็คอิน ประกอบกับมีการเพิ่มพื้นที่สแกนและระบบรักษาความปลอดภัยมากขึ้น รวมไปถึงลานจอดอากาศยานมากกว่า 14 แห่ง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/tan-son-nhat-airport-to-serve-over-37-million-passengers-during-tet-408789.vov

กัมพูชาวางแผนสร้างสนามบินแห่งใหม่ในจังหวัดเกาะกง

แผนการลงทุนสนามบินแห่งใหม่ได้รับการเปิดเผยในจังหวัดเกาะกงทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงพนมเปญ ปัจจุบันเขตนี้มีสนามบินอยู่สองแห่ง โดยรัฐบาลตกลงที่จะลงทุนสำหรับสนามบินแห่งใหม่ในเขตชุมชน Bakklong อำเภอมนดวลสีมา ตามประกาศของคณะรัฐมนตรี ซึ่งรายงานการลงทุนครั้งนี้เป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่ม Ly Yong Phat ในท้องถิ่นกับสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส โดยสนามบินแห่งใหม่จะถูกสร้างขึ้นบนพื้นที่ระหว่าง 400-600 เฮกตาร์ในเขตมนดวลสีมา ซึ่งการคิดโครงการที่จะสร้างสนามบินแห่งใหม่เป็นเพราะราคาที่ดินโดยรอบสนามบินแห่งเก่าที่สูงขึ้น บวกกับค่าใช้จ่ายในการจ่ายชดเชยด้านผลกระทบทางสังคมที่สูงเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เกิดสนามบินแห่งใหม่ โดยจากข้อตกลงของรัฐบาลจะมีการจัดทำแผนแม่บทในขั้นตอนต่อไป ซึ่งไม่มีการเปิดเผยค่าใช้จ่ายเฉพาะสำหรับสนามบินแห่งใหม่ แต่หากคิดตามการลงทุนที่สนามบินเก่าจะมีต้นทุนในการสร้างสนามบินอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50679398/plans-for-new-airport-in-koh-kong-province-unveiled

‘ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย’ ขยายรองรับผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปี

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย หรือเรียกอีกชื่อว่า “สนามบินฮานอย” จะขยายรองรับผู้โดยสาร 100 ล้านคนต่อปี เพื่อให้มีการพัฒนาพื้นที่รอบสนามบินฮานอยอย่างเหมาะสม และช่วยลดผลกระทบต่อการวางแผนโครงการ โดยรองนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมประชุมกับกระทรวงและหน่วยงานท้องถิ่น ในการหารือเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานและวางแผนของสนามบินนานาชาติดังกล่าว ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมและการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) ร่วมมือกับบริษัท ADPi ที่เป็นบริษัทให้คำปรึกษาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมสนามบิน ทั้งนี้ การวางแผนจะรองรับผู้โดยสารมากขึ้นนั้น เพื่อต้องการลดการขยายพื้นที่น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นที่อยู่อาศัย เพื่อให้โครงการได้สภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายการลงทุน ทั้งนี้ ในปี 2561 สนามบินรองรับผู้โดยสารประมาณ 25.9 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งไว้ด้วยจำนวนผู้โดยสาร 13.1 ล้านคน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/noi-bai-airport-to-be-expanded-for-100-million-passengers-per-year-406739.vov

รัฐบาลเวียดนามอนุมัติก่อสร้างสนามบินในเมืองซาปา

กระทรวงคมนาคมเวียดนามได้อนุมัติวางแผนก่อสร้างสนามบินซาปา (Sa Pa) โดยสามารถจุผู้โดยสารกว่า 3 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นสนามบินภายในประเทศที่มีช่องจอดเครื่องบิน 9 ช่อง เพื่อใช้ในทางทหารและพลเรือน ด้วยจำนวนเงินทุนในการก่อสร้างสนามบินกว่า 3.09 ล้านล้านด่อง (หรือ 133 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และคาดว่าโครงการจะสำเร็จภายในปี 2561 ซึ่งวัตถุประสงค์หลักจะให้บริการนักท่องเที่ยวจากเวียดนามทางตอนใต้ และภาคตะวันตกของประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการบิน ระบุว่าการไหลเข้าของนักท่องเที่ยวจะไม่มีเสถียรภาพมากนัก เมื่อเทียบกับสนามบินอื่น สำหรับในปีที่แล้ว ในเขตจังหวัดหล่าวกาย (Lao Cai) มีนักท่องเที่ยวมาเยือนประมาณ 4.2 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากปี 2560

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/government-approves-northern-highlands-airport-in-sa-pa-406165.vov

จีนสร้างรันเวย์ในประเทศกัมพูชาเพิ่มความกังวลให้กับสหรัฐฯ

รันเวย์ที่มีความยาว 3,200 เมตร ซึ่งไม่ปรากฏในความรับรู้ของคนทั่วไปกำลังได้รับความสนใจจากนานาชาติ โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตเมืองเกาะกง และเป็นพื้นที่พัฒนารีสอร์ทของบริษัทสัญชาติจีน ซึ่งใช้เวลาเดินทางด้วยรถยนต์ประมาณ 6 ชั่วโมง จากกรุงพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ที่กำลังมีความขัดแย้งกันทั้งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงกับจีน แสดงความกังวลว่าสนามบินดังกล่าวอาจถูกสร้างขึ้นสำหรับเอื้อให้จีนเข้ามาปฏิบัติการทางทหารในกัมพูชา แต่ทางการกัมพูชายืนยันว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งคาดว่าอาคารผู้โดยสารจะเปิดใช้งานในปี 2563 โดยรัฐบาลกัมพูชาอนุญาตให้กลุ่ม China’s Union Group จากจีน เช่าที่ดินริมทะเลเป็นเวลา 99 ปี จากนั้นสิ่งก่อสร้างได้เกิดขึ้นมากมายทั้งโรงแรม สนามกอล์ฟ สนามบินนานาชาติ ตลอดจนท่าเรือน้ำลึกที่รองรับเรือขนาดใหญ่

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Politics/International-relations/Cambodia-s-China-built-runway-irks-US-but-locals-have-other-concerns

SSCA สนามบินปอยเปตของกัมพูชายังอยู่ระหว่างการศึกษา

งานเกี่ยวกับโครงการสนามบินปอยเปตยังไม่เริ่มแม้รัฐบาลจะอนุญาตให้มีการพัฒนามาแล้วปีกว่าก็ตาม โดยการตรวจสอบกับสำนักเลขาธิการการบินพลเรือน (SSCA) เปิดเผยว่านักลงทุนที่ได้รับอนุญาตให้พัฒนาสนามบินแห่งแรกของจังหวัดยังไม่เริ่มดำเนินการ ซึ่งการลงทุนสนามบินปอยเปต (PAI) ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้กลับมาดำเนินการในสนามบินเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว โดยผู้ว่าการปอยเปตกล่าวกับสื่อท้องถิ่นก่อนหน้านี้ว่าสนามบินปอยเปตแห่งใหม่จะถูกสร้างบนพื้นที่ 300 เฮกตาร์ในชุมชนนิมิธของปอยเปตห่างจากตัวเมือง 13 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าโครงการจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 40-50 ล้านเหรียญสหรัฐในการก่อสร้าง โดย PAI ได้รับอนุญาตให้สร้างสนามบินในปี 2550 เป็นครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวได้รับการแก้ไขเนื่องจากเกิดวิกฤตการเงินโลกปี 2551 ซึ่งบริษัทตัดสินใจที่จะรื้อฟื้นโครงการพลังจากเห็นศักยภาพในการพัฒนาของเมืองปอยเปตซึ่งเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญ โดยทางสนามบินถูกออกแบบมาสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ และคาดว่าเมื่อสร้างเสร็จแล้วจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของปอยเปตและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งติดอยู่กับประเทศไทย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50649492/ssca-poipet-airport-still-under-study/

KBZ Group ยกระดับสนามบินเฮโฮเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่สี่

กลุ่ม KBZ เตรียมยกระดับสนามบินเฮโฮในรัฐฉานเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่สี่ของพม่านาย Kyaw Han ในปัจจุบันมีสนามบินนานาชาติสามแห่งในย่างกุ้ง มัณฑะเลย์และเนปิดอว์ และมีความพยายามที่จะเปลี่ยนสนามบินเฮโฮเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่สี่ Kyaw Han หัวหน้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของ MAI และ Air KBZ บอกว่าแผนดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศจำนวนมากเดินทางมาที่สนามบินเหอโฮในรัฐฉาน สำหรับระยะแรกในการยกระดับสนามบินภายในประเทศสามแห่งคาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับสนามบินเฮโฮ 36 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐสำหรับเกาะสอง และ 20 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับสนามบินเมาะลำเลิง

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/kbz-group-to-upgrade-heho-airport-into-fourth-international-airport

สนามบินพุกามต้องมีการปรับปรุง

สนามบินพุกามไม่สามารถปรับปรุงและซ่อมแซมได้ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับเมืองโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะไม่สามารถดำเนินการในแผนระยะยาว สนามบินพุกามมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการปรับปรุงซึ่งจำเป็นต้องวางแผนในอนาคต จากการเป็นพื้นที่มรดกโลกส่งผลให้ตอนนี้นักเดินทางต่างชาติไปเที่ยวพุกามมากขึ้นและสายการบินนานาชาติได้ให้ความสนใจในการบินตรงไปยังพุกาม กรมการบินพลเรือน (DCA) แจ้งว่าสายการบินบางกอกแอร์เวย์สว่าไม่ได้รับอนุญาตให้บินตรงระหว่างกรุงเทพฯ และพุกามได้เนื่องจากไม่ใช่สนามบินนานาชาติ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/pakokku-airport-needs-to-upgrade-minister