ส่งออกสินค้าปศุสัตว์เมียนมา ดิ่งลง 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกสินค้าปศุสัตว์รวมถึงวัวและควายของเมียนมา ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 11 มี.ค. 2565 ของปีงบประมาณย่อย (2564-2565) อยู่ที่ 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 11.33 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 ที่มีการส่งออก 15.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการปิดชายแดนเมียนมา-จีน โดยเมียนมาอนุญาติให้ส่งออกวัวที่มีอายุมากกว่า 5 ปี พร้อมใบรับรองการฉีดวัคซีน ใบรับรองสุขภาพ และใบรับรองการจดทะเบียนเกษตรกรรม ทั้งนี้วัวถือเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ ซึ่งจากการสำรวจจำนวนวัวและควายในปี 2561 พบว่ามีจำนวนประมาณ 11.5 ล้านตัว แบ่งเป็นควาย 1.8 ล้านตัว และวัวอีก 9.7 ล้านตัว กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานของเมียนมา ระบุว่า วัวที่มีอยู่ในตลาดในประเทศมีประมาณ 1.1 ล้านตัว แบ่งเป็นการส่งออกจำนวน 600,000 ตัวต่อปี ที่เหลือเป็นการบริโภคในประเทศจำนวน 400,000 ตัว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

ราคาอาหารสัตว์พุ่ง! หนุนราคาสินค้าปศุสัตว์ขยับเพิ่มขึ้น

ราคาสินค้าปศุสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งราคาอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ โดยสูงขึ้นจาก 24,000 จัตเป็น 32,500 จัตต่อถุง ทำให้ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้น ในทำนองเดียวกันราคาวินค้าก็สูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ราคาตกต่ำลงจากการระบาดของโควิด-19  ณ วันที่ 30 ก.ค. 64 ราคาไข่ไก่เพิ่มขึ้นเป็น 130 จัตต่อฟอง ในขณะที่ไข่เป็ดเพิ่มขึ้นเป็น 150 จัตต่อฟอง เหตุที่ราคาสินค้าสูงขึ้นไม่ใช่เพราะผู้ค้าส่ง แต่เป็นเพราะราคาที่เพิ่มขึ้นในตลาดค้าปลีกของท้องถิ่น ราคาผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์มีแนวโน้มสูงขึ้นหากราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจึงอาจยืนอยู่ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์ต่อไปได้ยาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/livestock-products-prices-likely-to-go-up-as-feed-prices-incessantly-increase/