กัมพูชารายงานถึงการส่งออกมะม่วงที่เพิ่มขึ้น

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) รายงานเกี่ยวกับการส่งออกผลไม้ระหว่างประเทศ และแสดงให้เห็นว่ามะม่วงมีปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 251 หรือคิดเป็นจำนวน 163,828 ตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี โดยกัมพูชาส่งออกแยมมะม่วงรวม 14,087 ตัน และน้ำเชื่อมจากมะม่วงอีกกว่า 4,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 195 และร้อยละ 79 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งตลาดที่ทำการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ เวียดนาม ไทย จีน เกาหลี ฮ่องกง สิงคโปร์ คูเวต ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา คาซัคสถาน และรัสเซีย โดยจีนเป็นผู้นำเข้ามะม่วงรายใหญ่ที่สุดจากกัมพูชา เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้มีการลงนามระหว่างกันในข้อตกลงการค้าเสรีในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้กำหนดให้เกษตรกรชาวกัมพูชาจำนวน 37 ราย สามารถส่งออกมะม่วงไปยังจีนได้ และคาดว่าจะนำเข้ามะม่วงจากกัมพูชาราว 500,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50937256/international-mango-exportation-on-the-rise/

เวียดนามถูกจัดเป็นนำเข้ามะม่วงรายใหญ่ที่สุดของกัมพูชา

กัมพูชาส่งออกมะม่วงรวม 140,000 ตัน หรือร้อยละ 86.8 ของการส่งออกผลไม้ทั้งหมดไปยังเวียดนามในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ โดยกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงของกัมพูชา ระบุว่า ทางการเวียดนามรายงานถึงปริมาณการส่งออกมะม่วง ระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 248 หรือคิดเป็นปริมาณ 161,228 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งนอกจากมะม่วงสดแล้วกัมพูชายังส่งออกแยมมะม่วงเกือบ 13,525 ตัน คิดเป็นการส่งออกไปยังเวียดนาม 77 ตัน, ไปยังประเทศไทย 1,000 ตัน และ ไปยังจีน 11,000 ตัน ในช่วง 7 เดือนแรกของปี โดยในปัจจุบันกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงราว 126,668 เฮกตาร์ ส่งออกมะม่วงไปแล้ว 845,274 ตัน มูลค่ากว่า 473.2 ล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้ว ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังเวียดนาม ไทย จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ รัสเซีย และฝรั่งเศส เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50921620/vietnam-biggest-buyer-of-cambodias-mangoes/

โควิด! พ่นพิษฉุดราคาส่งออกมะม่วงเซ่งตะโลงไปจีน ดิ่งลง

สมาคมพัฒนาตลาดมะม่วงและเทคโนโลยีแห่งเมียนมา เผย ราคามะม่วงเซ่งตะโลงส่งออกไปจีนลดลงในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จาก 120 หยวนต่อตะกร้า แต่ในปีนี้ราคาร่วงเกลือ 100 หยวนต่อตะกร้า (1 ตะกร้าละ น้ำหนัก 16 กิโลกรัม) ผลจากการที่รถบรรทุกหลายพันคันติดอยู่ที่ชายแดนเมียนมา – จีน จากการปิดด่านเพราะสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้คุณภาพมะม่วงลดลงและราคาก็ลดลงตามไปด้วย ปัจจุบันมีการส่งออกทางรถบรรทุกมะม่วงประมาณ 10 หรือ 15 คันไปยังจีนทุกวัน ส่วนใหญ่ผลผลิตมาจากเมืองสะกายและเมืองกะธา โดยมะม่วงส่วนใหญ่จะปลูกกันในเขตอิรวดีบนพื้นที่ประมาณ 46,000 เอเคอร์ ตามด้วยเขตพะโค 43,000 เอเคอร์ เขตมัณฑะเลย์ 29,000 เอเคอร์ รัฐกะเหรี่ยง 24,000 เอเคอร์ รัฐฉาน 20,400 เอเคอร์ และเมืองซะไกง์ 20,000 เอเคอร์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/price-of-seintalone-mango-exported-to-china-plummets-this-year/#article-title

โรงงานผลิตและแปรรูปมะม่วงในกัมพูชา 3 แห่งจะเริ่มเปิดทำการในปีหน้า

กระทรวงเกษตรระบุว่าจะมีการเปิดโรงงานแปรรูปมะม่วงอย่างน้อยสามแห่งในปี 2563 โดยโรงงานแห่งใหม่จะส่งเสริมการผลิตมะม่วงในกัมพูชาและช่วยให้เกษตรกรค้นหาตลาดใหม่สำหรับผลผลิตของพวกเขาซึ่งขณะนี้กัมพูชามีโรงงาน 8 แห่ง ที่ดำเนินการแปรรูปมะม่วง โดยสินค้าส่วนใหญ่ของการผลิตถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์จากมะม่วงยังคงส่งออกในระดับที่ต่ำ ซึ่งโรงงานแห่งใหม่นี้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลในการส่งเสริมการลงทุนในภาคการผลิตมะม่วงภายในประเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าเขาขอให้เจ้าของโรงงานทำข้อตกลงการทำสัญญากับเกษตรกรเพื่อช่วยลดความเสี่ยงระหว่างกัน นอกจากนี้กระทรวงยังได้ขอให้หน่วยงานพาณิชย์จังหวัดอำนวยความสะดวกในกระบวนการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าสำหรับบริษัทที่ต้องการส่งออกผลิตภัณฑ์จากโรงงานเหล่านี้ ซึ่งกัมพูชากำลังดำเนินการเพื่อเริ่มส่งมะม่วงไปยังเกาหลีใต้และจีน โดยถือว่าเป็นตลาดใหญ่สำหรับตลาดผลไม้ และจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรระบุว่าพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงมีมากกว่า 100,000 เฮกตาร์ทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50670405/three-mango-factories-to-open-next-year-ministry/

กัมพูชามีแนวโน้มส่งออกมะม่วงไปยังจีน

มะม่วงมีแนวโน้มที่จะเป็นสินค้าตัวต่อไปที่กัมพูชาส่งออกไปยังประเทศจีนโดยตรงตามข้อมูลจากกระทรวงเกษตร โดยเมื่อเร็วๆ นี้กระทรวงเกษตรได้เรียกร้องให้เกษตรกรปลูกสินค้าเกษตรที่มีความสำคัญเพื่อลงทะเบียนกับกระทรวงเพื่อแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ที่เข้มงวดของจีน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่ากัมพูชาต้องการเปิดการเจรจาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าเกษตรที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญทั้งหมดและได้เสนอแนวคิดต่อกรมศุลกากรของจีนซึ่งรับผิดชอบด้านข้อกำหนดของ SPS โดยกัมพูชาเมื่อต้นปีที่ผ่านมาเริ่มส่งกล้วยไปยังตลาดจีน ซึ่งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่กัมพูชาสามารถส่งออกโดยตรงไปยังกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก คือข้าว, แป้งมันสำปะหลังหั่นบาง และข้าวโพด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50641949/mangoes-next-in-line-for-china-export-ministry/