“อียู” ประกาศผ่อนปรนกฎระเบียบของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากเวียดนาม

การแก้ไขกฎระเบียบฉบับที่ 2019/1973 ที่แผยแพร่เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. เกี่ยวกับมาตรการฉุกเฉินในการควบคุมการส่งออกอาหารไปยังสหภาพยุโรป ด้วยเหตุนี้ สหภาพยุโรปจึงย้ายข้อกำหนดของสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเวียดนามจากภาคผนวก 2 ซึ่งต้องมีใบรับรองสุขอนามัย (HC) และการควบคุมในอัตรา 20% ที่ประตูชายแดนไปยังภาคผนวก 1 ที่กำหนดให้ควบคุมผลิตภัณฑ์เพียง 20% ที่ประตูพรมแดนสหภาพยุโรป การตัดสินใจครั้งนี้นับเป็นความสำเร็จของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) ในการควบคุมความปลอดภัยของอาหารและสนับสนุนธุรกิจในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมคุณภาพของผลิตภัณฑ์เวียดนามที่จะเข้าไปสู่ตลาดสหภาพยุโรปนั้น จำเป็นที่ต้องผลักดันภาคธุรกิจให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยของอาหารของสหภาพยุโรปอย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://en.baochinhphu.vn/eu-eases-regulations-on-viet-nams-instant-noodles-11123061211192207.htm

เจรจา FTA ไทย-อียู จุรินทร์ทิ้งทวนก่อนเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 25-26 มกราคม 2566 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะผู้บริหารเข้าหารือกับนายวัลดิส โดมโบรฟสกิส (H.E. Mr. Valdis Dombrovskis) รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจและกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า หรือรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของสหภาพยุโรป ที่กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม เพื่อหารือประเด็นเปิดเจรจา FTA ไทย-อียู หากนับย้อนกลับไปการเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรป (EU) ไม่ได้ถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะไทยได้เริ่มเจรจากับ EU มาแล้ว 4 รอบ นับตั้งแต่ปี 2557 ตามข้อมูลกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศระบุว่า สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย รองจากอาเซียน จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยในปี 2565 การค้าระหว่างไทยกับอียู มีมูลค่า 41,038 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.87% สัดส่วนการค้าประมาณ 7% ของการค้ากับโลก และไทยส่งออกไปอียู มูลค่า 22,794 ล้านเหรียญสหรัฐ (843,378 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5.17% ซึ่งจากการที่ไทยปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้มีความทันสมัย เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นของจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1191554

“FTA ไทย-อียู” “จุรินทร์” เล็งเสนอ ครม. เห็นชอบอีก 2 สัปดาห์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยผลการหารือทวิภาคีกับนายวัลดิส โดมโบรฟสกิส (H.E. Mr. Valdis Dombrovskis) รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ด้านเศรษฐกิจและกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า หรือรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของสหภาพยุโรป ว่าถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของไทยกับสหภาพยุโรป ที่ได้มีการเจรจาจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ที่มีผลสัมฤทธิ์ที่ฝ่ายการเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย มีข้อสรุปแสดงเจตจำนงร่วมกันในการเริ่มต้นให้แต่ละฝ่ายดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อนำไปสู่การจัดทำ FTA ในส่วนของประเทศไทย จะนำเข้าหารือเดินหน้าเพื่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการจัดทำ FTA ไทย-อียู ต่อไป ส่วนสหภาพยุโรป จะนำผลการหารือไปดำเนินการภายในของสหภาพยุโรปเพื่อขอคำรับรองจากสมาชิก 27 ประเทศต่อไป โดยตั้งเป้าจะดำเนินการตามกระบวนการภายในให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อประกาศนับหนึ่งการเริ่มต้นเจรจา FTA ไทยกับสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการต่อไป ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตั้งเป้าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปีนี้ ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทย รองจากจีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ถือว่าเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญ โดยในปี 2565 การค้าระหว่างไทยกับอียู มีมูลค่า 41,038 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.87% สัดส่วนการค้าประมาณ 7% ของการค้ากับโลก และไทยส่งออกไปอียู มูลค่า 22,794 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (843,378 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5.17% สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกไปอียู เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รถยนต์และอุปกรณ์ แอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ยางพารา อัญมณีและเครื่องประดับ และไก่แปรรูป เป็นต้น ส่วนสินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากอียู เช่น เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ และยา เป็นต้น ปัจจุบันอียูมี FTA กับประเทศอาเซียน 2 ประเทศ คือ เวียดนามและสิงคโปร์ ถ้ากระบวนการทั้งหมดเป็นไปตามเป้าหมาย ไทยจะเป็นประเทศที่ 3 และถ้าประสบความสำเร็จไทยจะมีตลาดการค้าที่เราได้เปรียบคู่แข่งจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น 27 ประเทศ และจะเป็นแต้มต่อทางการค้าให้กับไทย รวมถึงเป็นการสร้างเงิน สร้างอนาคตให้กับประเทศต่อไป

ที่มา : https://www.thansettakij.com/business/economy/554278

‘ยอดการค้าเวียดนาม-อียู’ พุ่ง 14.8% ปี 64

การค้าระหว่างเวียดนามและสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 14.8% ในปี 2564 คิดเป็นมูลค่า 63.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในปี 2564 เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป มูลค่ากว่า 45.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่มูลค่าการนำเข้า 17.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.5% โดยสาเหตุที่การค้าเพิ่มขึ้น มาจากความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและเวียดนาม (EVFTA) นอกจากนี้ ปัจจุบัน ธุรกิจเวียดนามได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีจากข้อตกลง EVFTA พร้อมกับใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (C/O)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnameu-trade-increases-148-percent-in-2021/220286.vnp

ผู้ซื้อสหรัฐฯ และอียู เลือกเวียดนามเป็นปลายทางสำหรับแหล่งวัตถุดิบในปี 64

ตามรายงาน Qima ระบุว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ซื้อทั่วโลก และ 38% ของผู้ซื้อสหรัฐฯ มองว่าเวียดนามเป็นเป้าหมายของการจัดหาวัตถุดิบในปี 2564 ซึ่งมีทางเลือกแรก ผู้ซื้อจะกระจายออกไปยังประเทศจีน ทำให้เวียดนามกลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ซื้อชาวตะวันตกเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนถึงปีนี้ ข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความต้องการตรวจสอบและตรวจบัญชีในเวียดนาม ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นับว่าเติบโต 3 ไตรมาสติดต่อกัน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/us-eu-buyers-to-choose-vietnam-as-sourcing-destination-in-2021-857081.vov