อุตสาหกรรมประมงของตะนาวศรี: ต้นทุนที่สูงขึ้นและราคาที่ตกต่ำส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและการจ้างงาน

ตามข้อมูลจากแหล่งข่าววงในของอุตสาหกรรมประมงของตะนาวศรี กล่าวว่า สถานการณ์ปัจจุบัน ราคาอาหารทะเลที่ตกต่ำ ราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน ส่งผลร้ายแรงต่อการส่งออกประมงของภูมิภาคตะนาวศรีไปยังประเทศไทย ซึ่งอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก ปัจจุบันเขตตะนาวศรีมีเรือประมงนอกชายฝั่งจำนวน 1,500 ลำ และคนในพื้นที่กังวลว่าความสูญเสียในอุตสาหกรรมประมงอาจแพร่กระจายไปยังภาคส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะเรือขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากขึ้นเพื่อปฏิบัติการ เพราะใช้วิธีตกปลาผิวน้ำและกลางน้ำ อีกทั้งการถูกกดราคาจากผู้ซื้อชาวไทยและอุปสงค์จากผู้ซื้อชาวไทยที่ลดลง ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง ซึ่งในการออกเรือเพื่อลากอวนนอกชายฝั่งมักจะมีราคาค่าใช้จ่ายถึง 13 ล้านบาท (ประมาณ 120 ล้านจ๊าด) ต่อเที่ยว แม้จะมีศักยภาพในการจับสัตว์น้ำคิดเป็นมูลค่า 18 ล้านบาท (170 ล้านจ๊าด) แต่ผู้ค้ามักจะเผชิญกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ เพิ่มเติม นอกจากนี้ ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงหนึ่งบาร์เรลมีราคามากกว่า 660,000 จ๊าด ในขณะที่ปลาในตู้คอนเทนเนอร์แทบจะหาได้เพียง 65,000 จ๊าด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/taninthayis-fishery-industry-soaring-costs-and-plummeting-prices-threaten-operations-and-jobs/

ตะนาวศรีเสนออุตสาหกรรมประมงเป็นเขตเศรษฐกิจ

รัฐบาลเขตตะนาวศรีได้ยื่นข้อเสนอต่อคณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) ในการสร้างเขตเศรษฐกิจสำหรับอุตสาหกรรมการประมงรวมโดยรวมถึงตลาดค้าส่งปลา ห้องเย็นและท่าเทียบเรือเพื่อการค้าชายแดนระหว่าเมียนมา-ไทย ทั้งนี้ยังสร้างโอกาสในการทำงานให้กับแรงงานข้ามชาติเมียนมาและในระยะยาวสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับอุตสาหกรรมประมงของท้องถิ่น โครงการนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ ปัจจุบันเริ่มมีการส่งออกปลาดุกไปยังจีนแม้ว่าเมียนมากำลังใช้เส้นทางที่ยากลำบากในการส่งออกไปยังจีนเพราะการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ต้องเลี่ยงไปใช้เส้นมางด่านมูเซแทนด่านชินฉ่วยฮ่อเป็นระยะ 3 เดือน ในปีงบประมาณ 62-63 อุตสาหกรรมประมงมีรายได้จากการส่งออกเพียง 860 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากที่คาดการณ์ไว้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้รัฐบาลยังพยายามส่งเสริมการบริโภคการประมงของท้องถิ่นในตะนาวศรี ย่างกุ้ง อิรวดี และมัณฑะเลย์ โดยได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริโภคปลาและปรับโครงสร้างระบบการจัดจำหน่าย เช่น การใช้รถบรรทุกตู้เย็นเพื่อขายปลา กุ้งและปลาหมึกในท้องถิ่น หากดำเนินการตามแผนรัฐบาลคาดว่าภายในสองหรือสามปีการบริโภคปลาในท้องถิ่นจะพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/tanintharyi-government-proposes-economic-zone-fisheries.html