“เดนมาร์ก” มอบเงินช่วยเหลือ MSMEs ของเมียนมา เป็นจำนวนกว่า 2 พันล้านจัต

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 กองทุน the Responsible Business Fund (RBF) เป็นกองทุนที่สนับสนุนโดยเดนมาร์กเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ของเมียนมา ได้เปิดเผยข้อมูลว่า เดนมาร์กให้คำมั่นว่าจะมอบเงินจำนวน 2 พันล้านจัต เป็นครั้งที่ 6 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของเมียนมา (MSMEs)  ในการดำเนินในโครงการพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนในการใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดย 5 ปี ที่ผ่านมา เดนมาร์กได้มอบเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือเมียนมาไปแล้วกว่า 19,576 พันล้านจัต ให้กับ MSMEs จำนวน 609 ราย ทั่วประเทศเพื่อสนับสนุน MSMEs ในการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจและปรับเพฤติกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/denmark-to-contribute-k2-billion-for-myanmar-smes/#article-title

‘ธนาคารเอดีบี’ ส่งเสริมภาคเอกชนในเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินทุนช่วยเหลือด้านเทคนิค มูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยให้รัฐบาลเวียดนามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ (SOE) โดยความช่วยเหลือดังกล่าว เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับขีดความสามารถของสถาบัน ทั้งนี้ การจัดหาเงินทุน ประกอบไปด้วยเงินช่วยเหลือจำนวน 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาจากรัฐบาลแคนาดาและเงินทุน 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาจากรัฐบาลออสเตรเลีย อีกทั้ง โดนัลด์ แลมเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาคเอกชนหลักของธนาคารเอดีบี กล่าวว่าเวียดนามประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ด้วยการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-helps-boost-private-sector-development-in-vietnam-871924.vov

รัฐบาลสปป.ลาวให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับสหภาพยุโรป

รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างมากกับความร่วมมือระหว่างประเทศกับสหภาพยุโรปในช่วง 45 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตรวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ โดยสหภาพยุโรปให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาต่อสปป.ลาวภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างปี 2559-2563 มูลค่า 500 ล้านยูโร โดยมีโครงการต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็น ความมั่นคงด้านอาหาร สิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม การสร้างรัฐภายใต้หลักนิติธรรม การพัฒนาภาคเอกชนให้มีส่วนรวมต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาว ซึ่งสหภาพยุโรปได้ให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวในกรอบการทำงานพหุภาคีผ่านองค์กรระหว่างประเทศที่หลากหลาย ในปัจจุบันที่มีการระบาดของCOVID-19 ทั่วโลกสหภาพยุโรปกำลังเตรียมที่จะช่วยเหลือสปป.ลาวในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังโควิด -19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt140.php

UNFPA ให้การสนับสนุนผู้หญิงและเด็กหญิงในสปป.ลาว

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) มอบเงินช่วยเหลือซึ่งประกอบด้วยรายการด้านสุขอนามัยและสิทธิต่างๆสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงในช่วงการระบาดของ Covid-19 รวมทั้งเสบียงอาหารที่จำเป็นอีกด้วย UNFPA ทำงานอย่างแข็งขันในการสนับสนุนพันธมิตรของรัฐบาลรวมถึงการขยายพันธมิตรและความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อร่วมมือในการปรับปรุงสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง สปป.ลาวได้ร่วมมือกับ UNFPA โดยการเป็นหุ้นส่วนมุ่งเน้นไปที่ค่านิยมการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันและการสนับสนุนในการปกป้องผู้หญิงและเด็กหญิงจากความรุนแรงรวมถึงสนับสนุนสิทธิขั้นพื้นฐานเช่นโภชนาการที่เพียงพอและการศึกษาที่เหมาะสมแก่ผู้หญิงและเด็กภายใต้กรอบสัญญาดังกล่าวนอกจากจะเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคมแล้วในอีกแง่การร่วมมือดังกล่าวจะนำซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2020/06/07/unfpa-lends-support-to-women-and-girls-in-laos

สำนักงานประกันสังคมเสนอการช่วยเหลือทางการเงินแก่พนักงานในช่วงการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ในสปป.ลาว

นายจ้างสามารถลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมลาว (LSS) เพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับพนักงานที่ว่างงานชั่วคราวหรือผู้ที่สูญเสียวันทำงานอันเนื่องมาจากมาตรการ social distancing ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สถานที่ทำงานหลายแห่งนำนโยบายการหมุนเวียนพนักงานเพื่อลดจำนวนคนในสำนักงานและโรงงานซึ่งหมายความว่าพนักงานทำงาน 1 วันและหยุดงาน 1 วัน ตาม LSS นายจ้างจะต้องส่งเอกสารที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนทางการเงิน รวบรวมรายชื่อพนักงานที่เอาประกัน พร้อมรายละเอียดที่ได้รับการยืนยันโดยสมาคมที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานของรัฐเพื่อตรวจสอบว่าลูกจ้างตกงานหรือสูญเสียการทำงานเต็มวัน การสนับสนุนทางการเงินสำหรับพนักงานครอบคลุมการขาดงานชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1-18 พ.ค. หากผู้ประกอบการเช่นโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์และโรงงานหยุดทำงานชั่วคราวอีกครั้งสามารถนำไปใช้กับ LSS ได้อีกครั้ง แต่ห้ามส่งพนักงานที่มีประกันน้อยกว่าหนึ่งปี LSS กล่าวว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงิน 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนพนักงานของผู้เอาประกันภัย นอกจากนี้เงินช่วยเหลือจะจ่ายให้กับพนักงานที่ออกจากงานชั่วคราวเนื่องจาก COVID-19 แต่ไม่ใช่สำหรับคที่ลาออก และจะตรวจสอบรายละเอียดการเรียกร้องของพนักงานแต่ละคน หากสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงาน เงินจะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคารของพนักงานโดยตรง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Social115.php