เงินบาทอ่อนค่าแรงทะลุระดับ 36 บาทต่อดอลลาร์อีกครั้ง หลังตลาดกังวลเสถียรภาพการคลังของไทยจากมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต

ค่าเงินบาทเปิดตลาดวันนี้ (13 พฤศจิกายน) ที่ระดับ 36.10 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลงหนักจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 35.89 บาทต่อดอลลาร์ กดดันโดยจังหวะการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ รวมถึงโฟลวธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะปรับฐาน หลังราคาทองคำปรับตัวลดลงหนัก นอกจากนี้ เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันเพิ่มเติมจากความกังวลเสถียรภาพการคลังของไทย ซึ่งได้สะท้อนผ่านแรงขายหุ้นและบอนด์ โดยนักลงทุนต่างชาติในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ด้าน พูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาเงินบาทพลิกกลับมาอ่อนค่าลงในช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มดอกเบี้ย Fed และความกังวลเสถียรภาพการคลังของไทย ทำให้ในสัปดาห์นี้ยังต้องระวังความผันผวนในช่วงตลาดรับรู้ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ และข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญรายเดือนของจีน พร้อมติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลักและลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน ขณะเดียวกัน ตลาดการเงินไทยอาจผันผวนไปตามมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อมาตรการดิจิทัลวอลเล็ต โดยหากพิจารณาจากแรงขายหุ้นและบอนด์ รวมถึงการอ่อนค่าลงของเงินบาทล่าสุด อาจประเมินได้ว่าผู้เล่นในตลาดต่างกังวลต่อความเสี่ยงเสถียรภาพการคลังของไทยมากขึ้น

ที่มา : https://thestandard.co/baht-depreciate-36-baht-per-usd/

กระทุ้งรัฐดันสกุลเงินบาท

ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย ในฐานะประธานกกร. เปิดเผยว่า ภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐผลักดันสกุลเงินบาท หรือสกุลเงินท้องถิ่นซื้อขายในอาเซียน หรือเริ่มจากกลุ่มประเทศ CLMVT เพื่อลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค ลักษณะเดียวกับประเทศสิงคโปร์ แต่ต้องมีการหารือปรับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยให้ได้ ซึ่งปัจจัยจากค่าเงินบาทแข็งค่า ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก จึงอยากให้ผลักดันอย่างจริงจังกับการซื้อขายเป็นสกุลเงินบาทเพื่อลดผลกระทบ ได้หารือร่วมกับรมว.การท่องเที่ยวและกีฬาเห็นตรงกันว่าไทยควรลดภาษีนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย เพื่อดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการช้อปปิ้งใน อย่างไรก็ตาม กกร. มีมติปรับลดประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจในรอบปี เป็นครั้งที่ 4 โดยปรับลดประมาณการจีดีพี ปี 62 ลงเหลือ 2.7-3% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 2.9-3.3% การส่งออกคาดติดลบ 2% ถึง 0% จากเดิมคาดติดลบ 1 ถึง 1% และเงินเฟ้อคงอยู่ที่ 0.8-1.2% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแรง เผชิญปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามการค้า เบร็กซิต และทิศทางเงินบาทที่แข็งค่า ส่งผลกระทบตรงกับการส่งออก เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจเดือน ก.ค. และ ส.ค. บ่งชี้ว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3/62 อยู่ในภาวะที่อ่อนแรงอย่างต่อเนื่องจากช่วงครึ่งปีแรก มีปัจจัยถ่วงหลักจากความเสี่ยงในภาคต่างประเทศ ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว นอกจากนี้อยากให้เร่งผลักดันกรอบงบประมาณรายจ่ายปี 63 ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อรับมือกับความท้าทาย โดยเฉพาะปัจจัยจากต่างประเทศ ซึ่งแม้ภาครัฐจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายด้าน

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 3 ต.ค. 2562