วันนี้ที่ นิคมอุตสาหกรรม ติลาว่า

การเปลี่ยนแปลงของนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือติลาว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากๆ พบว่ามีนักลงทุนจากไทย ได้ไปลงทุนสร้างโรงงานอยู่หลายโรงงานเพียงแต่เป็นนักลงทุนรายใหญ่ ส่วนรายขนาดกลางลงมา ยังไม่ค่อยมี ซึ่งต่างจากอดีตที่คุณภาพไม่ค่อยดีหรือใช้งานได้ไม่ถึงครึ่งไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม หลายโรงงานเปิดยังไม่มีเครื่องจักร ไฟฟ้าไม่เพียงพอ น้ำไม่มีบริการ ไม่มีบ้านพักคนงาน ปัจจุบันนิคมต่างๆ ก็ได้มีการปรับปรุงมากขึ้นเช่น ที่นิคมอุตสาหกรรมตองตะโก่ง นิคมฯเมียวอ๊อกกะล่าซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นคอนกรีต ต่างไปจาก 5 – 6 ปีที่แล้วเป็นอย่างมาก ส่วนนิคมอุตสาหกรรมติลาว่าจากเดิมที่เป็นท้องนางว่างเปล่า ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นนิคมที่ทันสมัย โรงงานที่เปิดใหม่ล้วนมีความทันสมัย มีทั้งจากญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สิงคโปร์และบางส่วนที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่จากไทย มีอีกธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ ธุรกิจบ้านพักคนงาน ถ้าหากใครลงทุนก่อนจะได้เปรียบ ถ้านักลงทุนไทยสนใจเชื่อว่าดีมานด์หรือความต้องการที่นี่ยังมีมาก

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/592233

เมียนมาเปิดโอกาสการลงทุน พร้อมส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ

นับเป็นเวลาหลายปีหลังจากที่เมียนมาได้ปฏิรูปการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ซึ่งในช่วง 2 ปีให้หลังที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือมีการลดผ่อนมาตรการต่างๆ โดยออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น รวมไปถึงกฎหมายสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ เช่น ได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในเรื่องของภาษีอากร หรือนักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นบริษัทท้องถิ่นได้ร้อยละ 35 และอำนวยความสะดวกการจัดตั้งบริษัทโดยจัดทำระบบจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ Myanmar Companies Online (MyCo) เพื่อส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติมีบทบาทในการพัฒนาบริษัทท้องถิ่น การพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ให้ความสำคัญกับ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1. ปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 2. การลงทุน ส่งเสริมการลงทุนในสาขาโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเกษตร ปศุสัตว์ การประมง การศึกษา สาธารณสุข การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ การผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการนำเข้า การส่งออก และการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมใหม่ 3. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงคุณภาพของทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบท และส่งเสริมให้ประชากรเข้าถึงไฟฟ้าภายในปี 2573 4. ส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้เพิ่มจำนวนโรงแรม และพัฒนาการคมนาคมระหว่างสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคต ในเวลานี้การพัฒนาไปในเชิงบวกทำให้เอื้อต่อการลงทุน และเพิ่มโอกาสที่จะเข้าไปลงทุน และถึงแม้ในการลงทุนจะต้องพบกับความท้าทายต่างๆ มีอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นในบางเรื่อง แต่เมียนมาในมุมมองของวิเคราะห์ คือเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 6-7 ภายในสองปี ทำให้เป็นโอกาสการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการไทย

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/27110

ปัจจัยในการตัดสินใจลงทุนของชาวต่างชาติ

การทำธุรกิจหรือการลงทุนในต่างประเทศ แม้จะเข้าตลาดก่อน แต่ถ้าใจไม่ถึง ไม่กล้าแย่งส่วนแบ่งการตลาด (Market Share)ก่อน ก็ไม่สามารถชนะได้ และการก้าวต่อไปจะยากลำบากมาก เมื่อเข้าไปลงทุนหรือทำการค้า ต้องใจกล้าๆ ลงให้ถึงที่สุด เมื่อได้ Market Share แล้ว ก็ต้องรักษาไว้ให้ดี ต้องมั่นดูแลตลาดให้ดี อย่าให้คู่แข่งเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดได้ หากเราใส่ใจรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ เราจะสามารถกินส่วนแบ่งได้อีกนาน ดังนั้นการที่บริษัทหนึ่งๆ กล้าเข้าไปในสภาวะที่คนอื่นไม่ได้เข้าหรือไม่กล้าเข้า อาจจะเป็นเพราะว่าเขามองว่าคู่แข่งน้อย การทำการตลาดย่อมง่ายกว่า ซึ่งจะมองด้านความเสี่ยงของสถานการณ์ทางการเมือง ว่ามีความผันผวนระยะสั้นมากกว่า เพราะรัฐบาลไหนๆ ก็มักจะอยู่ไม่เกิน 2 – 3 สมัย พอความนิยมเสื่อมลง ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งเหตุผลหลักที่บริษัทจะไม่ค่อยกลัวกัน ยิ่งตอนมีการเลือกตั้ง นโยบายส่งเสริมการลงทุนจึงเกิดขึ้น เพื่อให้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามา จะทำให้ผลประโยชน์ที่ได้รับก็ย่อมมากตามไปด้วย อีกปัจจัยหนึ่งคือ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศที่จะไปลงทุน ถ้าไม่มีสงครามกลางเมือง แค่เดินขบวนประท้วง หรือการสู้รบตามชายแดนเล็กๆน้อยๆ นักลงทุนย่อมไม่กลัวในการเข้ามาลงทุน ตัวอย่างเช่น การสู้รบที่รัฐฉานรัฐยะไข่ของเมียนมา ในกรุงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กรุงเทพฯ หรือที่ย่างกุ้ง ก็ไม่มีการถอนการลงทุนออกไป สรุปว่า นักการค้าการลงทุน จะพิจารณาการลงทุนอย่างจริงจัง และมีการทำการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น ( Feasibility study) ก่อนจะตัดสินใจลงทุน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586359

จับตาเมียนมา ปูทางลงทุนท่องเที่ยว ‘รัฐยะไข่’

จากพิธีฉลองการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่ 2 เชื่อมระหว่างเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และอ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งสะพานแงนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2558 โดยมีมูลค่าประมาณ 4,132 ล้านบาท ประกอบด้วยถนนฝั่งไทยความยาว 17.25 กม. ฝั่งเมียนมาความยาว 4.15 กม. นอกจากนี้ยังมีสะพานข้ามแม่น้ำเมย และจุดควบคุมชายแดนด้วย เป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมการค้าการท่องเที่ยว โดยโครงการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในเอเชียและยุโรปกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชีย และแปซิฟิก สหประชาชาติ (ESCAP) เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบเครือข่ายถนนโดยรวมในภูมิภาค และช่วยลดปัญหาการจราจรบริเวณด่านชายแดนเมียวดี-แม่สอด ปริมาณการค้าระหว่างไทย-เมียนมาในเดือนต.ค. 61-ม.ค 62 มีมูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของเมียนมารองจากจีน ปัจจุบันนโยบายรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนการลงทุนด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ใน “รัฐยะไข่” โดยโฟกัสไปที่บริเวณแนวชายฝั่งรัฐยะไข่ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ พร้อมกำหนดชายหาดเป็นจุดหมายใหม่ โดยชูจุดขายเรื่องความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ที่ผ่านมาการเปิดชายหาด Ngapali ได้รับความนิยมสูง มีชาวต่างชาติเดินทางโดยรถยนต์จากย่างกุ้ง ซึ่งใช้เวลา 9-10  ชั่วโมง มากกว่า 60,000 คนต่อปี จากการสำรวจความเห็นของนักลงทุนพบว่าสนใจลงทุนด้านการท่องเที่ยวสูงสุด เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น เช่น เกษตร ประมง หรือปศุสัตว์ แต่อุปสรรคสำคัญ คือ ราคาที่ดินที่สูงมาก โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลท้องถิ่นให้ข้อมูลว่าได้มีโครงการก่อสร้างถนนและสนามบินที่จะเริ่มเร็วๆ นี้ และยังมีโครงการใหม่ 5 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาเมืองใหม่และสนามบิน Mrauk-U เขตนิคมอุตสาหกรรม Ponnagyum โครงการพัฒนา Kyaetaw – Mingan และการปรับปรุงสนามบิน Ngapali และโครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์บนเกาะ Manaung หากโครงการทั้งหมดก่อสร้างแล้วเสร็จ เศรษฐกิจของเมียนมาน่าจะเติบโตและเป็นจุดที่น่าสนใจในอาเซียน

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/31192

ความกังวลต่อปัญหาภายในประเทศของนักลงทุน

ความกังวลในความสงบและการสู้รบของชนชาติพันธ์กับรัฐบาลกลางของเมียนมา ที่ได้รับฟังมาจากข่าวสารจากหลายช่องทาง ต่างได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้นักลงทุนมองว่าประเทศที่สงบที่สุดคือสิงคโปร์ รองลงมาก็มาเลเซียและประเทศอื่นๆ ส่วนไทยอยู่อันดับท้ายๆ จากสถานการณ์การเมือง Death Lock และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ว่าการค้าการลงทุน Foreign Direct Investment (FDI) เข้ามาในไทยและเมียนมาอยู่ไม่น้อย เพียงแต่ว่าอยู่ที่ช่วงสถานการณ์ของแต่ละประเทศ ดังนั้นมาลองวิเคราะห์ดูว่าเขาคิดอย่างไร การที่จะลงทุนหรือทำการค้าหากเราได้มีโอกาสครองตลาด สามารถต่อรองกับคู่ค้า เพราะสามารถแสดงให้คู่ค้าทั้งสองฝั่งคือฝั่งซื้อและฝั่งขาย ถ้าหากอยากได้โอกาสธุรกิจมาเป็นอันดับแรก ต้องประเมินว่าใช่เวลาอันเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บางธุรกิจที่มีน้อย เช่น สิ่งทอ หากมองด้านความเสี่ยง ก็จะมองว่าเร็วเกินไปหรือไม่ที่จะลงทุนทางด้านนี้ หรือถ้าจะบอกว่าคู่ค้าที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง เช่น โรงย้อม โรงพิมพ์ผ้า โรงงานการ์เม้นต์ ยังมีน้อย สามารถตัดสินใจทันทีว่าไม่ลงทุน แต่ในทางกลับกัน ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้มาแน่ อาจจะรีบเข้ามาลงทุน แต่นี่เป็นมุมมอง อย่างไรก็ตามนักลงทุนมีความคิดของตัวเอง ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่จะรอเวลาได้หรือเปล่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586290

ผู้ค้าข้าวเมียนมาวอนรัฐบาลเจรจากับจีน

พ่อค้าข้าวจากพม่าขอให้รัฐบาลเจรจากับรัฐบาลยูนนาน เนื่องจากข้าวประมาณ 50,000 ตันที่ยังติดค้างรอการส่งออกไปยังจีนเนื่องจากตอนนี้รัฐบาลจีนจะไม่ออกใบอนุญาตสำหรับข้าวหักและข้าวเมล็ดยาวให้กับเมียนมา และอยากให้รัฐบาลเจรจาราคาที่เหมาะสม โควต้าส่งออกข้าวและและลงนาม MoU เพื่อส่งออก การส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนนั้นมีแค่พืช 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มะม่วง แตงโม แตงกวา และพลัม เท่านั้นเพราะถ้านอกเหนือจากนี้ถือว่าผิดกฎหมายไม่สามารถนำเข้าจีนได้

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/rice-traders-ask-govt-to-negotiate-with-chinese-traders

26/3/2562

Sea Lion เปิดตัวคลังสินค้ามูลค่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

Sea Lion ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์ การศึกษาด้านเทคนิคและระบบอัตโนมัติทางได้เปิดศูนย์กระจายสินค้ามูลค่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพและเพื่อตอบสนองความต้องการและพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปใน Kyan เขตอุตสาหกรรม Sitt Thar เมือง South Dagon ของย่างกุ้ง โดยมีพื้นที่มากกว่า 6,870 ตารางเมตรบนพื้นที่ทั้งหมด 8.7 เอเคอร์ ซึ่งออกแบบโดย Civil Tech International Co Ltd จากประเทศไทย ใช้เวลาออกแบบ 13 เดือน ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างโรงงานผลิตและเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพราคาไม่แพงในเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/sea-lion-launches-us10-million-storage-logistics-facility.html

26/3/2562

พาณิชย์ไทย เผยการค้าชายแดน-ผ่านแดน 2 เดือน มูลค่ากว่า 2 แสนล้าน เพิ่มขึ้น 0.92%

การค้าชายแดน-ผ่านแดนไทย 2 เดือนปี 62 มูลค่าทะลุ 2 แสนล้าน เพิ่ม 0.92% มาเลเซียนำโด่งเป็นคู่ค้าชายแดน ส่วนจีนตอนใต้ที่หนึ่งด้านการค้าผ่านแดน คาดแนวโน้มการค้าโตต่อเนื่อง หลังสปป.ลาว เลิกใช้ใบอนุญาตนำเข้าวัสดุก่อสร้าง มาเลย์เปิดด่าน 24 ชั่วโมง ตั้งกรรมการร่วมแก้อุปสรรคการค้ากับกัมพูชา และเมียนมาเปิดสะพานมิตรภาพ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกจากการที่กรมฯ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การเปิดตัวโครงการ YEN-D Season V อย่างเป็นทางการ โดยคาดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจตามเมืองชายแดนและเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กรมฯ เชื่อมั่นว่าในปี 2562 จะสามารถขยายมูลค่าการค้าชายแดนและผ่านแดนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 1.6 ล้านล้านบาท หรือขยายตัว 15% อย่างแน่นอน

ที่มา: https://mgronline.com

26/3/2562

4 กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมียนมา

การปฏิรูปเศรษฐกิจ ริเริ่มแผนการพัฒนาเมียนมาอย่างยั่งยืนและจัดตั้งคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลขึ้นในปี 2561 การลงทุน ตั้งเป้าหมายส่งเสริมการลงทุนที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการลงทุน ในสาขาโครงสร้างพื้นฐาน ภาคเกษตร ปศุสัตว์ การประมง การศึกษา สาธารณสุข การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ การผลิตสินค้าในประเทศทดแทนการนำเข้า อุตสาหกรรมการส่งออก และการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมใหม่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ร่วมกับ ADB และ JICA ปรับปรุงคุณภาพทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เมืองและชนบท พัฒนาระบบไฟฟ้า โครงการพลังงานน้ำและโครงการแสงอาทิตย์ 2561 การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพิ่มจำนวนโรงแรม ยกเว้นการตรวจลงตราให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ กำหนดมาตรการออก Visa on Arrival ให้กับนักท่องเที่ยวชาวจีน จึงเป็นที่มาของผู้ประกอบการที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะใน 4 ประเด็นหลักที่คาดว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญต่อไปในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.bangkokbanksme.com/article/28721

19 กุมภาพันธ์ 2562

เมียนมาดึงนักลงทุนร่วมสำรวจก๊าซรวมถึงธุรกิจ LPG และ CNG

กระทรวงพลังงานและไฟฟ้าได้เชิญนักลงทุนที่สนใจในการสำรวจก๊าซธรรมชาติและลงทุนในธุรกิจ LPG และ CNG โดยจะมีการเปิดประมูลเพื่อเปิดให้บริการน้ำมันและก๊าซ 33 แห่ง โดยมี 15 แห่งในต่างประเทศและอีก 18 แห่งบนฝั่ง ซึ่งแผนกำลังดำเนินการจะมีประโยช์กับภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือน และว่าจะสามารถจำหน่ายก๊าซแอลพีจีกระจายไปยัง 1 ล้านครัวเรือนในปี 2020

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/investors-to-be-invited-to-boost-lpg-cng-businesses

25/3/2562