อุตสาหกรรมชาเผชิญกับความต้องการแรงงานท่ามกลางอุปสงค์ในท้องถิ่นที่สูงเป็นประวัติการณ์

ตามการระบุของชุมชนผู้ผลิตชา อุตสาหกรรมใบชาซึ่งมีผู้บริโภคในท้องถิ่นจำนวนมากและมีจีนเป็นจุดหมายปลายทางการส่งออกอันดับต้นๆ กำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ การบริโภคใบชาในท้องถิ่นยังคงแข็งแกร่ง ความต้องการก็ดีเช่นกัน แต่อุปทานลดลง เนื่องจากการขาดแคลนแรงงานและความยากลำบากในการขนส่ง ทั้งนี้ ผู้ประสานงานจากสมาคมชาเมียนมา กล่าวว่า จีนเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ สำหรับการส่งออกชาเมียนมาโดยสินค้าบางส่วนเข้าถึงประเทศในภูมิภาค เช่น มาเลเซีย ไต้หวัน และไทย การส่งออกชามีสองประเภทหลัก ได้แก่ แบบเปียกและแบบแห้ง ชาดำและอื่น ๆ ถูกส่งออกทางทะเล ที่เหลือส่วนใหญ่มาจากการค้าชายแดน มีการส่งออกทั้งสองเส้นทางแต่ประสบปัญหาเล็กน้อยในเส้นทางการค้าชายแดน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/tea-industry-faces-labour-needs-amidst-ever-high-local-consumption-and-demand/

รอบ 1 ปี เมียนมาส่งออกใบชาไปแล้วกว่า 4,900 ตัน

ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 30 ก.ย. 2564 เมียนมาส่งออกใบชาประมาณ 4,900 ตัน ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ เยอรมนี จีน ประเทศในสหภาพยุโรป และประเทศต่างๆ ในเอเชีย มากกว่า 4,000 ตันถูกส่งออกผ่านด่านชายแดน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเน้นส่งเสริมการส่งออกของรัฐฉาน โดยเน้นเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการพัฒนาทางเลือกในการเพาะปลูก ขณะที่ตลาดใบชาโลกผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหราชอาณาจักร เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน โมร็อกโก เยอรมนี จีน และฮ่องกง ด้านผู้ส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน อินเดีย ศรีลังกา เคนยา โปแลนด์ เยอรมนี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และใต้หวัน ส่วนผู้ผลิตชารายใหญ่ที่สุดในโลก ได้แก่ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เคนยา ตุรกี เมียนมาร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ศรีลังกา และอิหร่าน เนื่องจากเมียนมาเป็นผู้ผลิตใบชารายใหญ่ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการผลิตและเทคโนโลยีการเกษตรจะทำให้เมียนมาเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกชารายใหญ่ที่สุดของโลก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/more-than-4900-tonnes-of-tea-leaves-exported-within-one-year/