กรอ. ดัน 6.9หมื่นโรงงาน รุกเซอร์คูลาร์-กรีน ขยะเป็นศูนย์ หนุนสินค้าลดคาร์บอน

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) เปิดเผยว่า เพื่อสนับสนุนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจบีซีจี หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (ไบโอ อีโคโนมี) เศรษฐกิจหมุนเวียน (เซอร์คูล่าร์ อีโคโนมี) และเศรษฐกิจสีเขียว (กรีน อีโคโนมี) กรอ.จะเร่งส่งให้โรงงานทั่วประเทศ 6.9 หมื่นโรงงาน มุ่งสู่บีซีจี โดยในส่วนของโรงงานเดินหน้า 2 ด้านหลักได้ทันที คือ เซอร์คูล่าร์ อีโคโนมี ลดของเสียในโรงงานให้เป็นศูนย์ และอีกด้านคือ กรีน อีโคโนมี เน้นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่ได้ต้องรักษาสิ่งแวดล้อม ลดคาร์บอน จะมีการกำหนดกรีนจีดีพีขึ้นมาโดยวัดจากการปล่อยคาร์บอนของสินค้านั้นเป็นหลัก เพื่อรับการแข่งขันของโลก

ล่าสุด ได้หารือร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เพื่อหาแนวทางการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพิ่มมูลค่าและนำกากอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุหมุนเวียน ตามกรอบแนวคิดการสิ้นสุดการเป็นของเสีย นำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกากอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์ ตามนโยบาย บีซีจีของกระทรวงอุตสาหกรรม

ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_3843252

‘สุริยะ’เยือนญี่ปุ่นหารือเมติ ตอกย้ำการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ์ เปิดเผยถึงผลการหารือกับนายนิชิมุระ ยาสึโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) หรือ เมติ ระหว่างเยือนประเทศญี่ปุ่นวันที่ 11-15 มกราคม 2565 ว่าการหารือครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่าง 2 ประเทศ รวมทั้งยังเป็นการครบรอบ 1 ปี ที่ทั้ง 2 กระทรวงได้ร่วมกันปรับแนวคิดจาก “Connected Industries” มาสู่ความร่วมมือ Co-Creation for Innovative and Sustainable Growth ที่เน้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เมื่อปลายปี 2565

โดยเฉพาะประเด็นการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะบุคลากรซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ Cooperation Framework on Human Resource Development for Realizing Industry 4.0 ขับเคลื่อน 3 ประเด็นหลักประกอบด้วย 1.แนวทางการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม 2.การขับเคลื่อนนโยบาย BCG ในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย และ 3.การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับห่วงโซ่อุปทานผ่านแนวคิดการร่วมสร้าง (Co-Creation)

นอกจากนี้ ยังหารือในประเด็นการลงทุนภายใต้กรอบ AJIF (Asia-Japan Investing for the Future) มุ่งเน้นความเชื่อมโยงระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศต่างๆ จึงเน้นย้ำถึงความพร้อมของประเทศไทยในการต้อนรับนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม ที่กำกับดูแลโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ในพื้นที่จังหวัดระยองมีพื้นที่ประมาณ 1,400 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรม New S-Curve ในพื้นที่ EEC ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลกลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรกลุ่มอุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ เป็นต้น ปัจจุบันก่อสร้างแล้วประมาณ 40% และคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2567

ที่มา: https://www.naewna.com/business/704687

‘BOI’หนุนเศรษฐกิจสีเขียว 9เดือนแรกเอกชนยื่นขอลงทุนพุ่ง 160%

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่าเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของ องค์การสหประชาชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio – Circular – Green Economy) ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2564 (ม.ค. – ก.ย.) มีกิจการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 564 โครงการ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 74 และมีมูลค่าลงทุน 128,370 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อน 160% และสูงกว่ามูลค่าการลงทุนในปี 2563 ทั้งปี (93,883 ล้านบาท) โดยโมเดลเศรษฐกิจ BCG คาดว่าในอีก 5 ปี ข้างหน้าอุตสาหกรรม BCG ของไทยจะมีมูลค่า 25% ของ GDP ที่มา: https://www.naewna.com/business/617429