องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สนับสนุนเงิน 1.7 ล้านยูโร ช่วยเหลือแรงงานในอุตสาหกรรรมตัดเย็บสปป.ลาว

ปัจจุบันคนงานกว่า 26,000 คนในโรงงานสิ่งทอในสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพและวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของสปป.ลาว ณ ขณะนี้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ 40-50 ในปีนี้ การลดลงอย่างรวดเร็วทำให้โรงงานหลายแห่งต้องลดหรือระงับการดำเนินงานชั่วคราว ส่งผลให้คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน ปัญหาดังกล่าวทำให้เยอรมนีเข้ามาสนับสนุนเงินกว่า 14.5 ล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือคนงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า 2 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การช่วยเหลือดังกล่าวจะดำเนินการผ่านโครงการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์กรดังกล่าวมีหน้าที่ในการช่วยเหลือแรงงานและส่งเสริมแรงงานในการได้รับสวัสดิภาพที่ควรจะเป็น ในประเทศบังกลาเทศ เอธิโอเปีย กัมพูชา มาดากัสการ์ อินโดนีเซีย เวียดนามและหนึ่งในประเทศที่รับการช่วยเหลือด้านแรงงานคือสปป.ลาว จากเงินสนับสนุนทั้งหมด 14.5 ล้านยูโร สปป.ลาวจะได้งบประมาณในการช่วยเหลือ1.7 ล้านยูโร ในการนำไปใช้ในโครงการที่จะช่วยแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บที่กว่าร้อยละ 90 ของแรงเป็นผู้หญิง โครงการดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนกลยุทธ์ระยะยาวของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Germent_180.php

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ คาดชั่วโมงทำงานทั่วโลกลดลง 6.7% เหตุ COVID-19

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ไอแอลโอ (ILO) คาดการณ์ว่า การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 จะทำให้ชั่วโมงการทำงานของแรงงานทั่วโลก ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ลดลง 6.7% หรือเทียบเท่ากับเวลาการทำงานของลูกจ้างที่ทำงานเต็มเวลา 195 ล้านคน โดยในจำนวนนี้ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น อาเซียน และ ออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเวลาการทำงานของแรงงานในภูมิภาคนี้ประมาณ 125 ล้านคน แม้ว่าแรงงานในประเทศจีนจะเริ่มกลับไปทำงานแล้ว โดยในรายงานฉบับนี้ ยังระบุด้วยว่า ขณะนี้ แรงงานมากกว่า 4 ใน 5 ของแรงงานทั่วโลกอาศัยอยู่ในเมืองที่รัฐบาลออกคำสั่งให้ปิดสถานที่ทำงานเต็มเวลาหรือปิดบางเวลา โดยภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ธุรกิจการบริการ ห้องพัก ร้านอาหาร โรงงาน และ ร้านค้าปลีก นอกจากนี้ ไอแอลโอ (ILO) ยังร้องขอให้รัฐบาลแต่ละประเทศออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้คนตกงาน พร้อมทั้งแนะนำมาตรการเพื่อแก้ปัญหา เช่น การลดเวลาการทำงาน และมาตรการว่างงานเชิงเทคนิค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไอแอลโอ (ILO) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ไม่ได้ประเมินจำนวนของผู้ที่คาดว่าจะตกงานจากวิกฤตครั้งนี้ แต่คาดว่า น่าจะมากกว่า 25 ล้านคน ตามที่ประเมินไว้เมื่อเดือนที่แล้ว

ที่มา : https://businesstoday.co/cover-story/08/04/2020/ilo-%e0%b8%84%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b9%8c%e0%b9%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%94-19-%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%87/

สปป.ลาว ตั้งเป้าปรับปรุงความปลอดภัยของคนงานภาคการตัดเย็บเสื้อผ้า

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้มีการประชุมในหัวข้อสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสวัสดิภาพของคนงาน ในปัจจุบันขณะที่เศรษฐกิจสปป.ลาวกำลังเติบโตสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยเป็นความเสี่ยงของแรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการกล่าวว่าความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทานสปป.ลาว เป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิแรงงานในสปป.ลาว (OHS: อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน) โดยปัจจุบันมีการดำเนินโครงการ Vision Zero Fund ในภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อช่วยเหลือแรงงานในด้านสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงาน การดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาประเทศและส่งเสริมแนวทางการดำเนินการเพื่อยกระดับมาตรฐาน OSH ผ่านแผนปฏิบัติการของ Asean-OSHNET(เครือข่ายความปลอดภัยอาชีวอนามัยของอาเซียน) การพัฒนาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสร้างแรงงานของสปป.ลาวและช่วยยกระดับชีวิตการเป็นอยู่ของแรงงานในประเทศให้ดีขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Labour_270.php