ญี่ปุ่นสนับสนุนเงินกว่า 47,000 ล้านเยนสำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 โครงการ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และรัฐบาลเมียนมาลงนามตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านการปรับปรุงระบบรถไฟและระบบไฟฟ้า JICA ลงนามในสัญญาเงินกู้กับรัฐบาลโดยให้เงินกู้ ODA สูงถึง 47.94 พันล้านเยน (607.3 พันล้านจัต) สำหรับโครงการทั้งสอง จากทั้งหมด 40,600 ล้านเยนจะถูกใช้ในช่วงแรกของโครงการปรับปรุงรถไฟย่างกุ้ง – มันดาเลย์ในขณะที่ระยะที่สาม 7.33 พันล้านเยนจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า หน่วยงานพัฒนาของญี่ปุ่นจะยังคงให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของเมียนมาอย่างต่อเนื่อง  ในเดือนมกราคม JICA ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้จำนวน 120.9 พันล้านเยนกับเมียนมาสำหรับสี่โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบท่อน้ำทิ้งย่างกุ้ง, โครงการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง, โครงการปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในเขตเมืองและโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาค

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/japan-provide-y47-billion-two-infrastructure-projects.html

แรงงานผลิตกระเป๋าต้องการรับประกันกลับเข้าทำงานเมื่อโรงงานกลับมาเปิดใหม่

แรงงานจากโรงงานกระเป๋าหนัง 2 แห่งในย่างกุ้งที่ปิดตัวลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ต้องการรับประกันว่าพวกเขาจะได้กลับเข้าทำงานเมื่อโรงงานกลับมาเปิดอีกครั้ง Myanmar Muse Leather Goods ซึ่งมีคนงาน 300 คน และ Myanmar Elegant Supreme Leather มีแรงงาน  400 คน ได้ปิดตัวลงเป็นเวลาสามเดือนและจ่ายค่าแรงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างทุกเดือน โรงงานทั้งสองแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรม Ywar Thar Gyi ในเขตการปกครอง East Dagon เป็นหนึ่งในหลายสิบโรงงานที่ปิดตัวลง ตามรายงานของกระทรวงแรงงานการตรวจคนเข้าเมืองและประชากร ตั้งแต่เดือนมกราคมพบว่าโรงงานอย่างน้อย 38 มี 22 แห่งที่ปิดกิจการลง นอกจากนี้บริษัทในยุโรปได้ยกเลิกคำสั่งซื้อท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด โดยตลาดสหภาพยุโรปคิดเป็น 70% ของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/bag-making-workers-want-jobs-guaranteed-when-factories-reopen.html

รัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจมีอาหารและสินค้าเพียงพอความต้องการภายในประเทศ

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิดที่ทำให้ผู้ติดเชื้อในสปป.ลาวมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในขณะนี้ จนเป็นที่มาของมาตราการปิดพรหมแดนรวมถึงการให้ประชาชนกักตัวอยู่บ้านตั้งแต่วันที่ 1-19 เมษายน ทำให้ประชาชนมีความกังวลถึงสินค้าและอาหารจะเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศหรือไม่ จากความกังวลดังกล่าวรัฐบาลได้ออกมาให้ความมั่นใจว่าสปป.ลาว มีแหล่งนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพียงพอถึงแม้การผลิตในประเทศจะหยุดชะงักขณะนี้ โดยสปป.ลาวจะนำเข้าสินค้าจากจีนและเวียดนามและมั่นใจว่าจะเพียงพอต่อการบริโภคในประเทศแต่ถึงอย่างไรรัฐบาลได้ขอความรว่วมมือให้ประชาชนไม่ต้องกักตุนสินค้าเพราะนอกจากอาจขาดแคลนไปในบางช่วงแล้ว อาจทำให้ราคาสินค้าที่การปรับตัวสูงขึ้นไปตามอุปสงค์ของผู้บริโภค

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_2Arp.php

รัฐบาลสปป.ลาวเลื่อนการชำระภาษีศุลกากรออกไป

รัฐบาลจะเลื่อนการชำระภาษีศุลกากรภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ออกไปก่อ่นจาก 30 เมษายนเป็น30 มิถุนายนเพื่อบรรเทาปัญหาของแรงงานส่วนใหญ่ในช่วงนี้ที่ตกงานจากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 โดยรัฐบาลได้มีการควบคุมราคาสินค้าทั่วๆ ที่เป็นสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพที่อาจสูงขึ้นในสถานการณ์ที่อาจขาดแคลนอาหารและมีการกักตุนกัน ซึ่งสินค้าที่สำคัญอย่างมาสก์ที่เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงจะถูกกำหนดราคาราคาไว้ไม่ให้มีการปรับขึ้นตามความต้องการ แต่จะมีการจัดสรรไปให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอก่อนเป็นอันดับแรก นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลดลงจากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 3 เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้และธุรกิจที่ได้รับผลกระทบใชช่วงนี้ ให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนักโดยเฉพาะภาคธุรกิจที่อาจล้มละลายจากสถานการณ์ในช่วงนี้ได้ ทั้งนี้จากการแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 ที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นและคาดการณ์ว่าเราต้องอยู่กับการไวรัสตัวนี้ไปอีก1-2 ปี ทำให้การเติบเศรษฐกิจอาจไม่ใช่เป้าหมายที่สำคัญ แต่รัฐบาลจะให้ความสนใจในเรื่องการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของเศรษฐกิจเป็นสำคัญในช่วงนี้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt%20postpones_2Arp.php

การส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 35% ในไตรมาสแรก ท่ามกลางการระงับการส่งออก

กัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 230,948 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา ตัวเลขดังกล่าวแสดงถึงการเพิ่มขึ้นกว่า 35% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ชี้ให้เห็นว่าจีนเป็นตลาดหลักของข้าวกัมพูชา โดยตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคม 2563 มีการส่งออกข้าวกว่า44% ส่งออกไปยังประเทศจีนตามด้วยสหภาพยุโรป 30% ประเทศในกลุ่มอาเซียน 12% และจุดหมายปลายทางอื่น ๆ 14% ที่ได้ระบุไว้ในรายงาน ซึ่งในเดือนมีนาคมเดือนเดียวการส่งออกข้าวสารอยู่ที่จำนวน 94,449 ตัน เพิ่มขึ้น 62% เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2562 โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าวสารจำนวน 620,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ ดังตัวเลขการส่งออกข้าวของกัมพูชาที่ดูเพิ่มขึ้นนี้มาจากรัฐบาลประกาศห้ามส่งออกข้าวสารและข้าวเปลือกตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีฮุนเซนได้สั่งให้หยุดการส่งออกข้าวขาวและข้าวเปลือกทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนจนกว่าจะมีประกาศ เพื่อปกป้องอุปทานภายในประเทศเพื่อตอบสนองต่อความกังวลของการขาดแคลนอาหารในช่วงการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50708588/cambodias-rice-export-up-35-percent-in-q1-amid-looming-ban/

การค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯเพิ่มขึ้น 33% สู่ 585 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมกราคม

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าอยู่ที่ 585 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมกราคม 2563 เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตัวเลขรายงานจากสำนักงานการค้าของสหรัฐฯแสดงให้เห็นว่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 38% เป็น 560 ล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่การนำเข้าจากสหรัฐฯอยู่ที่ 26 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจาก 34.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์กัมพูชาพบว่าสินค้าส่งออกของกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ส่งไปยังสหรัฐอเมริกา ได้แก่ สิ่งทอ รองเท้า สินค้าการท่องเที่ยวและสินค้าเกษตร ขณะที่สหรัฐฯส่งออกยานพาหนะ อาหารสัตว์และเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2562 การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่าอยู่ที่ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50708596/cambodia-u-s-trade-volume-up-by-33-percent-to-us585-million-in-january/

“ฮอนด้าเวียดนาม” ระงับการผลิตชั่วคราว เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทางฮอนด้าเวียดนาม (HVN) เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ติดอันดับที่ 4 ในเวียดนาม ซึ่งจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ระงับการผลิตชั่วคราวและการประกอบรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยการระงับการผลิตข้างต้นนั้น จะดำเนินการเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-15 เม.ย. ทั้งนี้ หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศของฮอนด้าในเวียดนาม ระบุว่าตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับมาตรการป้องกันโควิด-19 และการให้ความสำคัญด้านสุขภาพแก่พนักงานของบริษัท รวมถึงฮอนด้าได้ตัดสินใจหยุดการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ชั่วคราว โดยก่อนหน้านั้น ทาง Ford Vietnam, Toyota Motor Vietnam และ TC Motor ได้ระงับกิจกรรมการผลิตแล้ว เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/honda-vietnam-suspends-production-due-to-covid19/171052.vnp